ข่าว

'โรงแรม' ดัง เปิดยอด service charge 'พนักงาน' ปังไม่ไหว รับเหยียบแสน

'โรงแรม' ดัง เปิดยอด service charge 'พนักงาน' ปังไม่ไหว รับเหยียบแสน

26 ม.ค. 2567

เปิดยอด 'เซอร์วิส ชาร์จ โรงแรม' ดัง ภูเก็ต 'พนักงาน' ปังไม่ไหว เพียงเดือนเดียว รับ 'service charge' เหยียบแสน/คน

ช่วงสิ้นปี บริษัท หรือ โรงงานหลายแห่ง ทยอยออกประกาศแจกโบนัส ให้กับ “พนักงาน” ประจำปี เช่นเดียวกับ “โรงแรม” ในเครือต่างๆ ที่ได้ประกาศยอด service charge เป็นขวัญกำลังใจให้กับพนักงาน ภายหลังต้องเผชิญกับภาวะโควิด-19 ระบาด ยอดการท่องเที่ยวลดลง ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ปรากฎว่า โรงแรมดัง ภูเก็ต ฟาดยอด เซอร์วิสชาร์จ เหยียบ 80,000 บาทต่อคนเลยทีเดียว

ยอดเซอร์วิสชาร์จโรงแรม JW แมริออท

เพจเฟซบุ๊ค Hotel Service Charge Update เปิดเผย “เซอร์วิส ชาร์จ โรงแรม” service charge ในช่วงวันที่ 19 ธ.ค. 2565-18 ม.ค. 2566 ปรากฎว่า โรงแรม JW Marriott ภูเก็ต มียอดเซอร์วิสชาร์จ อยู่ที่ 79,980.80 บาท/คน

 

 

ตามด้วย โรงแรม Anantara Layan ภูเก็ต มียอด Service Charge อยู่ที่ 71,715 บาท, โรงแรม โฟร์ ซีซั่น เกาะสมุย อยู่ที่ 69,757 บาท, โรงแรม OZO ภูเก็ต อยู่ที่ 57,788 บาท นอกจากนี้ โรงแรมอื่นๆ ยังจ่ายเซอร์วิส ชาร์จ เฉลี่ยไม่น้อย อาทิ

 

  • Banyan Tree Krabi อยู่ที่ 46,729.88 บาท
  • AMANPURI อยู่ที่ 50,253 บาท
  • ดุสิต ธานี ลากูน่า ภูเก็ต ตั้งแต่ 1-31 ธันวาคม อยู่ที่ 32,325 บาท
  • โนโวเทล แพลตทินั่ม ประตูน้ำ อยู่ที่ 32,700 บาท
  • Anantara Golden Triangle Elephant Camp & Resort เชียงราย อยู่ที่ 40,774 บาท

ยอดเซอร์วิส ชาร์จ โรงแรมโฟร์ซีซั่น ยอดเซอร์วิสชาร์จ โรงแรมแมริออท

ภายหลังเห็นตัวเลขเซอร์วิสชาร์จ service charge ที่พนักงานโรงแรมได้รับ บรรดาชาวเน็ต นอกจากจะ ร่วมแสดงความยินดีแล้ว ยังเริ่มหาลู่ทางสมัครงาน เพื่อเป็นพนักงานโรงแรมกันใหญ่

เซอร์วิสชาร์จโรงแรม

 

Service Charge คืออะไร

 

เซอร์วิสชาร์จ Service Charge คือ ค่าบริการที่ผู้ประกอบการขายสินค้านั้นๆ คิดเพิ่มจากผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการ เป็นรายได้ที่นำมาแบ่งให้แก่พนักงานบริการในแต่ละเดือน ถือเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของพนักงาน โดยอัตราการเรียกเก็บ เซอร์วิสชาร์จ ที่เหมาะสม ตามกฎหมายที่กรมการค้าภายในกำกับอยู่ คือ ต้องไม่เกิน 10% เนื่องจากเป็นอัตราราคาที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่รับทราบตามสากล และยอมรับได้ แม้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคจะไม่ได้กำหนด

 

 

แต่ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ระบุว่า ราคาสินค้าและบริการ ต้องแสดงราคาต่อหน่วย มีตัวเลขเป็นภาษาใดก็ได้ แต่ขอให้มีอารบิกอยู่ด้วย กำกับให้ชัดเจน เพื่อแสดงให้ผู้บริโภคทราบก่อนการตัดสินใจที่จะเลือกซื้อสินค้า หรือใช้บริการ หากไม่มีแสดง หรือมีแต่อ่านไม่ชัด ไม่ครบถ้วน ถือว่ามีความผิด โทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท