ข่าว

จับตาล้มประมูลรถไฟฟ้า "สายสีส้ม" ไม่รอคำสั่งศาลปกครอง

จับตาล้มประมูลรถไฟฟ้า "สายสีส้ม" ไม่รอคำสั่งศาลปกครอง

03 ก.พ. 2564

จับตา ล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม  เดินหน้าเปิดประมูลใหม่ ไม่รอ คำชี้ขาดศาลปกครองสุงสุด ยัน เวลาล่วงเลยมานาน ดีเดย์ วันที่ 3ก.พ. บอร์ดมาตร36 (พีพีพี) ประชุมด่วนเคาะ 2 ทางออก


การแก้ไข ทีโออาร์หรือ หลักเกณฑ์ การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ระยะทาง35.9กิโลเมตร มูลค่า 1.42แสนล้านบาท ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)   โดยนำซองเทคนิค พิจารณาร่วมกับซองคะแนน โดย เทคนิค 30คะแนน และ ราคา70คะแนน  แทน เงื่อนไข ทีโออาร์เดิมที่ พิจารณาซองราคา 100%  ส่งผลให้ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอสซี  (โจทย์)ยื่นฟ้อง คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 (พีพีพี)

 

 

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม(บางขุนนนท์-มีนบุรี)  (จำเลย) คดีหมายเลขดำที่ 2280/2563   เพื่อคุ้มครองฉุกเฉิน และ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม2563 ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว  ทำให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ต้องกลับไปใช้หลักเกณฑ์การประมูลเดิมที่ใช้เกณฑ์การตัดสินคะแนนทางการเงิน 100 คะแนน พร้อมทั้งนัดวันเวลาให้เอกชน ผู้ซื้อซอง ยื่นซองประกวดราคาตามกำหนดการเดิม เพียงแค่รอคำสั้งศาล ชี้ขาดเท่านั้นจึงจะเปิดซองได้   แต่เนื่องจาก ศาลปกครองสูงสุดยังไม่มีคำสั่ง จึงเป็นเหตุให้ การประมูลโครงการสายสีส้มอาจล่าช้าออกไป

 


สำหรับทางออก   วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564  คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 มีวาระพิจารณา  ยกเลิกการประกวดราคา  โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ออกไปก่อน  ไม่ต้องรอการพิจารณาของศาลปกครอง  โดยให้เหตุผลว่า ระยะเวลาที่ศาลปกครองต้องใช้พิจารณาคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 ระหว่าง  บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS (ผู้ฟ้องคดี) กับคณะกรรมการคคัดเลือกตามมาตรา 36 ยังต้องใช้เวลาอีกนาน    

 

ทั้งนี้  การประชุมของคณะกรรมการ จะพิจารณาทางออก 2 แนวทาง คือ 1.ยกเลิกการประมูลครั้งนี้และให้ถอนอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาของศาลปกครองกลาง และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางคดี โดยมอบให้ รฟม.พิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2.เห็นชอบในหลัการคัดเลือกผู้ชนะการประมูลจากข้อเสนอทางเทคนิค (ซอง 2) ร่วมกับข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ซอง 3) ตามที่คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ได้เคยเห็นชอบไว้ โดยมอบหมายให้ รฟม.ทำร่างประกาศเชิญชวนและร่างเอกสารการคัดเลือกตามหลักการดังกล่าว เพื่อเสนอให้คณะกรรมการคัดเลือกมาตรา 36 พิจารณา


รวมทั้งให้ รฟม.รายงานกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี รับทราบการใช้เกณฑ์การประเมินข้อเสนอดังกล่าวเพื่อความชัดเจนก่อนคัดเลือกเอกชนขั้นต่อไปทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการได้เสนอเลือกแนวทางยกเลิกประมูลสายสีส้มเพราะจะทำให้การคัดเลือกเอกชนร่วมดำเนินการได้เร็วตามเป้าหมายต่อไปข่าวที่เกี่ยวข้อง