'ส.ป.ก.' ชูธงพัฒนาอาชีพเสริมนอกภาคการเกษตร เขตปฏิรูปที่ดินภาคกลาง
เลขาธิการ ส.ป.ก. มอบหมาย รองเลขาธิการ ประธานสัมมนา "แนวทางการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมนอกภาคการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินภาคกลาง" จัดที่อยุธยา ระดมผู้เกี่ยวข้อง 21 จังหวัดภาคกลาง เข้าร่วม ถก ปัญหา อุปสรรค พร้อมข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมนอกภาคการเกษตร อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) มอบหมายให้ นายเอกพงศ์ น้อยสร้าง รองเลขาธิการ ส.ป.ก. เป็นประธาน ในงานสัมมนาเรื่อง "แนวทางการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมนอกภาคการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินภาคกลาง" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 9 ก.ย. การสัมมนาครั้งนี้มุ่งหวังให้มีการระดมความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำแนวคิดการกำหนดประเภทอาชีพเสริมนอกภาคการเกษตร ไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป
สำหรับ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมการสัมมนาฯ ประกอบด้วย ผู้บริหาร , ปฏิรูปที่ดินจังหวัด , เจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. ส่วนกลาง และ ส.ป.ก. จังหวัดภาคกลาง 21 จังหวัด รวมผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน ในการนี้ รองเลขาธิการ ส.ป.ก. ได้มอบนโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมนอกภาคการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน อีกทั้งมีการอภิปรายแนวทางการดำเนินงาน ปัญหา และอุปสรรค พร้อมข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานสามารถตอบเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ของ ส.ป.ก. ให้มีการยกระดับรายได้ของเกษตรกร
เอกพงศ์ น้อยสร้าง รองเลขาธิการ ส.ป.ก. ประธาน ในงานสัมมนาเรื่อง "แนวทางการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมนอกภาคการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินภาคกลาง" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 9 ก.ย. ที่พระนครศรีอยุธยา
.
นายเอกพงศ์ น้อยสร้าง รองเลขาธิการ ส.ป.ก. กล่าวว่า การสัมนาครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยน และถอดบทเรียน แนวทางการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมอาชีพเสริมนอกภาคเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินภาคกลาง และรับทราบแนวทางการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมอาชีพเสริมนอกภาคเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมศิลปาชีพ ได้กำหนดหลักสูตรอบรมเกษตรกร ทายาทเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน รวมถึงบุคคลทั่วไป ทั้งในส่วนของหลักสูตรระยะสั้น และระยะยาว ขณะที่การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง การแบ่งงานใหม่นั้น ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาชีพเสริมนอกภาคการเกษตร ซึ่งเน้นการบริหารจัดการด้านการฝึกอบรม โดยคำนึงถึงหลักสูตรที่จะต้องมีความเหมาะสมต่อความต้องการของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน