ชีวิตดีสังคมดี

ชุบชีวิตใหม่ 'รถไฟญี่ปุ่นให้ไทย' สู่ดราม่าไม่รู้จบ

ชุบชีวิตใหม่ 'รถไฟญี่ปุ่นให้ไทย' สู่ดราม่าไม่รู้จบ

02 ส.ค. 2566

ดราม่า "รถไฟญี่ปุ่นให้ไทย" ไม่จบ จากแปลงโฉมเหมือนใหม่ สู่วิ่งบนกองขยะ วันนี้ "คมชัดลึก" พาไปย้อนจุดเริ่มตั้งแต่ "รถไฟญี่ปุ่นให้ไทย" ล็อตแรกๆ ซึ่งคิฮะ 183 ไม่ใช่ขบวนแรกที่มีดราม่า และทำไมญี่ปุ่นให้ไทยแบบฟรีๆ ติดตามได้จากรายงาน

KIHA 183 (คิฮะ 183) "รถไฟญี่ปุ่นให้ไทย" กำลังวิ่งผ่านเศษขยะเกลื่อนกลาดบริเวณชุมชนรถไฟพญาไท กรุงเทพมหานคร และถูกชาวญี่ปุ่นบันทึกภาพนำไปเผยแพร่ทางโลกออนไลน์ ข้อความภาษาญี่ปุ่นใจความว่า "ในเขตพญาไท ทราบว่า เพิ่งรื้อออกไปได้ไม่นาน แต่จะปล่อยให้เป็นเช่นนี้อีกนานแค่ไหน? มีแก้วแตก เศษหินและเศษอาหารอยู่รอบๆ และควรเอาออกให้เร็วที่สุดจะดีกว่า ผมอยากจะขอให้รัฐบาลไทย กรุงเทพมหานคร และการรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการ" จนกลายเป็นไวรัส

 

 

ข้อความที่ชาวญี่ปุ่นโพสต์

 

ไม่ทันข้ามวัน "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นำทีมลงพื้นที่ไปเก็บขยะ และชี้แจงว่า "มันคือ ขยะจากการรื้อถอนชุมชนรถไฟ" 

 

 

 

ชุมชนรถไฟเขตพญาไท

 

 

 

 

หลังจากเก็บขยะที่ชุมชนรถไฟเขตพญาไท

 

 

 

"รถไฟญี่ปุ่นให้ไทย" แบบฟรีๆ เพราะถึงเวลาปลดระวาง คิฮะ 183 ประจำการครั้งแรกในปี 1980 หรือ 43 ปีมาแล้ว ญี่ปุ่นจึงบริจาคให้ไทยในสมัยรัฐบาล "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา"

 

 

 

คิฮะ 183 ก่อนบริจาคให้ไทย

 

 

 

 

คิฮะ 183 ตอนอยู่ที่ญี่ปุ่นก่อนปลดระวาง

 

 

 

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) รับผิดชอบสำรวจตัวถัง เครื่องยนต์ ระบบขับเคลื่อนและตู้โดยสาร ซึ่งพบว่า อยู่ในสภาพดี ไทยจึงทำการขนย้ายจำนวน 17 คัน ใช้งบขนย้ายราว 42.5 ล้านบาท ทั้งหมดถูกเคลื่อนย้ายมาตั้งแต่ปลายปี 2564 หลังจากมาถึงไทย รฟท.ได้ปรับปรุงแปลงโฉมทำเป็นรถไฟท่องเที่ยวในหลายๆ เมือง แต่ไม่เกิน 300 กิโลเมตร

 

 

 

สภาพก่อนปลดระวาง

 

 

 

ตอน "รถไฟญี่ปุ่นให้ไทย" มาถึงไทยใหม่ๆ เกิดคำถามจากสังคมมากมาย ทั้งรถไฟมือสองจากญี่ปุ่นเก่าเป็นเศษเหล็กแล้วจะวิ่งให้บริการได้หรือไม่ วิ่งในไทยได้ด้วยเหรอ จะคุ้มค่ากับค่าขนส่ง ค่าซ่อมปรับปรุงหรือไม่ 

 

 

 

รายงานว่า ค่าปรับปรุงแปลงโฉมทำคันละ 16 ล้านบาท รวม 17 คัน เป็นเงินจำนวน 272,000,000 บาท เวลาผ่านไปไม่ถึงปี ปรากฏภาพ "รถไฟญี่ปุ่นให้ไทย" แปลงโฉมเสร็จสมบูรณ์ "รถไฟญี่ปุ่นให้ไทย" ก็กลายสภาพเหมือนใหม่สวยงามขึ้น สามารถใช้งานได้อย่างน้อยอีก 50 ปี และ รฟท.ยืนยันว่า ใช้งบจ่ายประมาณไม่เกิน 5 แสนบาทต่อคัน รวมเป็นเงิน 51 ล้านบาท  

 

 

 

คิฮะ 183 หลังไทยแปลงโฉม

 

 

 

ทดลองวิ่งในทางรถไฟไทยได้อย่างราบรื่น คำถามจากสังคมก็ค่อยๆ เงียบหายไป ขณะเดียวกันก็มีมุมมองที่สะท้อนถึงความคุ้มค่าออกมาทดแทนเสียงวิจารณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยลดภาระงบประมาณจัดซื้อรถไฟใหม่ของรัฐบาลได้กว่า 1,000 ล้านบาท

 

 

 

คิฮะหลังแปลงโฉม

 

 

 

มีการประมาณการออกมาว่า รถไฟที่มีคุณสมบัติหรือลักษณะเดียวกับ "รถไฟญี่ปุ่นให้ไทย" " รถใหม่จะมีราคาตกอยู่คันละ 80 ล้านบาท หากรัฐบาลจัดซื้อ 17 คัน จะใช้งบประมาณถึง 1,360 ล้านบาท เมื่อนำมาเทียบกับรถไฟ คิฮะ 183 ที่ไทยได้มาจากญี่ปุ่นแบบให้เปล่า 

 

 

 

ราวกลางปี 2565 "รถไฟญี่ปุ่นให้ไทย" 4 คันแรกแปลงโฉมเสร็จสมบูรณ์ได้ทดลองวิ่งจากชุมทางมักกะสันไปยัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ทุกอย่างเป็นไปด้วยความราบรื่น สภาพภายนอกเหมือนใหม่ ภายในเบาะนั่งผ่านการซักจนสะอาด ห้องน้ำ ระบบเครื่องปรับอากาศใช้งานได้ดี 

 

 

 

คิฮะ183 ทดลองวิ่ง

 

 

 

"ผศ.ดร.ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์" ในขณะดำรงณ์ตำแหน่งรองผู้ว่าฯ รฟท. กลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวเมื่อ 18 ส.ค. 2565 ทำนอง "เหมือนได้รถใหม่ เร็วกว่าซื้อใหม่ ทำออกมาค่าใช้จ่ายไม่เกิน 5 แสนบาทต่อคัน โดยฝีมือช่างและวิศวกรรถไฟไทย"

 

 

 

ผศ.ดร.ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ ในขณะดำรงณ์ตำแหน่งรองผู้ว่าฯ รฟท.

 

 

 

6 ก.ย. 2565 รฟท.ได้นำ "รถไฟญี่ปุ่นให้ไทย" ชุดแรก 4 คัน ออกมาวิ่งทดลองอีกครั้งในเส้นทางสถานีมักกะสัน – ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพฯ ผลปรากฏว่า เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถใช้ความเร็วสูงสุดได้ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้หลังจากนี้ทาง รฟท.เร่งปรับปรุงรถไฟส่วนที่เหลือ 

 

 

 

รฟท.ปรับโฉมคิฮะ183

 

 

 

ปัจจุบัน กำลังแปลงโฉม "รถไฟญี่ปุ่นให้ไทย" ชุดที่ 2 อีกจำนวน 3 คัน หากชุดที่ 2 แล้วเสร็จก็จะรวมเป็น 7 คันที่แปลงโฉมแล้วเสร็จ 

 

 

 

 

คิฮะ 183 ไม่ใช่ครั้งแรก "รถไฟญี่ปุ่นให้ไทย" รถไฟฟรีมือสองจากญี่ปุ่นเหตุที่บริษัท JR HOKKAIDO ของญี่ปุ่น ส่งต่อรถไฟคิฮะ 183 ให้ไทยแบบให้เปล่า เพราะรถไฟทั้ง 17 คันถูกปลดระวาง มีรถไฟรุ่นใหม่เข้ามาทดแทน แต่การให้เปล่ารถไฟจากญี่ปุ่นไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อปี 2541 หรือ 24 ปีที่ผ่านมา บริษัท JR-WEST ได้มอบรถไฟโดยสารปรับอากาศ 54 คัน ให้แก่ รฟท. มาแล้ว ซึ่ง รฟท.ได้นำมาปรับปรุงและดัดแปลงเป็นรถโดยสาร และรถจัดเฉพาะ เช่น รถ SRT Prestige รถไฟระดับเฟิร์สคลาส รถประชุมปรับอากาศ เป็นต้น วิ่งให้บริการมาจนถึงทุกวันนี้ แต่ก็มีบางคันที่ไม่ได้ใช้งาน

 

 

 

รถไฟที่ญี่ปุ่นบริจาคให้ไทย