ข่าว

DOA-Mushchar ไบโอชาร์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่า ทางเลือกใหม่เกษตรกรไทย ผลิตเห็ดยั่งยืน

DOA-Mushchar ไบโอชาร์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่า ทางเลือกใหม่เกษตรกรไทย ผลิตเห็ดยั่งยืน

10 ต.ค. 2566

DOA-Mushchar 'ไบโอชาร์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่า' วัสดุที่อุดมไปด้วยคาร์บอน ผลิตจากการแยกสลายมวลชีวภาพ (biomass) หรือวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ทางเลือกใหม่เกษตรกรไทย ผลิตเห็ดยั่งยืน

ไบโอชาร์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่า คือวัสดุที่อุดมไปด้วยคาร์บอน ผลิตจากการแยกสลายมวลชีวภาพ (biomass) หรือวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ซึ่งในที่นี้คือ ก้อนเชื้อเห็ดเก่า ด้วยการให้ความร้อนสูง 550-650 องศาเซลเซียส โดยไม่ใช้ออกซิเจน หรือใช้น้อยมาก ที่เรียกว่า กระบวนการไพโรไลซิส (pyrolysis)
 

 

DOA-Mushchar ไบโอชาร์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่า ทางเลือกใหม่เกษตรกรไทย ผลิตเห็ดยั่งยืน

ไบโอชาร์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่า คือวัสดุที่อุดมไปด้วยคาร์บอน ผลิตจากการแยกสลายมวลชีวภาพ (biomass) หรือวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ซึ่งในที่นี้คือ ก้อนเชื้อเห็ดเก่า ด้วยการให้ความร้อนสูง 550-650 องศาเซลเซียส โดยไม่ใช้ออกซิเจน หรือใช้น้อยมาก ที่เรียกว่า กระบวนการไพโรไลซิส (pyrolysis)


    

DOA-Mushchar ไบโอชาร์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่า ทางเลือกใหม่เกษตรกรไทย ผลิตเห็ดยั่งยืน

 

 

การนำก้อนเชื้อเห็ดเก่ามาผลิตเป็นไบโอชาร์ เป็นแนวคิดขยะเหลือศูนย์ ที่ยึดหลักการ “ขยะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้” โดยนำก้อนเชื้อเห็ดเก่ากลับมาใช้ผลิตเห็ดอีกครั้ง เพื่อปรับปรุงและพัฒนาสูตรวัสดุเพาะเห็ดเดิม (ฟางข้าว หรือขี้เลื่อย, รำละเอียด,ปูนขาว และน้ำ) ที่ใช้ในการเพาะเห็ดในปัจจุบัน และยังเป็นการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ทั้งนี้พบว่า ไบโอชาร์ให้ประโยชน์หลายอย่างในเวลาเดียวกัน คือ 1.ช่วยปรับปรุงดิน 2. ลดก๊าซเรือนกระจก 3. จัดการของเสียจากวัสดุเหลือทิ้ง และเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุนั้น และ 4. แก้ปัญหาความยากจน ลดปริมาณการใช้สารเคมี และเพิ่มรายได้จากการเพิ่มผลผลิตการเกษตร ปัจจุบันเทคโนโลยีไบโอชาร์กำลังได้รับการยอมรับจากสหประชาชาติให้เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการลดภาวะโลกร้อน

 

 

DOA-Mushchar ไบโอชาร์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่า ทางเลือกใหม่เกษตรกรไทย ผลิตเห็ดยั่งยืน

 


สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร พบ ไบโอชาร์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่า มีคุณสมบัติโดดเด่นกว่าไบโอชาร์ที่ผลิตจากวัสดุอื่นๆ คือ อุดมไปด้วยคาร์บอน (>98%) และมีฟอสฟอรัสที่มีประโยชน์ (P2O5) สูง, จึงเหมาะที่จะนำมาใช้เป็นสารผสมในก้อนวัสดุเพาะเห็ด เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง และช่วยให้เส้นใยเห็ดเจริญเร็วขึ้น, และด้วยมีขนาดรูพรุน (pore size) ที่เล็กมากๆ (7.4 - 8.0 นาโนเมตร) ที่ช่วยในการอุ้มน้ำ ดูดยึดธาตุอาหาร เพิ่มการระบายอากาศ, ช่วยปรับค่า pH (ค่าความเป็นกรดด่าง) ของวัสดุเพาะเห็ดให้เหมาะสม และช่วยลดระยะเวลาการเจริญของเส้นใย และช่วยลดอัตราการปนเปื้อน 


ปัจจุบันยังได้พัฒนาต้นแบบไบโอชาร์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่าแบบผงพร้อมใช้ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ (DOA-Mushchar) ใช้งานง่าย สะดวก และทันสมัย ตอบโจทย์ผู้ใช้ที่ต้องการนำไปใช้ในการผลิตเห็ด ถือเป็นวัสดุที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ต่อยอดเพื่อสร้างประโยชน์ได้อีกมาก
    

หากเกษตรกรสนใจข้อมูลเกี่ยวกับ "เทคโนโลยีการผลิตไบโอชาร์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่า" หรือต้องการเชื้อพันธุ์เห็ด สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยและพัฒนาเห็ด สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์.0-2561-4673  และ  0-2579-0147