ข่าว

'เปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด 2567' โฉนด ครุฑเขียว เกษตรกร เช็กสิทธิด่วน ได้อะไร

'เปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด 2567' โฉนด ครุฑเขียว เกษตรกร เช็กสิทธิด่วน ได้อะไร

26 ม.ค. 2567

'เปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด 2567' โฉนด ครุฑเขียว เกษตรกร เช็กสิทธิด่วน 'เปลี่ยน ส.ป.ก.เป็นโฉนด' แล้ว ได้ประโยชน์อะไร

15 ม.ค. 2567 คิกออฟนำร่อง “เปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด 2567” แจกโฉนดเพื่อการเกษตร 2.5 หมื่นราย 1,000 ฉบับ ตั้งเป้าปี 2567 แจกให้ได้ 5 แสนฉบับ จากที่ดิน ส.ป.ก.4-01 จำนวน 22 ล้านไร่ จะทยอยแปลงโฉมเป็นโฉนดครุฑเขียวทั้งแผ่นดิน เพื่อยกระดับเป็นโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั่วประเทศให้กับเกษตรกร “เปลี่ยน ส.ป.ก.เป็นโฉนด” ครุฑเขียว ทำอย่างไร ใครมีสิทธิได้ รวมทั้งรายละเอียด และเงื่อนไข คมชัดลึก รวบรวมมาให้แล้ว

ผู้มีสิทธิยื่นคำขอ “เปลี่ยน ส.ป.ก.เป็นโฉนด 2567”

 

เกษตรกรที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ไม่น้อยกว่า 5 ปี (วันที่ระเบียบใช้บังคับ) อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

 

  1. วันที่ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด มีมติอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ (นับต่อเนื่องจากคนที่ได้รับอนุญาตครั้งแรก)
  2. วันที่ ปฏิรูปที่ดินจังหวัด มีมติอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ (นับต่อเนื่องจากคนที่ได้รับอนุญาตครั้งแรก)

 

“การนับ 5 ปี สามารถตรวจสอบได้จากหลายช่องทาง อาทิ รายชื่อที่ประกาศ ณ ที่ทำการผู้ปกครองท้องที่/วันที่ลงใน ส.ป.ก.4-01 ฉบับแรก ก่อนแบ่งแยก หรือสอบถามได้ที่ ส.ป.ก.จังหวัด)

 

  • มีสัญชาติไทย บรรลุนิติภาวะ หรือเป็นหัวหน้าครอบครัว (ไม่จำต้องบรรลุนิติภาวะ) แล้ว
  • มีความประพฤติดี
  • มีร่างกายสมบูรณ์สามารถประกอบการเกษตรได้
  • จะต้องไม่มีที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือของบุคคลในครอบครัวเดียวกัน หรือมีที่ดินเพียงเล็กน้อย แต่ไม่เพียงพอแก่การประกอบเกษตรกรรมเพื่อเลี้ยงชีพด้วย

วิธีเปลี่ยน ส.ป.ก.เป็นโฉนด

“วิธีเปลี่ยน ส.ป.ก.เป็นโฉนดที่ดิน” 

 

  • ยื่นได้ที่ ส.ป.ก.จังหวัด
  • หน่วยบริการเคลื่อนที่ของ ส.ป.ก.จังหวัด (Mobile Unit)
  • ระบบออนไลน์ ได้ที่เว็บไซต์ ส.ป.ก. www.alro.go.th คลิกที่นี่

 

 

เอกสารที่ต้องเตรียม 

 

  • ส.ป.ก.4-01 (ฉบับผู้ถือ) หรือสำเนาสัญญาเงินกู้ ธ.ก.ส. (กรณีกู้เงิน ธ.ก.ส.)
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)

 

 

เงื่อนไข เปลี่ยน ส.ป.ก.เป็นโฉนด 2567 เกษตรกร ได้อะไร

 

  • สามารถโอนคืน ส.ป.ก.ได้ โดยโอนคืนให้ ส.ป.ก.ทั้งแปลงหรือบางส่วนได้
  • ได้รับค่าชดเชย
  • หากเกษตรกรไม่ประสงค์ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สามารถสละสิทธิให้เกษตรกรอื่นที่มีคุณสมบัติตามกำหนด
  • เพิ่มวงเงินสินเชื่อ การเข้าถึงแหล่งทุนใหม่ สามารถเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ 
  • ขยายวงเงินสินเชื่อให้กับเกษตรกรที่ขอกู้กับ ธ.ก.ส.
  • ใช้ไม้มีค่าที่ปลูกบนที่ดิน ค้ำประกันสินเชื่อให้เต็มวงเงิน 100%
  • ขอสินเชื่อนโยบายจากกองทุน ส.ป.ก. เต็มวงเงินตามราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์
  • เป็นหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่สามารถค้ำประกันตัวบุคคลทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นศาลได้
  • ส่งเสริมการปลูกไม้มีค่า 10 ต้นต่อไร่ สามารถใช้ต้นไม้ค้ำประกันสินเชื่อ (โฉนดต้นไม้) และขาย Carbon Credit ได้
  • ส่งเสริมและพัฒนาจากรัฐ สามารถรับเงินชดเชยหรือเยียวยาภัยพิบัติ

 

 

ทั้งนี้ เปลี่ยน ส.ป.ก.เป็นโฉนดที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมฉบับแรก แจกให้กับพี่น้องเกษตรกร 70 จังหวัด ภายในวันที่ 15 ม.ค. 2567 หลังจากนั้นเมื่อครบระยะเวลา 1 ปี ส.ป.ก.จังหวัดทุกจังหวัด จะเริ่มทยอยออกโฉนดให้กับพี่น้องเกษตรกรในทุกจังหวัด และคาดว่า จะออกโฉนดได้แล้วเสร็จทั้งหมดภายใน 5 ปี