ข่าว

ธ.ก.ส. เดินหน้าแก้หนี้-แก้จน ยกระดับเกษตรกร 9 จว.ภาคเหนือ

ธ.ก.ส. เดินหน้าแก้หนี้-แก้จน ยกระดับเกษตรกร 9 จว.ภาคเหนือ

10 พ.ย. 2565

ธ.ก.ส. ผนึกกำลังส่วนงานราชการ สหกรณ์การเกษตรและผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือ 9 จังหวัด ยกระดับภาคเกษตรไทยสู่ความยั่งยืน

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ที่ห้องประชุมพิษณุโลก คอนเวนชั่น โรงแรม ดิอิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ พิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 

 

ธ.ก.ส. เดินหน้าแก้หนี้-แก้จน ยกระดับเกษตรกร 9 จว.ภาคเหนือ

เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือการเชื่อมโยงธุรกิจสินค้าเกษตรในโครงการจัดการผลผลิตเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรและเพิ่มศักยภาพสถาบันเกษตรกรอย่างยั่งยืน

ภายใต้แนวคิดแก้หนี้ แก้จน & ก้าวพ้นวิกฤต ระหว่างนายโสรัต โสพรรณรัตน์ รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. และส่วนงานราชการ สหกรณ์การเกษตรและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมโยงธุรกิจเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำและสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นในห่วงโซ่การผลิต 

ธ.ก.ส. เดินหน้าแก้หนี้-แก้จน ยกระดับเกษตรกร 9 จว.ภาคเหนือ

 

เพิ่มศักยภาพสถาบันเกษตรกรจนไปสู่การสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยมีนายไพศาล หงษ์ทอง ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. และภาคีเครือข่าย ร่วมเป็นสักขีพยาน

นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวระหว่างเป็นประธานในพิธีเปิดงานตอนหนึ่งว่าการลงนาม(mou)ครั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรเกิดความมั่นคงและเข้มแข็ง

 

 เพราะเป็นองค์กรของเกษตรกรที่ทำหน้าที่รวบรวมผลผลิตของสมาชิกสหกรณ์สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรแลที่สำคัญช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับเกษตรกร

 

ธ.ก.ส. เดินหน้าแก้หนี้-แก้จน ยกระดับเกษตรกร 9 จว.ภาคเหนือ

“ในการรวบรวมผลผลิตของเกษตรกรก้มีสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่และสหกรณ์การเกษตรเพื่อเพื่อการตลาดเพื่อลูกค้าธ.ก.ส.ซึ่งมีอยู่ทุกจังหวัด ซึ่งเป็นสองส่วนที่สำคัญและเป็นกลุ่มใหญ่ อย่าางที่ทราบปัญหาของเกษตรวันนี้คือรายได้ไม่พอรายจ่ายก็เลยทำให้เกิดปัญหาหนี้สินของเกษตรกร”

 

 

อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ยอมรับว่าส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการผลิตในแต่ละฤดูขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและความไม่แน่นอนในเรื่องราคาและปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวขช้องอย่างที่ท่านผู้อำนวยการฝ่ายสาขาได้รายงานให้ทราบเช่นภัยสงครามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น 

 

ธ.ก.ส. เดินหน้าแก้หนี้-แก้จน ยกระดับเกษตรกร 9 จว.ภาคเหนือ

ซึ่งก็มีข้อดีและข้อด้อย ซึ่งข้อดีส่วนหนึ่งก็คือราคาพืชผลกสารเกษตรของประเทศไทยที่ส่วนหนึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศทำให้ราคาดีขึ้นทำให้รัฐบาลสามารถลดเงินอุดหนุนไปในหลายโครงการ

 

 

ขณะที่ นายไพศาล หงษ์ทอง ผู้ช่วยผู้จัดการและโฆษก ธ.ก.ส. กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2563 ทำให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตภาคการเกษตรมีราคาพุ่งสูงขึ้น 

 

อาทิ ปุ๋ยเคมี เชื้อเพลิง ค่าขนส่ง ทำให้เกษตรกรต้องแบกรับภาระด้านค่าใช้จ่ายครัวเรือน รวมถึงหนี้สินที่เกิดจากการลงทุน ซึ่ง ธ.ก.ส. ตระหนักถึงสถานการณ์ดังกล่าวและพร้อมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาและร่วมพัฒนาศักยภาพการผลิตในภาคการเกษตร

 

 

ภายใต้แนวคิดการจัดการ – ออกแบบเชิงพื้นที่ “แก้หนี้ แก้จน” Design & Manage by Area (D&MBA) เพื่อจัดการและแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยคนในชุมชนให้สามารถก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปได้อย่างเข้มแข็ง พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่การผลิตให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตรมีรายได้อย่างยั่งยืน

 

 

โดยร่วมกับส่วนงานราชการ สหกรณ์การเกษตรและผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดตาก 

 

ซึ่งมีการผลิตพืชเศรษฐกิจหลักหลายชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อย ดำเนินโครงการจัดการผลผลิตเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรและเพิ่มศักยภาพสถาบันเกษตรกรอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดแก้หนี้ แก้จน & ก้าวพ้นวิกฤต ในการเข้าไปเป็นผู้ช่วยในการจับคู่ธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ 

 

 

ภายใต้กรอบแนวคิดการออกแบบ-การจัดการเชิงพื้นที่ แก้หนี้ แก้จน D&MBA ซึ่งเริ่มตั้งแต่การศึกษาสาเหตุ ปัญหาที่เกิดขึ้นและความต้องการเกษตรกรในพื้นที่ กำหนดแนวทางแก้ไขโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ประเมินความเป็นไปได้และศักยภาพของชุมชนในการขับเคลื่อนตามแนวทางที่กำหนด 

 

 

เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน รวมทั้งมีภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน เครือข่ายทางสังคม ให้การสนับสนุนในการเติมความรู้ด้านการสร้างอาชีพเดิม เสริมอาชีพใหม่ ความรู้ด้านการเงิน เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่เกษตรกร สร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันเกษตรกรในการรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกร 

 

 

จนสามารถส่งมอบผลผลิตที่มีคุณภาพที่ตรงกับความต้องการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อส่งออกจำหน่ายไปยังตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจากการร่วมมือครั้งนี้จะมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดกว่า 520,353 ตัน

 

 

ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ยังมีการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลผ่านโครงการประกันรายได้ในพืชเศรษฐกิจหลัก 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ยางพาราและปาล์มน้ำมัน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 

 

 

ซึ่งมีการจ่ายเงินไปแล้วจำนวน 142,667 ล้านบาทและมีเกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 4.68 ล้านราย และธ.ก.ส. พร้อมสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน วงเงินรวมกว่า 5,000 ล้านบาท 

 

เพื่อให้สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ ได้แก่ สินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนและลงทุนในการประกอบอาชีพ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี 

 

 

สินเชื่อนวัตกรรมดีมีเงินทุน เพื่อสนับสนุนการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้และลดต้นทุนในกระบวนการผลิตอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 4 ต่อปี สินเชื่อเสริมแกร่ง SME เกษตร สำหรับลูกค้าเกษตรหัวขบวนได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี 

 

 

และสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย ที่เน้นสนับสนุนสหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชน กองทุนหมู่บ้านและกลุ่มเกษตรกรในการขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อต่อยอดธุรกิจ สร้างรายได้ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ผ่านการแปรรูปผลผลิต อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี

 

 

 และมุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการ SME เกษตรหัวขบวนและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Smart Farmer) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันภาคเกษตรไทยไปสู่ตลาดสากล