ข่าว

สคบ. เตรียมเรียก 3 ดารา CEO ธุรกิจขายตรง ชักชวนร่วมลงทุนผิดหรือไม่

สคบ. เตรียมเรียก 3 ดารา CEO ธุรกิจขายตรง ชักชวนร่วมลงทุนผิดหรือไม่

10 ต.ค. 2567

ศูนย์ข่าวต้านโกงฯ ยื่น สคบ. ตรวจสอบการจดทะเบียน "ธุรกิจขายตรง" ชื่อดัง ขณะที่ผอ.สคบ. เร่งหาหลักฐาน พร้อมเรียกผู้บริหารดาราดังและผู้เสียหายให้ข้อมูลสัปดาห์หน้า

วันนี้ 10 ต.ค. 2567 ศูนย์ประสานงานส่งเสริมเครือข่ายออนไลน์ (ศคอ.) และศูนย์ข่าวต้านโกนำตัวแทนผู้เสียหายจากการดำเนินธุรกิจขายตรง เข้ายื่นเรื่องร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อขอให้ตรวจสอบการยื่นจดทะเบียนของบริษัทดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ 

 

นางสาวกฤษอนงค์ สุวรรณวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ กล่าวว่า วันนี้ผู้เสียหายมีประมาณ 110 ราย 89 ราย อยู่ในขั้นตอนของกฎหมายส่วนอีก 21 รายเป็นผู้เสียหายใหม่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการ

นางสาวกฤษอนงค์ สุวรรณวงศ์

โดยต้องการให้ผู้เสียหายได้รับเงินคืน ผู้กระทำความผิดจะต้องได้รับโทษตามกฏหมาย และต้องเกิดมาตรการการป้องกันที่ยั่งยืน พร้อมบอกว่า ธุรกิจดังกล่าวเป็นคนขอจดธุรกิจตลาดแบบตรงออนไลน์ แต่ปรากฏว่าบริษัทดังกล่าวมีการทำออกมาเป็นลักษณะ "ธุรกิจขายตรง" ซึ่งได้มีการขออนุญาตจากทาง สคบ. แล้วแต่ไม่ผ่าน แต่ก็ยังมีการดำเนินการในแบบขายตรงต่อเนื่อง 

 

 

ซึ่งในเบื้องต้นจะมีการผิดในการขอใบอนุญาตธุรกิจตลาดขายตรง รวมถึงการโฆษณาเชิญชวนที่เกินจริง รวมถึงจะต้องดูว่า การขายของทำให้เกิดการเข้าใจผิดหรือไม่ จึงขอเตือนไปยังผู้เสียหายหลายคนว่า ให้ศึกษาการทำธุรกิจให้ดี ควรมีความรู้ อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง วันนี้จะใช้วิกฤตในครั้งนี้เป็นการติดตาม การออกใบอนุญาตของทาง สคบ. และอยากให้ สคบ. เป็นเจ้าภาพหลักตรวจสอบ เนื่องจากขอใบอนุญาตออกมาจากทางนี้

ในส่วนของการแฉดาราเป็นถึงระดับผู้บริหารของบริษัท รวมถึงมีดาราหลายคนเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับสินค้า เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้า มองว่า ควรจะเข้าข่ายความผิดเพราะคนพวกนี้เปรียบเสมือนแม่ทีม มีชื่อเสียง ขายเครดิต ขายความน่าเชื่อถือของตัวเอง ก็จะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ทำลงไปด้วยเพราะเวลาได้คุณก็ได้ เวลาที่คุณเสียคุณก็จะต้องรับผิดชอบ ซึ่งในทางกฎหมายเข้าข่ายผู้ร่วมขบวนการด้วย

 

ส่วนกรณีที่บอสพอล ออกมายืนยันว่า ตนเองทำธุรกิจอย่างตรงไปตรงมาตกมา และถามว่าตนเองผิดอะไร เธอจึงอยากฝากไปถึงบอสพอล ควรเปลี่ยนจากคำว่า "ผิดอะไร" เป็น " จะแก้ไขอะไรดีกว่า"

 

นางสาวกฤษอนงค์ กล่าวว่า หลังจากนี้ตนเองและผู้เสียหายจะต้องเดินทางเข้าให้ปากคำที่ ปคบ. เพื่อเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานส่งให้กับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกหนึ่งทาง

 

นายจิติภัทร บุญสม

 

ด้านนายจิติภัทร บุญสม ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง (สคบ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่ปี 2563 มีผู้เสียหายที่มาร้องเรียนประมาณ 15 ราย ความเสียหายต่อคนอยู่ที่ประมาณหลักแสน ปัจจุบันไกล่เกลี่ยสำเร็จไปแล้ว 13 ราย ส่วนอีก 2 ราย อยู่ระหว่างการเจรจายอดความเสียหายในครั้งนั้นอยู่ที่ประมาณหลักล้าน

 

ซึ่งก่อนหน้านั้ บริษัทดังกล่าวยื่นจดทะเบียนธุรกิจตลาดแบบตรงเมื่อปี 2562 ก่อนที่ภายหลังบริษัทนี้ยื่นจดทะเบียนธุรกิจขายตรงเมื่อปี 2565 พร้อมบอกว่าเป็นเสนอขายปลีกขายส่งกำไรที่ได้มาจากส่วนต่าง ตอนนั้นนายทะเบียนจึงไม่มีคำสั่งรับจดทะเบียนขายตรง

 

ปัจจุบันความเสียหายของพี่น้องประชาชนมีค่อนข้างมาก ลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัทในภายหลังที่ขอจดทะเบียนอาจจะมีความแตกต่างกัน อาจจะเป็นการเข้าระบบขายตรงหรือไม่ มีการชักชวนให้เข้าไปลงทุนมีการแบ่งผลกำไร ต้องมีการตรวจสอบอีกครั้งนึง

 

นอกจากนี้ก็จะมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจดีเอสไอว่า มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับลักษณะการฉ้อโกงประชาชนหรือไม่ เพื่อเป็นการให้ร่วมดำเนินการอีกทางนึง และจะต้องไปดูข้อตกลงสัญญาว่า มีการจ่ายผลตอบแทนเป็นไปตามสัญญาหรือไม่ ถ้าผู้เสียหายมีสินค้าในการขายก็จะต้องออกไปขายของไม่ใช่นั่งรอกำไรเพียงอย่างเดียว เพราะไม่เช่นนั้นจะเข้าข่ายเป็น"แชร์ลูกโซ่"

 

นายจิติภัทรขอให้มั่นใจว่า ทาง สคบ. จะดูแล และจะดำเนินการอย่างเคร่งครัด หากพบว่าประเด็นไหนเกี่ยวกับกำหมายใด ก็จะร่วมมือกับองค์กรนั้นในการดำเนินการอย่างเด็ดขาด ส่วนพูดเสียหายที่อยู่ต่างจังหวัดสามารถ ยื่นเรื่องร้องทุกข์กับศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดได้ในทุกจังหวัด โดยที่เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนจะมีการประสานงานกัน

 

ทั้งนี้ หากเป็นธุรกิจขายตรงจะมีความผิด เฉพาะกรรมการกับนิติบุคคลเท่านั้นแต่ในส่วนของ influencer หรือ ดารา ที่ทำการชักชวนให้มาร่วมลงทุน อาจเข้าข่ายความผิดไปด้วย ซึ่งต้องมีการตรวจสอบอย่างแน่ชัด และต้องดูกฎหมายข้างเคียง ใน พรก.การกู้ยืมเงิน เพราะเป็นการโฆษณาชักชวนให้ไปร่วมลงทุน แต่ถ้ามีการแอบอ้างสรรพคุณของสินค้าที่ไม่ตรงปกตรงส่วนนี้ทางสคบ. จะเข้าไปดำเนินการในส่วนนี้ 

 

ส่วนกรณีที่ สคบ. เคยมอบโล่รางวัลให้กับทางบริษัทนี้ นายจิติภัทร ชี้แจงว่า การมอบโล่เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะส่งเสริมสนับสนุนผู้ทำคุณประโยชน์ ทำสาธารณะประโยชน์ ซึ่งในช่วงโควิด ทางคณะกรรมาธิการมีการลงพื้นที่ในจังหวัดโคราช ทางบริษัทนี้ได้มีการเข้ามาสนับสนุนหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ ค่อนข้างเยอะให้กับผู้ที่รับความรู้ ประกอบกับในช่วงนั้นยังไม่มีเรื่องร้องทุกข์ของบริษัทนี้ ก็ผ่านเกณฑ์พิจารณาซึ่งจะมีคณะกรรมการในการกลั่นกรอง ซึ่งสมควรที่จะได้รับโล่นี้ไว้ โดยมอบโล่นี้ให้กับทางบริษัทเมื่อปี 2564 แต่ติดสถานการณ์โควิด จึงได้มามอบรางวัลนี้ในปี 2565 ซึ่งถ้าตรวจสอบแล้วว่าบริษัทกระทำความผิดก็จะมีการปลดสัญลักษณ์นั้นออก

 

อย่างไรก็ตามสัปดาห์นี้ทาง สคบ. จะลงพื้นที่ตรวจสอบภายในบริษัท และในสัปดาห์หน้าก็จะมีการเชิญ ผู้บริหารของบริษัทรวมถึงดารา และผู้เสียหายเข้ามาให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะการประกอบธุรกิจ