ครม. เคาะ 'พักหนี้' เกษตรกร 1 ต.ค. 66 จ่ายดอกให้ แถม 1,000 เช็กเงื่อนไขด่วน
เกษตรกร ได้เฮ ครม. เคาะ 'พักหนี้' 1 ปี 2.7 ล้านราย เริ่ม 1 ต.ค. 2566 จ่ายชดเชยดอกเบี้ยให้ แถมอีก 1,000 เช็กรายละเอียด และเงื่อนไข ได้ที่นี่
นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรื่องการ “พักหนี้ เกษตรกร” ว่า ที่ประชุมมีมติ ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2566 ถึง 30 ก.ย. 2567 จะทำการพักชำระหนี้ทั้งต้นและดอก ให้เกษตรกรประมาณ 2.7 ล้านราย รวมยอดเงิน 283,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะจ่ายชดเชยดอกเบี้ยให้ ประมาณ 4.5% ของวงเงินทั้งหมด คิดเป็นงบประมาณ 11,000 ล้านบาท โดยจะทำปีต่อปี
นอกจากนี้ ยังมีเงินอีก 1,000 ล้านบาท สำหรับเกษตรกร 300,000 ราย ที่จะมาเข้าโครงการในการอัปเดต ยกระดับศักยภาพในการทำการเกษตร การพักหนี้ครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นเกษตรกรรายย่อย ซึ่งถ้าใครมีกำลังสามารถจ่ายได้ รัฐบาลจะมีแรงจูงใจพิเศษให้ (incentive) พูดง่ายๆ คือชำระหนี้ก็ตัดต้นให้หมด แล้วรัฐบาลจ่ายดอกให้ และยังแถมทุกๆ 1,000 บาท มีรางวัลให้ด้วย ใครถูกสลากก็เอาไปตัดยอด เพราะฉะนั้น คนที่มีวินัยการเงินกลางคลังดีมาก พร้อมจะชำระหนี้ก็จะได้ประโยชน์จากโครงการนี้ของรัฐบาล
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มาตรการ “พักหนี้เกษตรกร” ให้กับลูกหนี้รายย่อย ตามนโยบายรัฐบาลระยะที่ 1 รวมถึงการพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ธ.ก.ส. ผู้ที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ดังกล่าว ภายใต้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการพักชำระหนี้เกษตรกรระยะเวลา 3 ปี โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- มาตรการพักหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล โดยเกษตรกรลูกค้ารายย่อย ธ.ก.ส. จำนวน 2.698 ล้านราย ที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้คงเหลือทุกสัญญารวมกัน ณ วันที่ 30 ก.ย. 2566 ไม่เกิน 300,000 บาท และมีสถานะเป็นหนี้ปกติและ/หรือเป็นหนี้ค้างชำระ (หนี้ 0 – 3 เดือน และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPLs)) ได้รับสิทธิในการพักชำระหนี้ระยะแรกดำเนินการ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2566 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 2567 โดยเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ต้องการรับสิทธิ สามารถแสดงความประสงค์เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามความสมัครใจ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2566 ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2567 ทั้งนี้ สำหรับลูกหนี้ที่มีสถานะเป็น NPLs จะสามารถเข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ได้ เมื่อได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของ ธ.ก.ส. แล้ว
- การพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ธ.ก.ส. ผู้ที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ดังกล่าว ภายใต้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” เพื่อเป็นการบรรเทาภาระหนี้สินเกษตรกรอย่างบูรณาการ ธ.ก.ส. ร่วมกับส่วนงานราชการ และหน่วยงานภายนอกดำเนินการอบรมเกษตรกรคู่ขนานไปกับมาตรการพักชำระหนี้ ที่ได้เพิ่มโอกาสให้เกษตรกรในการนำเงินไปลงทุน ปรับเปลี่ยนหรือขยายการประกอบอาชีพ โดยการอบรมอาชีพเกษตรกรจะช่วยฟื้นฟูเกษตรกรให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีศักยภาพ มีความสามารถในการแข่งขัน มุ่งสร้างรายได้ให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต พร้อมทั้งเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมวินัยการเงิน ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะ