สหรัฐฯหนุนไทยสู้ความ "ความท้าทายเศรษฐกิจ" ลงทุนไทยเกิดการจ้างงาน 2 แสนคน
สหรัฐฯ หนุนไทยสู้ "ความท้าทายเศรษฐกิจ" ในภาวะการแข่งขัน ชี้ไทยมีศักยภาพมาก และเป็นฐานการทำธุรกิจ ลงทุนเสริมให้เกิดการจ้างงานของบริษัทอเมริกาในไทยกว่า 2 แสนคน เล็งเพิ่มทุนนักเรียนแลกเปลี่ยนให้มากขึ้น
เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 บริษัท เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) โดย กรุงเทพธุรกิจ จัดสัมนา Geopolitics : The Big Challenge for Business โลกแบ่งขั่ว ธุรกิจพลิกเกม โดยมี นาย วิชาวัฒน์ อิศรภักดี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานในการเสวนา และ นายวีระศักดิ์ พงอักษร บรรณาธิการอำนวยการเครือเนชั่น และบรรณาธิการบริหารกรุงเทพธุรกิจ เพื่อตอบสนองการแข่งขัน และ "ความท้าทายเศรษฐกิจ" ภายใต้ความการแข่งขันและภาวะวิกฤตเศรษฐกิจของโลก
โดย นายโรเบิร์ต เอฟ โดเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย กล่าวระหว่างงานเสวนา ว่า ในภาวะการแข่งขันทางธุรกิจที่นานาประเทศไม่อาจหลีกเลี่ยงได้สหรัฐอเมริกา พร้อมที่จะร่วมกันทำงานประเทศไทย เพื่อให้ทั้ง 2 ประเทศสามารถก้าวผ่านภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ โรคระบาด รวมไปถึงภาวะสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมไปถึง "ความท้าทายเศรษฐกิจ" โดยที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาและประเทศไทยมีการร่วมกันทำงานและแบ่งปันความรู้ เพื่อเสริมความมมั่งคั่ง และเพิ่มขีดความสามารถด้านการค้า การลงทุน และการปกครอง ให้แก่ทั้ง 2 ประเทศ
อย่างไรขณะนี้ทั่วโลกตต้องเผชิญกับภาวะโรคระบาด COVID-19 ปัญหาเศรษฐกิจถดถอย อีกทั้งยังต้องเตรียมรับมือด้านความเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพอากาศมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อให้สหรัฐอเมริกา และพันธมิตรให้ก้าวผ่าน และเตรียมพร้อมรับมือกับความ "ความท้าทายเศรษฐกิจ" ในครั้งนี้ จำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันและเดินไปในทิศทางเดียวกันภายใต้ข้อตกลงที่ทุกฝ่ายสามารถยอมรับได้ หากพบว่ามีประเทศใดไม่เห็นด้วยกับแนวคิดหรือทางแนวทาง จะต้องร่วมกันกันต่อต้าน เหมือนอย่างที่สหรัฐอเมริกาและหลายประเทศ ร่วมกันต่อต้านการทำสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน
อย่างไรก็ตามขณะนี้ทั่วโลกตต้องเผชิญกับภาวะโลกระบาด COVID-19 ปัญหาเศรษฐกิจถดถอย อีกทั้งยังต้องเตรียมรับมือด้านความเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพอากาศมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อให้สหรัฐอเมริกา และพันธมิตรให้ก้าวผ่าน และเตรียมพร้อมรับมือกับ "ความท้าทายเศรษฐกิจ"ในครั้งนี้ จำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันและเดินไปในทิศทางเดียวกันภายใต้ข้อตกลงที่ทุกฝ่ายสามารถยอมรับได้ หากพบว่ามีประเทศใดไม่เห็นด้วยกับแนวคิดหรือทางแนวทาง จะต้องร่วมกันกันต่อต้าน เหมือนอย่างที่สหรัฐอเมริกาและหลายประเทศ ร่วมกันต่อต้านการทำสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน
ปัจจุบันต้องรับยอมรับอีกหนึ่งส่งครามที่ทั่วโลกจับตา และเป็นกังวลนั้นคือสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริการ ซึ่ง นายโรเบิร์ต กล่าวต่อไป ส่วนส่งครามการแข่งขันทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา และจีน สหรัฐอเมริกาจะพยายามดำเนินการอย่างรอบครอบเพื่อให้การแข่งขันทางการค้ากลายเป็นความขัดแย้ง สหรัฐอเมริกามีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมด้านการค้า การขนส่งสินค้าผ่านทางน่าน้ำ รวมไปถึงการส่งเสริมด้านการปกครอง
ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจ และก่อให้เกิดประโยชน์กับทั้งสหรัฐอเมริกา และไทยอย่างมาก อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมาสหรัฐฯได้เล็งเห็นศักยภาพและความแข็งแกร่งในด้านการทำธุรกิจ การลงทุนและการส่งเสริมการให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ อีกทั้งสหรัฐฯยังเป็นตลาดส่งออกอันดันต้น ๆ ของไทย ดังนั้นการสร้างความร่วมมือผลักดันให้เกิดธุรกิจที่เป็นที่ยอมรับ การทำธุรกิจแบบ BCG การส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน จึงเป็นเรื่องที่ สหรัฐฯ พร้อมที่จะเข้ามาช่วยเหลือประเทศไทย เพื่อให้สามารถรับมือกับความท้าทายกับความเปลี่ยนแปลง และการแข่งขันทางเศรษฐกิจในครั้งนี้ได้
นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังเห็นว่าประเทศไทย เป็นประเทศไทยที่มีระบบการลงทุน การทำธุรกิจที่เติบโตอย่างมากใน กลุ่มประเทศทวิภาคี ซึ่งที่ผ่านมามีบริษัทเอกชนที่เป็นของสหรัฐฯ เข้ามาลงทุนในประเทศไทยจำนวนมาก ทั้งการย้ายฐานการผลิต และการเป็นบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลุงทนในไทยส่งผลให้เกิดการจ้างงานกว่า 200,000 ตำแหน่ง ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยและสหรัฐฯ จะต้องมาร่วมมือกันในพัฒนาการวิจัย วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมทั้งการเพิ่มทุนให้แก่นักเรียนทั้ง 2 ประเทศ ให้มีโอกาสให้เข้าไปศึกษาทั้งในสหรัฐอเมริกา และในไทย เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยและคนอเมริกา ให้มีความยั่งยืนและรับมือความท้าทายทางด้านภาวะเศรษฐกิจในครั้งนี้ได้