ข่าว

กางไทม์ไลน์ 'โครงการรถไฟฟ้าล่าสุด' ปี 2572 คนกรุง ได้ใช้ 33 สาย

กางไทม์ไลน์ 'โครงการรถไฟฟ้าล่าสุด' ปี 2572 คนกรุง ได้ใช้ 33 สาย

02 มี.ค. 2567

เปิดไทม์ไลน์ 'โครงการรถไฟฟ้าล่าสุด' ปี 2572 คนกรุง ได้ใช้ 'รถไฟฟ้า' สารพัดสี 33 สาย ลุ้น 'รถไฟฟ้าสายสีเขียว' ส่วนต่อขยาย กทม. ดันสร้าง ปี 2568

โครงข่าย “รถไฟฟ้า” ที่ช่วยให้คนกรุง ย่นระยะเวลาการเดินทางให้สั้นลง ซึ่ง “โครงการรถไฟฟ้าล่าสุด” มีความคืบหน้าไปแค่ไหน ตามแผนแม่บท ระบบขนส่งทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP) ระยะ 20 ปี (ปี 2553-2572) เปิดบริการแล้ว 11 สายทาง ระยะทางรวม 211.94 กิโลเมตร อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 โครงการ 135.80 กิโลเมตร กำลังประกวดราคา 1 โครงการ 13.40 กิโลเมตร ดำเนินการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) 6 โครงการ 71.49 กิโลเมตร และเตรียมความพร้อม 9 โครงการ 120.78 กิโลเมตร คาดหวังว่า ปี 2572 เราจะได้ใช้รถไฟฟ้า 33 สาย

รถไฟฟ้า

กางไทม์ไลน์ โครงการรถไฟฟ้าล่าสุด

 

 

- ปี 2566 ระยะทาง 64.90 กิโลเมตร

 

  • รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
  • รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง

 

- ปี 2568 จะเปิดบริการ 2 โครงการ 25.50 กิโลเมตร

 

  • รถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กิโลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี 22.50 กิโลเมตร

 

- ปี 2569 เปิดบริการ 3 โครงการ รวมระยะทาง 29.34 กิโลเมตร  

 

  • รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 14.80 กิโลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 8.84 กิโลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 5.70 กิโลเมตร

 

 

- ปี 2570 เปิดบริการ 2 โครงการ รวมระยะทาง 45.40 กิโลเมตร

 

  • รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง 21.80 กิโลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 23.60 กิโลเมตร

รถไฟฟ้าสายสีแดง

 

 

เปิด 'เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ล่าสุด' มีสถานีไหนบ้าง ปี 2568 หวัง คนกรุง ได้ใช้

กางเส้นทางรถไฟฟ้า 'M-MAP 2' ครอบคลุม 33 เส้นทาง ผ่านบ้านใครบ้างเช็กที่นี่

- ปี 2571 เปิดบริการ 4 โครงการ รวมระยะทาง 61.40 กิโลเมตร  

 

  • รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง 5.76 กิโลเมตร 
  • รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก 20.14 กิเลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ 13.40 กิโลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี 22.10 กิโลเมตร

 

 

- ภายในปี 2572 เปิดบริการ 9 โครงการ รวมระยะทาง 114.93 กิโลเมตร  

 

  • รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ-บางปู 9.50 กิโลเมตร 
  • รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงลำลูกกา-คูคต 6.50 กิโลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 8 กิโลเมตร 
  • รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-มหาชัย 38 กิโลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีทอง ช่วงคลองสาน-ประชาธิปก 0.92 กิโลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ 16.25กิโลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีฟ้า ช่วงดินแดง-สาทร 9.50 กม.
  • รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-แยกรัชโยธิน 2.60 กิโลเมตร

 

 

เมื่อทุกโครงการเปิดให้บริการตามแผนที่วางไว้ จะทำให้โครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพิ่มขึ้นเป็น 33 สาย รวมระยะทาง 553.41 กิโลเมตร

แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้า

 

รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายค้างท่อ

 

 

โครงการรถไฟฟ้าล่าสุด แม้จะดูไปไกล แต่ในส่วนต่อขยาย ในแผนแม่บท ยังค้างท่ออยู่อีกหลายสาย และคงจะชะลอไม่มีกำหนด โดยเฉพาะเฟสสุดท้ายในแผนแม่บท ไม่ว่าจะเป็น

 

  • รถไฟฟ้าสายสีเขียว สมุทรปราการ-บางปู
  • รถไฟฟ้าสายสีเขียว คูคต-ลำลูกกา
  • รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางแค-พุทธมณฑลสาย 4
  • รถไฟฟ้าสายสีแดง หัวลำโพง-มหาชัย
  • รถไฟฟ้าสายสีทอง คลองสาน-ประชาธิปก
  • รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-ทองหล่อ และ พระโขนง-ท่าพระ
  • รถไฟฟ้าสายสีฟ้า ดินแดง-สาทร
  • รถไฟฟ้าสายสีเหลือง แยกรัชดา-รัชโยธิน

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

 

กทม.ดับฝัน รถไฟฟ้า 3 สาย

 

 

นอกจากนั้น ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2567 ยังมีมติเห็นชอบ โอนภารกิจโครงการรถไฟฟ้า ที่จะต้องลงทุนก่อสร้างใหม่ ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร (กทม.) กลับคืนไปให้กระทรวงคมนาคม จำนวน 3 โครงการ 

 

 

  1. รถไฟฟ้าสายสีเงิน มีเส้นทางระหว่างบางนา เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมระยะทาง 19.7 กิโลเมตร จำนวน 14 สถานี จะเชื่อมต่อกับสายสีเขียว ที่สถานีบางนา และสายสีเหลือง ที่สถานีศรีเอี่ยม โดยพบว่า เส้นทางส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ของกรมทางหลวง สังกัดกระทรวงคมนาคม และเส้นทางเกินครึ่งอยู่ในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ
  2. รถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล เชื่อมทองหล่อ รวมระยะทาง 16.3 กิโลเมตร จำนวน 15 สถานี จะมีสถานีใหม่ที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าถึง 5 สาย ทั้งสายสีชมพู, สายสีน้ำตาล, สายสีเหลือง, สายสีส้ม และสายสีเขียว ที่สถานีทองหล่อ แต่เส้นทางส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย สังกัดกระทรวงคมนาคม
  3. รถไฟฟ้าสายสีฟ้า เส้นทางดินแดง เชื่อมสาทร รวมระยะทาง 9.5 กิโลเมตร มีจำนวน 9 สถานี ตามแผนจะเชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน ที่สถานีเพลินจิต ศาลาแดง

 

 

ซึ่ง กทม. ให้เหตุผลว่า ไม่มีงบประมาณเพียงพอหากดำเนินการเอง เพราะมีโครงการอื่นที่จำเป็นมากกว่า รวมถึงประชาชนจะได้ประโยชน์มากกว่า หากรัฐบาลดำเนินการระบบตั๋วร่วมที่ต้องเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ที่มีเกือบ 10 สายทางในปัจจุบัน และโครงการที่จะเกิดในอนาคต 

 

 

ส่วน รถไฟฟ้าที่ กทม. ตั้งใจเดินหน้าทำเองคือ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงบางหว้า เชื่อมตลิ่งชัน ระยะทาง 7.5 กิโลเมตร มูลค่า 7,000 ล้านบาท