พระเครื่อง

คำวัด - พระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง

คำวัด - พระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง

17 ธ.ค. 2553

คติความเชื่อในการสร้างพระเครื่องส่วนใหญ่ การสร้างให้มีขนาดเล็ก เพื่อที่จะสามารถสร้างได้จำนวนมาก สำหรับบรรจุในพระพุทธเจดีย์ เพื่อว่าในอนาคตเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมลง วัตถุต่างๆ พังทลาย ยังสามารถพบรูปสมมติของพระพุทธเจ้า เพื่อแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของพ

   ใช้เป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันในการออกศึกสงครามของคนโบราณ เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่ง ปัจจุบันนิยมนำมาห้อยคอเป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกัน และเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต

 คำว่า "พระเครื่อง" ในประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ท่านสั่งเครื่องจักรจากยุโรปมาเพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์ ทำให้มีการผลิตเหรียญของเกจิอาจารย์ขึ้น ทำให้เรียกว่าพระที่ทำจากเครื่องจักรว่า "พระเครื่อง" หรือเรียกพระองค์เล็กๆ ที่เป็นพระพิมพ์เรียกเหมือนกันว่า "พระเครื่อง"

 พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "เครื่องราง" คือ ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล แม้พระเครื่องก็ถือว่าเป็นเครื่องรางเช่นกัน โดยเรียกว่า "พระเครื่องราง"

 ส่วน "ของขลัง" คือของที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ มีพลัง มีอำนาจที่อาจบันดาลให้เป็นไป หรืออาจบันดาลสิ่งที่ต้องประสงค์สำเร็จได้

 สองคำนี้มักนิยมพูด หรือนิยมเขียนคู่กันเสมอ คือ เครื่องรางของขลัง
 เครื่องรางของขลัง ปกติเป็นเรื่องนอกคำสอนของพระพุทธศาสนา ถูกจัดอยู่ในประเภทไสยศาสตร์มากกว่า แต่เป็นที่นิยมกันมาแต่โบราณ ด้วยเห็นว่าพลังหรืออำนาจนั้น มาจากพุทธคุณ

 ในขณะที่คำว่า "พระเครื่อง" นั้น พระธรรมกิตติวงศ์ ได้อธิบายไว่ว่า ความหมายเดิม คือพระพุทธรูปองค์เล็กๆ ที่นับถือว่าเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันอันตราย เป็นคำย่อมาจากคำว่า "พระเครื่องราง"

 พระเครื่อง ปัจจุบันหมายรวมทั้งพระพุทธรูป และรูปพระสงฆ์ที่เรียกกันว่าเกจิอาจารย์ซึ่งหล่อเป็นองค์เล็กๆ หรืออัดจากผงชนิดต่างๆ ดุนเป็นรูปนูนขึ้นมา มีรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ที่ผ่านการปลุกเสกที่เรียกว่า "พุทธาภิเษก" มาแล้ว ถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ สามารถป้องกันอันตราย และนำโชคลาภมาให้ได้เป็นต้น

 พระเครื่อง มีวิวัฒนาการมาก นอกจากนิยมในด้านความศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังนิยมในด้านศิลปะ และความเก่าด้วย บางองค์มีค่ามากกว่าเพชรพลอย โดยเรียกการซื้อขายแลกเปลี่ยนว่า "เช่า"

"พระธรรมกิตติวงศ์"