ข่าว

สลด เภสัชหนุ่ม จบชีวิตตัวเองในรถ ทิ้งจดหมายเศร้า ถูกหัวหน้า กดดันให้ลาออก

สลด เภสัชหนุ่ม จบชีวิตตัวเองในรถ ทิ้งจดหมายเศร้า ถูกหัวหน้า กดดันให้ลาออก

30 ต.ค. 2567

หนุ่ม เภสัชกร ก่อเหตุสลด รมควันเสียชีวิตภายในรถยนต์ ทิ้งจดหมายเศร้า ถูกหัวหน้า ไม่รับฟัง ใช้วิธีบีบคั้น กดดันให้ลาออก

30 ต.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก "อีซ้อขยี้ข่าว : อีซ้อ" ได้โพสต์เรื่องราวสุดเศร้าของวงการแพทย์ หลังจากที่ เภสัชกร รายหนึ่ง ซึ่งทำงานในโรงพยาบาลย่านพระราม 9 ก่อเหตุสลด รมควันภายในรถยนต์ จนเสียชีวิต โดยทิ้งจดหมายขออโหสิกรรมครอบครัวผ่านโลกออนไลน์ 

 

สลด เภสัชหนุ่ม จบชีวิตตัวเองในรถ ทิ้งจดหมายเศร้า ถูกหัวหน้า กดดันให้ลาออก

ทางเพจระบุว่า "พี่อ๊อฟครับ การที่ผมตัดสินใจต้องจากคนที่รักไปแบบนี้ ขอให้พี่อ๊อฟรับรู้ไว้ว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมาจากตัวผมเองที่โชคร้ายต้องมาเจอหัวหน้างานอย่างพี่ที่ไม่เคยเปิดใจรับฟังอะไรทั้งสิ้นและชอบใช้วิธีบีบคั้นหรือกดดันเพื่อให้ลูกน้องลาออก เภสัชกรคนหนึ่งใน รพ. ชื่อดังแถวพระราม 9"

 

นอกจากนี้ ทางเพจยังระบุสาเหตุการเสียชีวิตของ เภสัชกรหนุ่ม อีกว่า "น้องเสียชีวิตจากการรมควันในรถ เจ้าตัวเขียนจดหมายระบายความในใจ สาเหตุที่ต้องตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้วยวิธีนี้เกิดจากหัวหน้างาน"

 

สลด เภสัชหนุ่ม จบชีวิตตัวเองในรถ ทิ้งจดหมายเศร้า ถูกหัวหน้า กดดันให้ลาออก

 

 

สลด เภสัชหนุ่ม จบชีวิตตัวเองในรถ ทิ้งจดหมายเศร้า ถูกหัวหน้า กดดันให้ลาออก

 

 

สลด เภสัชหนุ่ม จบชีวิตตัวเองในรถ ทิ้งจดหมายเศร้า ถูกหัวหน้า กดดันให้ลาออก

 

สลด เภสัชหนุ่ม จบชีวิตตัวเองในรถ ทิ้งจดหมายเศร้า ถูกหัวหน้า กดดันให้ลาออก

แลกเวร ขายเวร คืออะไร 

 

การขายเวรในโรงพยาบาล คือการที่บุคลากรทางการแพทย์ เช่น พยาบาล แพทย์ หรือเจ้าหน้าที่เวร ที่มีหน้าที่ต้องเข้ากะทำงานในช่วงเวลาที่กำหนด สามารถ เปลี่ยนหรือยกเวรของตนเองให้กับบุคคลอื่น ได้ โดยมักเป็นไปตามเงื่อนไขที่ตกลงกันระหว่างบุคลากรที่ต้องการขายเวรและผู้ที่รับซื้อเวร ซึ่งอาจมีค่าตอบแทนเป็นเงินหรือสิ่งตอบแทนอื่น ๆ

 

วัตถุประสงค์ของการขายเวร หลายคนเพื่อการพักผ่อน บุคลากรที่ทำงานหลายกะต่อเนื่องอาจรู้สึกเหนื่อยล้าและต้องการเวลาพักผ่อนเพิ่มเติม การจัดการชีวิตส่วนตัว หรือ อาจมีเหตุฉุกเฉิน เช่น ภาระครอบครัวหรือสุขภาพส่วนตัว ทำให้ต้องการเปลี่ยนเวร

 

ด้านผู้ที่รับซื้อเวรเองอาจต้องการเพิ่มรายได้ เนื่องจากเวรที่เพิ่มมักมีค่าตอบแทนพิเศษหรือมีอัตราชั่วโมงสูงกว่าปกติ เช่น เวรกลางคืน

 

วิธีการขายเวร ส่วนใหญ่เป็นการตกลงส่วนตัวพนักงานสองฝ่ายตกลงกันเองเรื่องรายละเอียดเวรและค่าตอบแทน แต่มีบ้างที่บางโรงพยาบาลอาจมีระบบจัดการเวรที่อนุญาตให้เปลี่ยนหรือขายเวรอย่างถูกต้องตามระเบียบ ในหลายกรณี ผู้บริหารแผนกหรือหัวหน้างานต้องรับรู้และอนุมัติการเปลี่ยนเวร