ข่าว

ทางรอด 'เศรษฐกิจ' ไทยพลิกปัญหาสงคราม ความขัดแย้ง ภัยแล้ง ให้เป็นโอกาส

ทางรอด 'เศรษฐกิจ' ไทยพลิกปัญหาสงคราม ความขัดแย้ง ภัยแล้ง ให้เป็นโอกาส

07 ส.ค. 2566

ทางรอด 'เศรษฐกิจ'ไทยพลิกวิกฤตสงคราม ขัดแย้ง ภัยแล้ง ให้เป็นโอกาส อัปตัวเองเป็นฐานการปผลิตและส่งออก ชิงมูลค่าตลาดในช่วงที่ประเทศมหาอำนาจไม่ลงรอยกัน

ท่ามกลางภาวะ "เศรษฐกิจ" ถดถอย ความขัดแย้งทางสงคราม และความขัดแย้งของประเทศมหาอำนาจ ที่ส่งผลให้การผลิต การส่งออกซบเซาอย่างเลี่ยงไม่ได้ สำหรับประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้เช่นกัน แต่ในวิกฤติย่อมมีโอกาสซ่อนอยู่ หากเราสามารถปรับตัวได้ทันเวลา และเตรียมความพร้อมรับมือ และหาช่องว่างในวิกฤตเช่นนี้ ล่าสุด  The Nation Thailand จัดการเสวนา   "Thailand Economic: Resilience and Opportunities" เพื่อมองวิกฤตให้เป็นโอกาสการผลิกฟื้น "เศรษฐกิจ" และการมองหาโอกาสในการทำธุรกิจต่อไป

โดย นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ภาวะสงครามความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ปัญหาภัยแล้ง ปรากฏการณ์เอลนีโญ การกีดกันทางการค้าสมัยใหม่กลายเป็นความท้าทาย และส่งผลกระทบทำให้ระบบเศรษฐกิจถดถอยอย่างมาก รวมทั้งมีผลกระทบต่อระบบ "เศรษฐกิจ" ของประเทศไทย แต่อีกด้านก็กลายเป็นโอกาสของภาคธุรกิจได้เช่นกัน ไม่ว่าความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นตลอดช่วงระยเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาออกกฎหมายทางการค้าหลายฉบับ ส่งผลต่ออุตสาหกรรมเซมิคอนดักส์เตอร์ โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศจีนที่สามารถทำได้น้อยลง ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นการเพิ่มโอกาสให้แก่ประเทศไทยมากยิ่งขึ้น

 

ทางรอด \'เศรษฐกิจ\' ไทยพลิกปัญหาสงคราม ความขัดแย้ง ภัยแล้ง ให้เป็นโอกาส

นอกจากนี้สหรัฐอเมริกายังมีการออกกฎหมายหลายฉบับที่ส่งเสริมการผลิตเซมิคอนภายในประเทศ  การควบคุมสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงส่งออกไปยังประเทศจีน การส่งเสริมอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ และสร้างความแข็มแข็งห่วงโซ่การผลิตระหว่างพันธมิตรอินโด-แปซิฟิก สิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะใช้ความร่วมมือ IPEF เป็นการสร้างโอกาสในการทำการค้ากับสหรัฐอเมริกา สร้างความมั่นใจด้านห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะในสิ้นค้าจำเป็น

 

 

ส่วนประเทศมหาอำนาจอีกซีกโลกหนึ่งนั้นก็คือ จีน ได้ให้ความสำคัญด้านการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง และดึงทรัพยากรณ์สำคัญกลับประเทศ โดยจีนมีนโยบายที่ DUO Cerculation เพื่อสร้างความเข้มแข็งลดการนำเข้าจากต่างประเทศ มาตรการส่งผลให้ประเทศที่ส่งสินค้าไปจีนปรับตัวเช่นกัน  นอกจากนี้จีนยังมีการปรับอัตราการส่งออกสินค้าที่เป็นส่วนสำคัญในการผลิตโซลาร์เซล ชิ้นส่วนสำคัญในการผลิตชิ้นส่วนอวกาศ  มาตรการเหล่านี้เป็นไปเพื่อขับเคลื่อน Made In China 2025 ของจีน ที่ต้องการเป็นผู้นำด้านเซมิคอนดักส์เตอร์ เพื่อรองรับความต้องการใช้งานภายในประเทศ

 

 

นางอรมน  นอกจากนี้การปรับตัวด้านความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยัง เป็นความท้าทายอีกหนึ่งประการของประเทศไทย โดยที่ผ่านมา EU มีการปรับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีการตั้งเป้าว่าจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 55% ภายในปี 2573 และลดดารปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ภายในปี 2593 โดยมีการออกกฎหมายจำนวนกว่า 13 ฉบับ โดยเฉพาะมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนครอบคลุม 6 กลุ่มสินค้า ได้แก่ ซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็ก อะลูมิเนียม และไฮโดรเจน โดยเริ่มใช้มาตรการดังกล่าวในปี 2566 ซึ่ง 3 ปีแรกระหว่าง 1 ตุลาคม 2566- 31 ธันวาคม 2568 เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่จะต้องแจ้งข้อมูลและต้องซื้อใบรับรอง CBEM ก่อน รวมไปถึงระเบียบและมาตรการว่าด้วยสินค้าปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของ EU ซึ่งครอบคลุม 7 สินค้า  ได้แก่ โกโก้ กาแฟ น้ำมันปาล์ม ยางพารา ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์ไม้ทั้งหมด มาตรการดังกล่าวจะมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดในปี 2568

 

 

ความเสี่ยงด้าน ปรากฎการณ์เอลนีโญ ภัยแล้ง ซึ่งกระทบความมั่นคงทางด้านอาหาร ซึ่งเป็นผลทำให้กลายประเทศเริ่มจำกัดการส่งออกพืชผลทางการเกษตร  เช่น อินเดียห้ามส่งออกข้าว ส่งผลให้ไทยเองอาจจะใช้เรื่องความมั่นคงเป็นโอกาสที่จะขับเคลื่อนจะส่งออกอาหารไปยังประเทศที่มีความต้องการทางอาหารได้ เพื่อทดแทนแหล่งซื้อเดิม ช่วยให้ไทยๆได้ประโยชน์ราคาสินค้าเกษตร อาหารและอาหารแปรรูปที่มีราคาสูงขึ้น และ FTA ฉบับใหม่ๆ จะทำให้ไทยมีโอกาสในเวทีการค้าโลกมากยิ่งขึ้น

 

 

ด้าน Mr. Fabrizio Zarcone ผู้จัดการธนาคารโลกแห่งประเทศไทย (Country Manager for Thailand, World Bank) กล่าวว่า สำหรับการฟื้นตัวของประเทศไทยและความท้าทายในอนาคต รวมทั้งโอกาสในการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ ทที่ผ่านมาประเทศไทยมีโอกาสอย่างมากและมีประสิทธิภาพในการพัฒนาตัวเองค่อนข้างมาก รัฐบาลมีการเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแแปลงด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็การขับเคลื่อนความเท่าเทียมของคนในประเทศนับว่าเป็นความท้าทายของประเทศ สังคมผู้สูงอายุมีผลต่อมุมมองทางเศรษฐกิจ โดยเราพบว่าประเทศไทยมีความไม่เท่าเทียมทางด้านรายได้สูงถึง  43.3%  และภายในปี 2040 ประเมินว่าจะมีคนไทยกว่า 17 ล้านคนที่จะมีอายุ 65 ปี ขึ้นไปมากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนประชากร ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมไทยจะต้องมุ่งเน้นนโยบายให้เหมาะสมกับสภาพสังคม

 

 

ทางรอด \'เศรษฐกิจ\' ไทยพลิกปัญหาสงคราม ความขัดแย้ง ภัยแล้ง ให้เป็นโอกาส

 

