ข่าว

100 ปีกฎหมายชั่งตวงวัด 2466-2566 รักษาความเป็นธรรมทางการค้า

100 ปีกฎหมายชั่งตวงวัด 2466-2566 รักษาความเป็นธรรมทางการค้า

26 มี.ค. 2566

ในปีนี้ (2566) กฎหมายมาตรชั่งตวงวัดไทย มีอายุครบ 100 ปีหรือ 1 ศตวรรษพอดิบพอดี หากย้อนไปสมัยรัชกาลที่6 ที่ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ.2466” ขึ้นมาเป็นครั้งแรก

กฎหมายมาตรชั่งตวงวัดไทย ถือว่าเป็นกฎหมายแม่บทฉบับแรกที่มีการบังคับใช้ ซึ่งเป็นไปตามพระราชปรารถรัชกาลที่ 5 หลังสยามประเทศได้มีการค้าขายกับต่างประเทศ โดยสินค้าสำคัญขณะนั้น คือ ข้าวจำเป็นต้องตวงซื้อตวงขาย ต่อมาในปี 2445 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เพิ่มมาตราการชั่งและวัดเข้าไปด้วย

100 ปีกฎหมายชั่งตวงวัด 2466-2566 รักษาความเป็นธรรมทางการค้า

ในยุคปัจจุบันในปี 2538  ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายชั่งตวงวัด (International Organization of Legal Metrology, OIML) และในปี 2542 ในหลวงรัชกาลที่9 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ. ศ.2542” ขึ้นและมีผลบังคับใช้ในทันที ก่อนจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2557

“งานชั่งตวงวัดนั้น มีความสำคัญมากเนื่องจากว่าเดิมเราใช้มาตรชั่งตวงวัดที่หลากหลาย แค่หน่วยวัดระยะทางก็ต่างกันแล้ว ไทยเองใช้หน่วยเป็นคืบ ศอก และวา ส่วนทางตะวันตกก็ใช้เซ็นติเมตร เมตร และกิโลเมตร จีนก็มีหน่วยเป็นลี่ จึงยังไม่เป็นเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อความสะดวกและยุติธรรมในการค้าขาย จึงเป็นที่มาของพ.ร.บ.มาตราชั่งตวงวัดฯ และใช้มาจนถึงทุกวันนี้”

100 ปีกฎหมายชั่งตวงวัด 2466-2566 รักษาความเป็นธรรมทางการค้า

ร้อยตรีจักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะกำกับดูแลสำนักชั่งตวงวัด ย้อนที่มาของกฎหมายมาตรชั่งตวงวัดไทย ก่อนมีการกำหนดให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในระดับสากลและมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน โดยบทบาทงานชั่งตวงวัดของกรมการค้าภายในนั้น เป็นการให้ความเป็นธรรมกับคน 3 กลุ่มใหญ่

โดยกลุ่มแรก คือ ประชาชนผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าไม่ว่าอาหารสด อาหารแห้งหรืออื่นๆ โดยใช้เครื่องชั่งเครื่องตวงและเครื้องวัดต่างๆ อีกกลุ่ม คือ เกษตรกรที่ขายผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งต้องมีการชั่งน้ำหนักและตรวจวัดขนาดหรือคุณภาพของสินค้า ดังนั้นเครื่องชั่งตวงวัดต้องมีความเที่ยงตรงเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด กลุ่มสุดท้าย คือ พ่อค้าแม่ค้าและผู้ประกอบการ ก็จะต้องได้รับความเป็นธรรมในการซื้อขายสินค้าในเรื่องของขนาด น้ำหนัก และคุณภาพเช่นกัน

100 ปีกฎหมายชั่งตวงวัด 2466-2566 รักษาความเป็นธรรมทางการค้า

จึงเป็นภารกิจสำคัญของสำนักงานกลางชั่งตวงวัด และสำนักงานสาขาชั่งตวงวัด 32 แห่งทั่วประเทศ ในสังกัดกรมการค้าภายใน ในการเข้าไปตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องชั่งเครื่องตวงและเครื่องวัดเพื่อรักษาความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่าย

 

“ทุกวันนี้กรมการค้าภายในมีภารกิจในการตรวจสอบและให้คำรับรองเครื่องชั่ง เครื่องตวง เครื่องวัดที่หลากหลายมาก แค่เฉพาะเครื่องชั่งก็มีหลายประเภทแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องชั่งสปริง เครื่องชั่งดิจิตอล เครื่องชั่งขนาดเล็ก เช่น เครื่องขั่งที่ร้านทอง เครื่องชั่งขนาดใหญ่ เช่น เครื่องชั่งรถยนต์ โดยกฎหมายกำหนดไว้ว่าเครื่องชั่งตวงวัดจะต้องผ่านการตรวจสอบให้คำรับรองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่

100 ปีกฎหมายชั่งตวงวัด 2466-2566 รักษาความเป็นธรรมทางการค้า

การตรวจรับรองแต่ละครั้งมีอายุ 2 ปีตาม พ.ร.บ.มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ.2542 มาตรา 25 ยกเว้นเครื่องชั่งบางประเภท และหากมีการนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้า ไม่ว่าเครื่องชั่งประเภทใดก็ตามต้องได้รับการตรวจสอบให้คำรับรองทั้งหมด” รองอธิบดีกรมการค้าภายในระบุ

 

ด้วยภารกิจที่มากขึ้นและหลากหลายขึ้น ขณะข้าราชการและลูกจ้างกองชั่งตวงวัดมีเพียงแค่หลักกรมฯ จึงจำเป็นต้องมีการสร้างเครือข่ายกับภาคประชาชนและผู้ประกอบการตลาดต่างๆ โดยขออาสาสมัครและจัดฝึกอบรม “สายตรวจอาสา DIT” เพื่อทำหน้าที่ผู้ช่วยพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบเครื่องชั่ง ตรวจสอบการปิดป้ายแสดงราคาสินค้า และสำรวจราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพของประชาชนด้วย

100 ปีกฎหมายชั่งตวงวัด 2466-2566 รักษาความเป็นธรรมทางการค้า

ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายในโดยสายตรวจอาสา DIT มีบทบาทในการช่วยตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องชั่งของพ่อค้าแม่ค้าในตลาด ซึ่งช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าผู้บริโภคที่มาจับจ่ายใช้สอยในตลาดนั้นๆ ร้อยตรีจักรากล่าว 

 

นอกจากการสร้างเครือข่ายสายตรวจอาสา DIT แล้ว กรมฯ อยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ ภายใต้กฎหมายมาตราชั่งตวงวัด เพื่อให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปยิ่งขึ้น

 

โดยในเชิงลึกจะเป็นการปรับปรุงระบบงานชั่งตวงวัดเดิมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และในเชิงกว้างจะเป็นการขยายขอบเขตงานให้ครอบคลุมและสามารถรักษาความเป็นธรรมได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นอีกก้าวหนึ่งที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เตรียมพร้อมที่จะเข้าสู่ศตวรรตที่สองของกฎหมายชั่งตวงวัดไทย