'WAVE' จับมือ 'Spiro Carbon' ยกระดับชาวนา ปลูกข้าวแนวใหม่ รายแรกของไทย
'WAVE' จับมือ 'Spiro Carbon' ยกระดับชาวนา ปลูกข้าวแนวใหม่ รายแรกของไทย ทำตลาดคาร์บอนในนาข้าวให้เป็นจริง - สร้างรายได้ยั่งยืนให้ชาวนา
'WAVE' ส่ง WAVE BCG จับมือ 'Spiro Carbon' ผลักดันภาค เกษตรกรไทย ลดปล่อยก๊าซคาร์บอนเท่ากับศูนย์ (Carbon neutrality) เป้าหมายแรกส่งเสริม ชาวนา ปลูกข้าวแนวใหม่ ช่วยลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ถึง 50% เป็นเจ้าแรกในไทยที่จะทำตลาดคาร์บอนในนาข้าวให้เป็นจริง สร้างรายได้เสริมยั่งยืนให้ชาวนา จากการขายคาร์บอนเครดิต
นายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ 'WAVE' เปิดเผยว่า บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด (WAVE BCG) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ WAVE ได้ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) กับ Spiro Carbon เพื่อสนับสนุนภาคการเกษตรของประเทศไทย ให้เป็นอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนเท่ากับศูนย์ (Carbon neutrality) และมีความอย่างยั่งยืน โดยเริ่มต้นด้วยสนับสนุนชาวนาในการปลูกข้าว ที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ความร่วมมือนี้ นำโดยบริษัท Wave BCG ซึ่งเป็นผู้นำด้าน Carbon Credits ในประเทศไทยจะร่วมกับ Net Zero Carbon Thailand ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในตลาด Carbon Credits และ RECs ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้มาอย่างยาวนานและเป็นผู้นำ ขณะที่ Spiro Carbon เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงในการ Verify ในยุโรป ซึ่งสามารถสนับสนุนโครงการนี้ในด้านการ Verify รวมทั้งยังมีความเชี่ยวชาญในการทำ Carbon Credits จากการปลูกและสามารถนำเทคโนโลยีดาวเทียมมาใช้ในอุตสาหกรรมข้าวของประเทศไทยได้
โดย บริษัท WAVE BCG จะทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างเกษตรกรกับ Spiro Carbon เพื่อพัฒนาสู่การทำคาร์บอนเครดิต ซึ่ง Spiro Carbon เป็นองค์กรที่ดำเนินการเรื่องคาร์บอนเครดิตให้กับ ชาวนาและเกษตรกร มั่นใจในศักยภาพของ Wave BCG ที่จะสามารถเป็นจุดเชื่อมสำคัญระหว่างเกษตรกรกับ Spiro Carbon ในการทำการตลาด Carbon Credits ในไทยด้วยเทคโนโลยีที่มี ซึ่งจะเป็นเจ้าแรกของไทยในการ ทำตลาดคาร์บอนจากการปลูกข้าวให้เป็นจริง และสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชาวนา
นอกจากนี้ Spiro Carbon ยังได้ได้มอบ ไวท์เลเบล (White Label) ให้กับ WAVE BCG ในการขึ้นทะเบียน Carbon Credits จากการปลูกข้าวแบบ Alternative Wetting and Drying (AWD) ซึ่งเป็นการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 50% ถือเป็นความร่วมมือที่ผลักดันให้เกิดแนวทางการเกษตรแบบใหม่ ที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
"WAVE BCG ได้มีการพัฒนาโครงการต้นแบบการปลูกข้าวจำนวน 20 ไร่ ที่จังหวัด ปทุมธานี และมีแผนที่จะขยายถึง 200,000 ไร่ ภายในปีหน้าที่จังหวัดสุโขทัย โดย Spiro Carbon เป็นส่วนช่วยในด้าน MRV หรือ การรายงานผล ในการช่วยเหลือการเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าว เพื่อผลักดันไปสู่อุตสาหกรรมคาร์บอนเป็นศูนย์" นายเจมส์ กล่าว
นายเจมส์ กล่าวอีกว่า ในการร่วมมือในครั้งนี้นอกจากจะเป็นแนวทางที่สำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางคาร์บอนของประเทศไทยที่ตั้งเป้าในปี 2050 และเป็น Net Zero ในปี 2065 ยังช่วยสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกรกว่า 30 ล้านคน ที่สามารถขาย Carbon Credits ได้ถึง 300 บาทต่อไร่ จากการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ซึ่งเป็นการสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับเกษตรได้อย่างยั่งยืน และเป็นก้าวสำคัญต่อภาคเกษตรกรรมไทยในการก้าวสู่การปล่อยคาร์บอนต่ำ และเป็นศูนย์ในที่สุด
การให้ความสำคัญลดการปล่อยปล่อยก๊าซคาร์บอน ในภาคการเกษตรของประเทศไทย เพราะไทยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ของโลก มีเกษตรกรกว่า 30 ล้านคน การผลิตข้าวเป็นส่วนสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ตามข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรของสหประชาชาติ (FAO) ในปี 2016 ภาคการผลิตข้าวของประเทศไทย ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวน 54.3 ล้านตัน CO2 หรือเทียบเท่ากับการปล่อยออกมาจากรถยนต์ประมาณ 11 ล้านคัน