ชีวิตดีสังคมดี

แรงงาน ลุ้น 17 อาชีพชง ครม. ปรับขึ้น "ค่าแรง" สูงสุด 700 บาท

แรงงาน ลุ้น 17 อาชีพชง ครม. ปรับขึ้น "ค่าแรง" สูงสุด 700 บาท

30 ม.ค. 2566

ลุ้น 17 อาชีพชง ครม. ปรับขึ้น "แรงงาน" วันนี้ อัตราใหม่สูงสุด 700 บาท สาขาอาชีพใหนจ่อได้ขึ้นค่าแรงบ้างเช็คที่นี่

รานงานข่าวจากกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานได้เสนอเรื่องการขอปรับอัตราค่าจ้างในกลุ่ม 17 อาชีพ เพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในที่ประชุม ครม. วันที่ 31 มกราคม 2566 ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงแรงงานได้เสนอเรื่องเพื่อรอคิวเข้าสู่วาระการพิจารณาไปแล้วแต่แรากฎว่าในการประชุม ครม.สัปดาห์ที่ผ่านมาวาระการปรับค่าแรงยังถูกบรรจุในวาระการพิจารณาของ ครม. โดยทาง กระทรวงแรงงาน ได้นำเสนอรายละเอียดไปยัง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลกระทรวงฯ ไปแล้ง 

 

 

ในเบื้องต้นจะมีการปรับ "ค่าแรง" ในอัตรา 400-700 บาท แต่จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการรับรองกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานแล้วเท่านั้น  
 

สำหรับรายละเอียดอาชีพที่เสนอปรับ "ค่าแรง" ตาม อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 อาชีพ จำนวน 17 สาขา ดังนี้  

 

สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรม 

 

1.ช่างระบบถ่ายกำลัง    495 บาท 
2.ช่างระบบปั้มและวาล์ว 515  บาท
3.ช่างประกอบโครงสร้างเหล็ก 500 บาท
4.ช่างปรับ  500 บาท
5.ควบคุมระบบงานเชื่อมมิก-แม็กด้วยหุ่นยนต์ 520 บาท
5.ช่างเทคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์อุตสาหกรรม  545-715 บาท

สาขาอาชีพช่างเครื่องกล 

7.ช่างซ่อมรถแทรกเตอร์การเกษตร   465-620 บาท 
8.ควบคุมเครื่องจักรรถตักหน้าขุดหลัง 585  บาท
9.ควบคุมเครื่องจักรรถขุด  570 บาท

10.ควบคุมเครื่องจักรรถลากจูง 555 บาท
11.ควบคุมเครื่องจักรตัก   520 บาท 

 

สาขาอาชีพภาคบริการ 

12นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ (โภชนบำบัด)  500-600 บาท
13.นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ (นักวารีบำบัด) 500-600 บาท
14นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ  (สุคนธบำบัด) 500-600  บาท
15.พนักงานผสมเครื่องดื่ม  475-600 บาท
16.การเลี้ยงเด็กปฐมวัย 530 บาท
17.ช่างเครื่องช่วยคนพิการ  520-600  บาท 

 

อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ปี 2555 คณะกรรมการจ้าชุดที่ 18-21 ได้กำหนดอัตรา "ค่าแรง" ตามมาตรฐานฝีมือแรงแล้วจำนวน 112 สาขา เมื่อรวมกับที่กำหนดใหม่ในครั้งนี้อีก 17 สาขา รวมเป็น 129 สาขา 

 

 

ทั้งนี้การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานจะส่งผลให้ลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ มีค่าจ้างที่เหมาะสมเป็นธรรม สอดคล้องกับทักษะฝีมือแรงงาน ความรู้ ความสามารถและการจ้างงานในตลาดแรงงาน  ส่วนลูกจ้างทั่วไปการปรับ "ค่าแรง" ถือเป็นแรงจูงใจให้มีการพัฒนาฝีมือแรงงานและเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น  ด้านผู้ประกอบการสามารถคัดเลือกแรงงานที่ฝีมือดีเข้าทำงาน ซึ่งจะทำให้สินค้าและบริการมีคุณภาพและมาตรฐาน ลดค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนการผลิตเพราะจะไม่เกิดความผิดพลาดระหว่างการผลิต  รวมทั้งการปรับอัตรา "ค่าแรง" ใน 17 สาขาอาชีพจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานกึ่งฝีมือและแรงงานฝีมือในสาขาอาชีพที่ขาดแคลน   นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพิ่มศักยภาพแรงงานไทยให้เป็ยที่ยอมรับทั้งในปละต่างประเทศ 

 

 

ด้านการบังคับใช้ หรือ หากมีการผ่านมติครม. แล้ว นั้นลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแห่งชาติใน 17 สาขา ไม่วาก่อนหรือหลังที่มีการออกประกาศและมีผลบังคับใช้ หากมีความต้องการจะใช้สิทธิ์ให้ยื่นหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในอาชีพและสาขาและระดับนั้นแก่นายจ้างโดยเร็ว  และเมื่อนายจ้างได้รับหนังสือแล้ว ให้จ่ายค่าจ้างตามอัตราประกาศนี้ให้แก่ลูกจ้าง นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรองเป็นต้นไป  หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