"เช็กสิทธิเงินเยียวยาเกษตรกร 65/66" ประกันรายได้ข้าว ผ่าน ธ.ก.ส. ได้ที่นี่
"เช็กสิทธิเงินเยียวยาเกษตรกร 65/66" ประกันรายได้ข้าว เงินเยียวยาไร่ละ 1,000 ผ่าน ธ.ก.ส. แจ้ง โอนเงินเข้าแล้ว
"เช็กสิทธิเงินเยียวยาเกษตรกร 65/66" เงินช่วยเหลือชาวนา ประกันรายได้ข้าว 65/66 เงินเยียวยาไร่ละ 1,000 ภายหลังที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกรอบวงเงิน เพื่อใช้สำหรับจ่ายชดเชย และเป็นค่าบริหารจัดการโครงการ และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยจะโอนเงินผ่านบัญชีของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.
ล่าสุด มีการจ่ายเงินตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 มาถึงงวดที่ 25 แล้ว สำหรับเกษตรกรที่แจ้งวันคาดว่าจะเก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 25-31 มี.ค.2566 ทั้งนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ่ายเงินให้เกษตรกร ในวันที่ 5 เม.ย.2566
น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยความคืบหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2565/2566 ว่า เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีรายได้ที่แน่นอน ตามนโยบายประกันรายได้เกษตรกรของรัฐบาล ขณะนี้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว สามารถตรวจสอบสิทธิประกันรายได้ข้าว 65/66 ผ่านออนไลน์ได้แล้ว โดยจะทยอยจ่ายเงินส่วนต่างราคาประกันรายได้ข้าว เงินเยียวยาไร่ละ 1,000 ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ประกันรายได้ข้าว 65/66
- เริ่มเช็กสิทธิประกันรายได้ข้าว 65/66 ได้ตั้งแต่ 15 ต.ค.2565 เป็นต้นไป
เงินเยียวยาไร่ละ 1,000 บาท
โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 หรือเงินช่วยเหลือชาวนา 2565 ไร่ละ 1,000 บาท ชาวนารับเงินสูงสุด 2 หมื่นบาท กรอบวงเงิน 5.5 หมื่นล้านบาท ได้ดำเนินการโอนเงินมาถึงงวดที่ 18 แล้ว โดยในงวดที่ 1 - 17 (เพิ่มเติม) เป็นเงินกว่า 1.36 ล้านบาท ซึ่งมีผู้ได้รับประโยชน์จำนวน 4,947 ครัวเรือน
เช็ก เงินเยียวยาไร่ละ 1,000 โดยสามารถเข้าไปตรวจสถานะการโอนเงินเข้าบัญชี ธ.ก.ส.ได้ที่ คลิกที่นี่
ไทม์ไลน์โอนเงินประกันรายได้ข้าว
หลังจากประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิงแล้ว ธ.ก.ส. จะโอนเงินส่วนต่างเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ภายใน 3 วันทำการ โดยงวดที่ 1 - งวดที่ 6 ธ.ก.ส. จะจ่ายเงินได้ในวันที่ 24 พ.ย. นี้ ครอบคลุมกลุ่มเกษตรกรร้อยละ 73 ของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร
ไทม์ไลน์เงินประกันรายได้ข้าว 65/66
- 24 พ.ย. 2565 โอนรวม 804,017 ครัวเรือน จำนวนเงิน 10,015.485 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ อุทัยธานี ตาก เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน และจังหวัดลำพูน
- 25 พ.ย. 2565 โอนรวม 985,871 ครัวเรือน จำนวนเงิน 10,841.001 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดลำปาง น่าน แพร่ อุดรธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และ จังหวัดอุบลราชธานี
- 26 พ.ย. 2565 โอนรวม 978,459 ครัวเรือน จำนวนเงิน 11,036.883 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ นครราชสีมา และจังหวัดยโสธร
- 27 พ.ย. 2565 โอนรวม 980,489 ครัวเรือน จำนวนเงิน 11,369.183 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู หนองคาย มุกดาหาร บึงกาฬ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และจังหวัดชัยภูมิ
- 28 พ.ย. 2565 โอนรวม 546,458 ครัวเรือน จำนวนเงิน 7,354.491 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สมุทรปราการ สระแก้ว กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี กระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล ก.ท.ม. และจังหวัดเลย
สำหรับในงวดที่ 7 - งวดที่ 33 จะประกาศทุก 7 วัน ขอให้เกษตรกรติดตามการประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงได้ที่เว็บไซต์กรมการค้าภายใน คลิกที่นี่ วิทยุชุมชน หรือเสียงตามสาย
โดยล่าสุด เป็นการประกาศราคา งวดที่ 25 แล้ว สำหรับเกษตรกรที่แจ้งวัน คาดว่าจะเก็บเกี่ยว ระหว่างวันที่ 25-31 มี.ค.2566 โดยจะจ่ายเงินให้เกษตรกร ที่ได้รับสิทธิงวดที่ 25 ในวันที่ 5 เม.ย.2566
ช่องทางการเช็คสิทธิเงินเยียวยาเกษตรกร 65/66
- เข้าสู่เว็บไซต์ chongkho.inbaac.com คลิกที่นี่ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- กรอกเลขประจำตัวประชาชน เพื่อใช้ในการเช็ค "เงินเยียวยาเกษตรกร" หลังจากกรอกเลขบัตรประชาชน โดยจะมีรายละเอียดของบัญชี จำนวนเงิน และโครงการของเงินช่วยเหลือที่ได้รับ
- ตรวจสอบข้อมูลในแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile หลังจากตรวจสอบในเว็บไซต์แล้วเรียบร้อย หากมีข้อมูลขึ้นว่าได้รับเงินโอน สามารถเข้าไปตรวจสอบยอดเงินได้ด้วยตัวเอง
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้อนุมัติมาตรการคู่ขนาน สำหรับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร โดยคงหลักการเช่นเดียวกับปี 1 - ปี 3 ได้แก่ มาตรการชะลอขาย โดยให้เกษตรกรจัดเก็บไว้ในยุ้งฉางของตนเอง ซึ่งรัฐจะช่วยค่าฝากเก็บตันละ 1,500 บาท โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 2.5 ล้านตัน เพิ่มจากปีก่อนที่ 2 ล้านตัน และเสริมสภาพคล่องแก่สถาบันเกษรตรกร
โดยสามารถกู้ยืมจาก ธ.ก.ส. และรัฐช่วยดอกเบี้ยร้อยละ 3 ระยะเวลา 1 ปี ตั้งเป้าไว้ที่ 1 ล้านตัน หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขตามที่กำหนด รวมทั้งได้อนุมัติมาตรการช่วยเหลือค่าบริหารจัดการไร่ละ 1,000 บาท ซึ่งจะโอนเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง