ข่าว

สตาร์ท 'เศรษฐกิจไทย' ให้นำโลก เสริมแกร่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มศักยภาพSME

สตาร์ท 'เศรษฐกิจไทย' ให้นำโลก เสริมแกร่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มศักยภาพSME

09 ก.พ. 2566

สตาร์ท 'เศรษฐกิจไทย' ให้นำโลก ผู้เชี่ยวชาญแนะเสริมแกร่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อาหาร วัฒนธรรม บันเทิง เพิ่มโอกาสดันธุรกิจSME ลงเวทีแข่งขัน

ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) อดีตผู้อำนวยการองค์การค้าโลก (WTO) กล่าวถึงแนวทางการขับเคลื่อน เศรษฐกิจไทย ให้ก้าวนำโลก ภายในงานเสวนา  อนาคตประเทศไทย Economic Drives เศรษฐกิจไทย สตาร์ทอย่างไรก้าวนำโลก 

 

 

โดยในช่วงปาฐกถาพิเศษหัวข้อ Start today 'ศรษฐกิจไทย' สตาร์ทอย่างไรก้าวนำโลก  ดร.ศุภชัย กล่าวถึง แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศไทยให้ก้าวนำเศรษฐกิจโลก  ว่า ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยรวมถึงทั่วโลกเผชิญกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจผันผวน มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจโดยตรง หรือปัญหาผลกระทบเศรษฐกิจ ที่เกิดจากโควิด19 ซึ่งเป็นภาวะที่ส่งผลให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ด้านระบบเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ชีวิต

 

รวมไปถึงผลกระทบที่ทำให้หลายรวมไปถึงผลกระทบที่ทำให้หลายหลายกิจกรรมต้องหยุดชะงักลงไป ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ได้จากบทเรียนที่ผ่านมาคือ ทุกประเทศทั่วโลกจะต้องมีการเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาที่คาดไม่ถึง ซึ่งแน่นอนว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หากประเทศใดมีการเตรียมความพร้อมรับมือได้อย่างดีก็จะส่งผลให้ได้รับผลกระทบน้อย และมีการฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว

 

ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์

แน่นอนว่าหลังจากที่เกิดความเปลี่ยนแปลงและความผันผวนทางด้านเศรษฐกิจเพราะโรคระบาด หรือการออกมาตรการของประเทศมหาอำนาจ ที่ส่งผลทำให้ที่ส่งผลทำให้รูปแบบการดำเนินธุรกิจมีความเปลี่ยนแปลงไป ประเทศไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง มีนโยบายหรือแนวทางใหม่ ๆ ขึ้นมาขับเคลื่อน เศรษฐกิจในประเทศ ให้เท่าทันกับ สามารถก้าวนำเศรษฐกิจของโลก 

 

โดยดร.ศุภชัย ได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาระบบ 'เศรษฐกิจไทย' ให้ก้าวนำได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้ก้าวไปเวทีโลก ไว้ดังนี้ 

 

 

นโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยเฉพาะ จัดการกับภาวะเงินเฟ้อ ไทยมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเร่งฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ ด้วยการผ่อนคลายให้คนนำเงินไปลงทุนมากขึ้น กระตุ้นการทำธุรกิจSME ให้มีศักยภาพในการแข่งขัน ส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบใหม่ เพราะไทยลงทุนในด้านนี้ต่ำมาก

 

 

ประเทศไทยจะต้องสร้างความสมดุลในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายในประเทศกับระบบเศรษฐกิจของต่างประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าการส่งออกยังมีความจำเป็นอย่างมากกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจในประเทศไทย 

 

 

นอกจากนี้ปัญหาสังคมสูงอายุ ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ แน่นอนว่าในประเทศที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคนแรงงานในอนาคต ดังนั้นไทยเองจะต้องเตรียม ให้แรงงานมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น ผ่านกระบวนการ Up Skill และ Re Skill อย่างต่อเนื่อง  นอกจากนี้ยังต้องคิดหาวิธีการในการเพิ่มศักยภาพให้กลุ่มสูงวัยมีความแข็งแรง ช่วยเหลือตัวเองได้โดยไม่ตกเป็นภาระของวัยทำงาน รวมไปถึงแนวทางการส่งเสริมให้กลุ่มผู้เกษียณอายุสามารถกลับเข้ามาทำงานให้กลับเข้ามาทำงานให้กับประเทศชาติได้ 

 

ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์

 

ดร.ศุภชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับภาคการทำธุรกิจเองจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหันมาทำธุรกิจในรูปแบบ Green Economy เพราะ เริ่มให้ความสำคัญกับ เริ่มให้ความสำคัญกับธุรกิจที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและธุรกิจที่มีความยั่งยืน โดยในประเทศไทยสามารถส่งเสริมให้เกิดความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ตั้งแต่ในระดับครัวเรือน บริษัทเอกชน โดยรัฐบาลจะต้องสร้างแรงจูงใจให้คนในชาติเห็นความสำคัญ

 

 

อย่างไรก็ตามนับจากนี้เป็นต้นไปประเทศไทยจะต้องหันมาส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)  ให้มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมด้านอาหาร วัฒนธรรม อุตสาหกรรมบัตเทิง ผ่านการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาคิดและเพิ่มประสิทธิภาพให้เกิดการยอมรับของทั่วโลก เช่น อุตสาหกรรม K pop ของเกาหลี โดยเฉพาะในด้านอาหารที่ต้องการความปลอดภัย คุณภาพ และความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

 

 

 “ แน่นอนว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจับมือกลับประเทศในภาคีและประเทศมหาอำนาจ เพราะการพัฒนาระบบเศรษฐกิจนั้นเราไม่สามารถต่อสู้ในเวทีโลกได้อย่างโดดเดี่ยว โดยเฉพาะการให้ความร่วมมือกับประเทศมหาอำนาจในในการพัฒนาพื้นที่ หรือการพัฒนารูปแบบการลงทุนที่จะก่อให้เกิดมูลค่าและโอกาส  เพราะความร่วมมือหมายถึงการเปิดโอกาสให้ประเทศไทย เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจที่ยังยืน รวมทั้งยังมีโอกาสในการที่จะก้าวไปอยู่ในแถวหน้าของประเทศมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจโลก” ดร.ศุภชัย กล่าวสรุป