ถกซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ คึก แพทองธาร ชูยกทักษะแรงงาน 20 ล้านคน
ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1 โดยมี นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ด้าน " แพทองธาร ชินวัตร" ในฐานะรองประธานฯ เสนอโรดแมป มุ่งสร้างระบบนิเวศให้กับอุตสาหกรรมของประเทศไทย ให้เติบโตก้าวกระโดโดด ผ่านการยกระดับแรงงานให้มีทักษะสูง เป้า 20 ล้านคน
ที่ตึกสันติไมตรี ภายในทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 โดยมี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ร่วมประชุมด้วย การประชุมครั้งนี้เป็นความร่วมมือ ระหว่างส่วนราชการ ภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อพิจารณาและการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์
ทั้งนี้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 230/2566 เมื่อวันที่ 13 ก.ย. ที่ผ่านมา เป็นผลจากการสั่งการของนายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรี นัดแรก โดยมี นายเศรษฐา เป็นประธานกรรมการ, น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เป็นรองประธานกรรมการ และนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ จัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดเป้าหมายการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล บูรณาการ การดำเนินงานของส่วนราชการและภาคเอกชน ให้มีประสิทธิภาพและมีความสอดคล้องกับการพัฒนาศักยภาพของประเทศไทย
ในการประชุม น.ส. แพทองธาร ชินวัตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เสนอแผนยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ มุ่งสร้างระบบนิเวศให้กับอุตสาหกรรมของประเทศไทย ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยแรงงานทักษะสูง อุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ในสาขาต่าง ๆ และการฑูตเชิงวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพของวัฒนธรรมไทย ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนเชื่อว่าจะพัฒนาไปได้ไกล การยกระดับคุณภาพ ยกระดับทักษะของคนไทย 20 ล้านคน ที่เป็นแรงงานในปัจจุบัน ให้เป็นแรงงานที่มีทักษะสูง และเป็นแรงงานสร้างสรรค์ โดยจากการคัดสรร หากสามารถดำเนินนโยบายได้สำเร็จจะมีรายได้เข้าประเทศ 4 ล้านล้านบาท ต่อ ปี ทั้งยังจะเกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เพื่อที่จะให้การดำเนินการของนโยบายนี้บรรลุวัตถุประสงค์ แบ่งวัตถุการทำงานเป็น 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนการพัฒนาคน เฟ้นหาบุคคลเพื่อพัฒนาเป็นแรงแรงฝีมือ พัฒนาแรงงานอุตสาหกรรมซัพพลายเออร์ต่างๆ ในประเทศ 11 สาขา ประกอบด้วย อาหาร กีฬา Festival ท่องเที่ยว ดนตรี หนังสือ ภาพยนตร์ เกม ศิลปะ การออกแบบและแฟชั่น โดยจะมีการปรับแก้ข้อกฎหมายที่มีอยู่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ สนับสนุนเงินทุนวิจัยและพัฒนาสร้างแรงจูงใจทางภาษี พร้อมกับเพิ่มพื้นที่การแสดงผลงาน นอกจากนี้ยังสร้างพื้นฐานชุมชนจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ tcdc ในทุกจังหวัด ให้มี Co working Space ต่อยอดเป็นซอฟต์พาวเวอร์ ที่มั่นคงในระดับภูมิภาค และให้เป็นซอฟต์พาวเวอร์ระดับสากล
เป้าหมายระยะสั้น 100 วันแรก ภายในวันที่ 11 มกราคม 2567 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จะพร้อมให้ประชาชนลงทะเบียน ความสนใจในด้านต่างๆ เปลี่ยนแปลงกฎหมายต่างๆ ในระดับการสูง และพระราชกฤษฎีกา ส่งเสริมสอดคล้องกับนโยบาย รวมไปถึงร่วมจัด Winter Festival ให้กรุงเทพฯครั้งยิ่งใหญ่
ส่วนภายในเวลา 6 เดือน คือ 3 เมษายน 2567 จะเริ่มกระบวนการบ่มเพาะศักยภาพ ทักษะสร้างสรรค์ พร้อมเสนอพระราชบัญญัติ THACCA หรือ Thailand creative Content Agency สู่สภาผู้แทนราษฎรและจัดงานสงกรานต์ทั้งประเทศ ให้เป็นเทศกาลระดับโลกหรือ World Water Festival และ ภายในระยะเวลา 1 ปี คือ 3 ตุลาคม 2561 กระบวนการบ่มเพาะศักยภาพ จะสามารถสร้างแรงงานทักษะสูง และแรงงานสร้างสรรค์ได้ อย่างน้อย 1 ล้านคน โดยคาดหมายว่าพระราชบัญญัติ THACCA จะได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาต่อไป
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 โดยมี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ร่วมประชุมด้วย ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
.
ภาพ NationPhoto โดย สุกฤษฏิ์ สืบสาย
.