ประเทศไทยมีศักยภาพในด้านลงทุนในทรัพยากรมนุษย์และโครงสร้างพื้นฐาน เพราะตลาด 7 ปีที่ผ่านมาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่าง ส่งผลให้มีกรอบการคลังที่มั่นคงอย่างยั่งยืน ทำให้มีงบประมาณจำนวนมากในการดูแลการระบาดของโควิด-19 มากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน

 

นอกจากนี้ยังมีงบประมาณมากพอในการบริหารจัดการสำหรับเป็นกันชนในภาคการเงิน โดยงบประมาณเหล่านี้จะทำให้รัฐบาลสามารถลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการเติบโตในระยะสั้นและระยะกลาง รวมไปยังการเพิ่มประสิทธิภาพในพื้นที่เศรษฐกิจ และการเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจในแนวตะวันออกและตะวันตกของภูมิภาค  การเชื่อมต่อไปยังอาเซียน 

 

รวมไปถึงการมีศักยภาพในการสร้างกระบวนการคุ้มครองทางสังคมที่มั่นคง ป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และยังสามารถดูแลประชากรด้านสูงวัยได้เป็นอย่างดี  ความหลากหลายทางด้านประชากรส่งผลให้ไทยมีบริษัทที่เข้ามาลงทุนด้านนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น ดังนั้นประเทศไทยจึงมีโอกาสทางเศรษฐกิจคอนข้างสูง

 

 

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีคลื่นการลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในในประเทศไทย ดังนั้นไทยจะต้องทำตัวเองให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มีนโยบายอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

 

ด้านภาวะการลงทุนข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า มีความต้องการลงทุนที่เติบโตค่อนข้างมาก มีการลงทุนด้านอุตสาหกรรม เพราะต้องหาแหล่งลงทุนใหม่ที่ไม่ใช่ประเทศคู่ขัดแย้ง ทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเซมิคอลดักส์เตอร์  กลุ่มอุตสาหกรรม PCB  มีการย้ายฐานเข้ามาไทยจำนวนมาก ได้แก่  กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์  กลุ่มเกษตรและอาหาร มีผู้ผลิตรายใหม่ย้ายฐานเข้ามาตั้งที่ประเทศไทย  กลุ่มยานยนต์  โดยเฉพาะรถไฟฟ้าที่เติบโตจำนวนมาก สถานีชาร์จ ครึ่งปีหลังจะมีอีก 2 รายใหญ่ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่าเราสามารถดึงดูดการลงทุนใหม่ๆ ได้มากยิ่งขึ้น

 

 

การลงทุนจากต่างประเทศเติบโตมากขึ้นมีทั้งประเทศจีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ส่วนใหญ่ด้านชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นการขยายการลงทุนให้เพิ่มมากขึ้น โดยปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนในประเทศไทยนั้นเกิดมาจาก ความขัดแย้งของขั้วมหาอำนาจ สงครามการค้า สงครามเทคโนโลยี ทำให้หลายๆ ประเทศเริ่มมองหาประเทศไที่ปลอดความขัดแย้ง

 

 

จุดแข็งของประเทศไทย ไทยคือคำตอบของนักลงทุน สามารถตอ[สนองเทรนด์การลงทุนของโลก และนักลงทุน โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานที่ดีที่สุดในภูมิภาคอาเซียน  มี ECOSYSTEM ที่ดี  มีระบบซับพลายเชนที่ครบวงจร และสมบูรณ์ รวมไปถึงการสนับสนุนจากรัฐบาล  อีกทั้งไทยมีความปลอดภัย มั่นคง มีความเสี่ยงต่ำ ไม่มีความขัดแย้ง มีความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติน้อยมาก มีความสามารถในการตอบสนองกับวิกฤตที่เกิดขึ้น จุดแข็งทั้งหมดทำให้ไทยมีโอกาสในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น