ข่าว

'กรมวิชาการเกษตร' จัดใหญ่ เวทีเสวนา 'นิทรรศการ 5 ทศวรรษ ฝ่าวิกฤติเอลนีโญ'

'กรมวิชาการเกษตร' จัดใหญ่ เวทีเสวนา 'นิทรรศการ 5 ทศวรรษ ฝ่าวิกฤติเอลนีโญ'

19 ส.ค. 2566

เริ่มแล้ว "กรมวิชาการเกษตร" จัดใหญ่ "นิทรรศการ 5 ทศวรรษ" พร้อมเปิดเวทีเสวนาฝ่าวิกฤติเอลนีโญ ระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2566 ที่ เฮลิกซ์ การ์เด้น ชั้น 5 ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ถ.สุขุมวิท กรุงเทพฯ

กรมวิชาการเกษตร จัดงานใหญ่ “นิทรรศการ  5 ทศวรรษแห่งการพัฒนาวิชาการเกษตรไทย และการก้าวไปในทศวรรษที่ 6"  เชิญ "รมช.เกษตร มนัญญา ไทยเศรษฐ์" เปิดงาน พร้อมพร้อมเปิดเวทีเสวนาฝ่าวิกฤติเอลนีโญ่-ทิศทางการนำเข้า ปุ๋ย เคมีเกษตร และปัจจัยผลิตทางการเกษตรไทย และ การส่งออกผักผลไม้ไทย “แสนล้าน” สู่ตลาดโลก "

 

กรมวิชาการเกษตร จัดงาน “นิทรรศการ  5 ทศวรรษแห่งการพัฒนาวิชาการเกษตรไทย และการก้าวไปในทศวรรษที่ 6" ระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2566 ที่ เฮลิกซ์ การ์เด้น ชั้น 5 ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ถ.สุขุมวิท กรุงเทพฯ  โดยในวันที่ 19 สิงหาคม 2566 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน

 

 

นางสาวมนัญญาไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

นางสาวมนัญญาไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้สัมภาษณ์ ถึงนโยบายที่จะทำในศตวรรษที่ 6 ของกรมวิชาการเกษตรว่า การสื่อสารให้ประชาชน และเกษตรกร ให้เข้าใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยเฉพาะเรื่องของเทคโนโลยีต่าง ๆ กรมวิชาการเกษตรจะต้องสื่อสาร และทำความเข้าใจให้กับเกษตรกร เพราะเทคโนโลยีต่างๆเริ่มเข้ามา การใช้แรงงานก็จะลดน้อยลง จะต้องพยายามสอนประชาชนให้ใช้ให้ถูกทาง รวมถึงการใช้ปุ๋ย หรือสารเคมี เมื่อใช้ถูกทางแล้วก็จะทำให้ก้าวต่อไปเกิดความมั่นคง 

 

ส่วนเรื่องสนับสนุนการส่งออก นางสาวมนัญญา ได้เน้นย้ำเรื่องความซื่อสัตย์เป็นเรื่องสำคัญ พร้อมยกตัวอย่างผลไม้ไทยคือทุเรียนที่ในช่วงเวลาโควิดก็สามารถส่งออกได้ ผ่านวิกฤตมาได้ด้วยความเข้มแข็ง และลง พื้นที่ตรวจสอบล้งทุเรียนจนสามารถสร้างความมั่นใจให้กับประเทศจีนได้ จึงอยากให้นำเหตุการณ์นี้มาเป็นบทเรียน เพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น และใช้เป็นตัวอย่างศึกษา สินค้าเกษตรไทยจะต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในประเทศก่อน เมื่อคนในประเทศยอมรับการส่งออกก็ไม่ใช่เรื่องยาก

 

 

ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร

 

ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การจัดนิทรรศการวันนี้ เพื่อถ่ายทอดความเป็นมา ของกรมวิชาการเกษตร ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา และในวันนี้มาขยายผลต่อยอด ในเรื่องของการนำการวิจัยด้านการเกษตรสู่การตลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญและให้นโยบายอย่างต่อเนื่องในเรื่องของการใช้งานวิจัยด้านการเกษตรที่มีเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพนำไปสู่ความปลอดภัยความมั่นคงทางอาหาร ดังนั้นในการจัดงานวันนี้ก็จะมีนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติกรมวิชาการเกษตร นิทรรศการโชว์ผลงานวิจัยที่โดดเด่นกว่า 50 ผลงาน 

 

นิทรรศการ  5 ทศวรรษแห่งการพัฒนาวิชาการเกษตรไทย และการก้าวไปในทศวรรษที่ 6

 

สำหรับงาน “นิทรรศการ  5 ทศวรรษแห่งการพัฒนาวิชาการเกษตรไทย และการก้าวไปในทศวรรษที่ 6" ระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2566 กรมวิชาการเกษตรได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านต่าง ๆ จำนวน 16 ท่าน ร่วมเสวนาใน 3 หัวข้อหลัก  ได้แก่ วันที่ 19 ส.ค. เวทีเสวนาหัวข้อ ""ความมั่นคงทางอาหารภายใต้ปรากฏการณ์เอลนีโญ และโอกาสการค้าในตลาดคาร์บอนเครดิตในการผลิตพืชผลของไทย" ที่มีผู้ร่วมเสวนาที่น่าสนใจ ได้แก่ นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยาอดีต รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย นักวิชาการอิสระ นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และนายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด ร่วมเสวนา 

 

นิทรรศการ  5 ทศวรรษแห่งการพัฒนาวิชาการเกษตรไทย และการก้าวไปในทศวรรษที่ 6


ทั้งนี้อีก 2 เวทีในการเสวนาในวันอาทิตย์ที่ 20 ส.ค. 66 ได้แก่ เสวนาหัวข้อ "ทิศทางการนำเข้า ปุ๋ย เคมีเกษตร และปัจจัยการผลิตทางการเกษตรไทย"  เวลา 14.30 น. และ เสวนาหัวข้อ  "การส่งออกผักผลไม้ไทย “แสนล้าน” สู่ตลาดโลก : เงื่อนไข กฎระเบียบ และแนวโน้มการส่งออก" เวลา 16.00 น.
 

ขอเชิญชวนประชาชนและผู้สนใจเข้าร่วมชมงาน “นิทรรศการ  5 ทศวรรษแห่งการพัฒนาวิชาการเกษตรไทย และการก้าวไปในทศวรรษที่ 6" ระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2566 พร้อมมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกมากมายที่เฮลิกซ์ การ์เด้น ชั้น 5 ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ถ.สุขุมวิท กรุงเทพฯ  ตั้งแต่เวลา 10.30 – 17.30 น.