สรุป "สถานีกลางบางซื่อ" สู่ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ กับป้ายใหม่ราคา 33 ล้าน
สรุป "สถานีกลางบางซื่อ" สู่ "สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์" จากสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดอาจได้เป็นสถานีรถไฟที่ป้ายชื่อแพงที่สุดหลังเคาะราคาที่ 33 ล้านบาท
"สถานีกลางบางซื่อ สถานีรถไฟที่ขึ้นชื่อว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย สามารถรองรับรถไฟทางไกลของการรถไฟแห่งประเทศไทยทุกเส้นทาง รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ระบบรถไฟความเร็วสูงทุกเส้นทาง รถไฟฟ้าเอราวันและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รวม 24 ชานชาลา ภายในอาคารสถานียังมีพื้นที่กว้างขวางทั้งพื้นที่สำนักงาน พื้นที่เชิงพานิชย์ ด้วยระยะเวลาการก่อสร้างที่นานกว่า 10 ปี
แม้ว่าตัว "สถานีกลางบางซื่อ" จะก่อสร้างแล้วเสร็จแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถเปิดให้บริการในส่วนสถานีได้ก่อน จนในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด-19 สถานีกลางบางซื่อจึงถูกนำมาใช้เป็นสถานที่สำหรับฉีดวัคซีนโควิดให้แก่ประชาชน และช่วงกลางปี 2565 ได้รับพระราชทานชื่อใหม่คือ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงต้อนรับศักราชใหม่ด้วยการประมูลผู้รับจ้างทำป้ายชื่อใหม่ในราคา 33.16 ล้านบาท ซึ่งสร้างความฮือฮาให้แก่สังคมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มก่อสร้างยันงบเปลี่ยนป้ายชื่อสถานี
- จุดเริ่มต้น "สถานีกลางบางซื่อ" สถานีที่รถไฟที่ได้รับการขนานนามว่าใหญ่ที่สุดในเอเชีย
"สถานีกลางบางซื่อ" เกิดมาเพื่ดทดแทน สถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งในอนาคตจะถูกยกเลิกไป "สถานีกลางบางซื่อ" ถือว่าเป็นตั้งอยู่พื้นที่ที่เป็นใจกลางการคมนาคม โดย เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2550 คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการโดยได้เริ่มก่อสร้างงานโยธา งานระบบไฟฟ้าเครื่องกล ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อปี 2555 จากนั้นในปี 2556 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างงานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุงด้วยงบประมาน 34,142 ล้านบาท อาคารสถานีมีความยาว 596.6 เมตร ความกว้าง 244 เมตร ความสูง 43 เมตร พื้นที่ใช้สอยในอาคารรวม 274,192 ตารางเมตร ออกแบบและก่อสร้างโดย บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง เป็นผู้รับเหมาในส่วน โครงการก่อสร้างระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต สัญญาที่ 1 งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง โดยก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2564
- "สถานีกลางบางซื่อ" เสร็จแล้วแต่ยังไม่เปิดใช้งานส่วนอาคารสถานี จนกลายเป็นศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด
เกิดข้อสงสัยมากมายในเมื่อตัว "สถานีกลางบางซื่อ" สร้างเสร็จแล้วแต่ทำไมยังไม่สามารถเปิดใช้งานได้ ด้วยความที่โครงการมีขนาดใหญ่ไม่ได้มีแค่การก่อสร้างตัวสถานี แต่ยังเชื่อมโยงไปถึงการทำระบบราง อาณัติสัญญาณ โครงสร้างทางวิ่ง ห้องควบคุมระบบต่าง ๆ ต่อเนื่องไปจนถึงการทดสอบระบบเพื่อความปลอดภัยของประชาชน การตรวจรับรองจากวิศวกรภายนอก ส่งผลให้ "สถานีกลางบางซื่อ" ไม่สามารถเปิดให้งานได้ทันทีหลังจากที่ตัวสถานีก่อสร้างเสร็จและการก่อสร้างทั้งหมดเกิดความล้าช้าออกไป ประกอบกับที่ต้องรอรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชันพร้อมใช้งานก่อน จึงทำให้ สถานีกลางบางซื่อ ยังไม่พร้อมใช้งาน และในปี 2565 จึงกลายมาเป็นศูนญ์ฉีดวัคซีนโควิด
- เปลี่ยนชื่อ "สถานีกลางบางซื่อ" เป็น สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า คณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการ ภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ว่า "นครวิถี" โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) ว่า "ธานีรัถยา" และสถานีกลางบางซื่อ ว่า "สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์" โดยปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งป้ายชื่อพระราชทานในบริเวณสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
- จากป้ายชื่อ "สถานีกลางบางซื่อ" สู่ ป้ายใหม่ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ราคา 33.16 ล้าน
ไม่ได้สร้างความตะลึงแค่ขนาดของ "สถานีกลางบางซื่อ" แต่เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2565 มีการประกาศบริษัทผู้รับเหมาที่ได้งายปรับปรุงป้ายชื่อ "สถานีกลางบางซื่อ" เป็น สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ใ นราคา 33.16 ล้านบาท ซึ่งก็คือ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง ผู้รับเหมาก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อนั้นเอง ด้วยราคาที่แพงเกินความจริงได้สร้างความสงสัยให้แก่สังคมอย่างมาก แค่เปลี่ยนป้ายชื่อสถานีจำเป็นจะต้องใช้งบประมาณมากมายมหาศาลขนาดนี้หรือไม่ ไม่ทันข้ามวัน บริษัทยูนิค ได้ร่อนหนังสือชี้แจ้งว่า
"บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ ทำหนังสือแจ้งข่าวการลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อเป็น สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ถึงกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 29 ธ.ค. 2565 ที่ผ่านมา ระบุว่า บริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้าง กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในการก่อสร้างโครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย มูลค่าโครงการ 33,169,726.39 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จึงเรียนมาเพื่อโปรดทรายและโปรดเผยแพร่ต่อผู้ลงทุนและประชาชนต่อไป"
แม้ว่าเอกชนจะออกมาชี้แจ้งแต่ก็ยังไม่สามารถตอบข้อสงสัยของประชาชนได้ ราคาปรับปรุงที่สูงลิ่วขนาดนี้อาจจะเกิดจากความยากของงานหรือไม่ เพราะตัวสถานีกลางบางซื่อเองด้านนอกถูกออกแบบให้เป็นกระจกทั้งหมด รวมทั้งยังมีจุดที่ต้องเปลี่ยนป้ายชื่ออีกหลายจุด กรณีดังกล่าวจะต้องรอการชี้แจง จาก รฟท.ต่อไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับการเปิดให้บริการ สถานีกลางบางซื่อ หรือ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 19 ม.ค. 66 โดยจะมีรถไฟให้บริการรถไฟเชิงพาณิชย์ 52 ขบวน ที่เริ่มต้นจาก สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ซึ่งจะกลายเป็นสถานี ต้นทาง-ปลายทาง แทนสถานีรถไฟหัวลำโพง