ปม "รถไฟฟ้าสายสีเขียว" กทม. โต้กลับ ไม่มีเจตนาเบี้ยวหนี้ค่าเดินรถ
ปม "รถไฟฟ้าสายสีเขียว" กทม. โต้กลับ บีทีเอส ยืนยันไม่มีเจตนาเบี้ยวนี้ค่าเดินรถ รอความชัดเจนจาก ครม. ขยายสัญญาสัมปทานหรือไม่ก่อนจ่ายหนี้คืน
จากกรณีที่บริษัท บีทีเอส ได้มีการปล่อยคลิปวีดีโอเพื่อทวงเงินค่าจ้างเดินรถไฟฟ้า โครงการ "รถไฟฟ้าสายสีเขียว" ส่วนต่อขยายจำนวนกว่า 40,000 กว่าบาท เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายต่อ บีทีเอส อย่างมาก
นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวระหว่างการแถลงข่าวโครงการ "รถไฟฟ้าสายสีเขียว" ว่า กรุงเทพมหานคร (กทม.) ไม่ได้มีเจตนาจะไม่จ่ายค่าเดินรถให้แก่บริษัทเอกชน หรือ บีทีเอส แต่เนื่องจากการดำเนินการเดินรถในโครงการ "รถไฟฟ้าสายสีเขียว" กทม.ขอชี้แจงรายละเอียดการบริหารจัดการทั้งหมดออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 คือ ส่วนสัญญาสัมปทาน หมอชิต-อ่อนนุช และ สนามกีฬาแห่งชาติ-วงเวียนใหญ่ โดยส่วนนี้เป็นส่วนที่อยู่ในสัญญาสัมปทานการจ้างเดินรถอยู่แล้ว
ส่วนต่อขยายส่วนที่ 1 บางจาก-แบริ่ง และ โพธิ์นิมิตร-บางหว้า ซึ่งส่วนนี้เป็นสัญญาจ้างการเดินรถ และการซ่อมบำรุงที่ กทม.ได้ทำสัญญาจ้างบริหาร บริษัท กรุงเทพธนาคม หรือ เคที เป็นผู้ทำสัญญาจ้างเดินรถกับบริษัทเอกชน
- ค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยายที่ 2 ติดปัญหาขั้นตอนทำสัญญากับเอกชน
ส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 หมอชิต-คูคต แบริ่ง-สมุทรปราการ กทม.ได้มอบหมายกกิจการ ให้ เคที เป็นผู้ดำเนินงาน เคที ทำสัญญาจัดหา และทำสัญญาทั้งระบบอาณัติสัญญา (E&M) และสัญญาการบริหารจัดการระบบการเดินรถ (O&M) ในระหว่างนั้นพบว่า เคที ได้ดำเนินการจัดทำสัญญาจ้างเดินรถกับเอกชนในช่วงเดือน มิ.ย. 59 ในวงเงิน 19,000 ล้านบาท ก่อน ที่จะมีการลงนามบันทึกมอบหมายงานในช่วง ก.ค. 59 โดยเป็นการลงนามทั้งที่ยังไม่ผ่านการเห็นชอบจาก สภา กทม.
หลังจากนั้นในปี 61 สำนักขนส่งและจราจร ได้เสนอสำนักงบประมาณเพื่อจัดสรรงบประมาณโครงการติดตั้งระบบเดินรถและบริหารจัดการการเดินรถระบบ "รถไฟฟ้าสายสีเขียว" ระยะเวลา 15 ปี (2561-2575) วงเงิน 31,988 ล้านบาท แต่ สภากทม. ไม่อนุมัติโครงการเนื่องจากรายละเอียดการจ้างยังไม่ชัดเจน และมีการทำสัญญาจ้างก่อนที่จะผ่านความเห็นชอบ
- รอมติ ครม. พิจารณาต่อสัญญาสัมปทานให้ชัดเจนก่อนจ่ายหนี้
นายวิศณุ กล่าวต่อว่า ระหว่างนั้นในช่วงปี 2562 คชส. ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมเพื่อเจรณาขยายสัญญาสัมปทาน "รถไฟฟ้าสายสีเขียว" โดยใช้เวลาในการพิจารณา 60 วัน และได้ตัวร่างสัญญาขึ้นมา โดยมีประเด็นค่าจ้างเดิน หากมีการต่อสัญญาสัมปทานค่าจ้างเดินรถทั้งจะต้องถูกโอนไปอยู่ในสัญญาสัมปทานใหม่ ดังนั้น กทม. จึงยังไม่ได้พิจารณาจ่ายเงินค่าเดินรถให้แก่บริษัทเอกชน เนื่องจากยังรอมติ ครม. อยู่ว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร หาก ครม.เห็นชอบต่อสัญญาสัมปทาน ค่าจ้างเดินรถทั้งหมดจะต้องถูกโอนเข้าไปอยู่ในสัญญาสัมปทานฉบับใหม่ แต่ หากครม. ไม่เห็นชอบ ค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยายส่วนที่ 1 จำนวน 10,000 กว่าล้าน สามารถทำได้เลย เพราะสัญญามีความสมบูรณ์แล้ว แต่จะต้องรอมติจาก ครม. ให้ชัดเจนก่อน แต่ส่วนต่อขยายส่วน 2 ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะยังไม่ผ่านการพิจารณาของสภากทม.
- ขออุทธรณ์ดอกเบี้ย ไม่มีเจตนาไม่ชำระหนี้
นายวิศณุ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนการชำระหนี้ตามคำสั่งศาลปกครองนั้น เบื้องต้น กทม.ได้ยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว เนื่องจากมูลค่าหนี้อยู่ระหว่างการอุทธรณ์ค่าดอกเบี้ย เพราะกทม.ไม่มีเจตนาจะไม่ชำระหนี้ และสัญญาที่ กทม. ทำไว้กับ เคที ไม่ได้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ ทั้งนี้กทม. เห็นว่า เคทีมีการจ้างที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบ คิดค่าคำนวณค่าจ้างใหม่ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ซึ่งอาจจะทำให้ยอดหนี้เปลี่ยนไปไม่ตรงกัลที่เอกชนฟ้อง
ด้านส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 บันทุกมอบหมายยังไมม่สมบูรณ์ เนื่องจากยังไมไ่ด้รับการอนุมัติ งบประมาณจากสภาพกทม. ทั้งนี้ กทม.ไม่ได้มีการทำนิติกรรมกับเอกชนโดยตรง มีเพียงการทำบันทุกมอบหมายให้กับ เคที เท่านั้น โดยในบันทุกข้อตกลงมอบหมาย ยังระบุไว้ด้วยว่า บันทึกข้อตกลงนี้ไม่มีผลให้ทำ เคที เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของ กทม.