ไลฟ์สไตล์

เตือนภัย ช้างป่า ล่วงหน้า คน-ช้าง อยู่ร่วมกันปลอดภัย 

เตือนภัย ช้างป่า ล่วงหน้า คน-ช้าง อยู่ร่วมกันปลอดภัย 

20 ก.ย. 2562

โดย...  ปาริชาติ บุญเอก [email protected] 

 

 

 


          ปัญหาความขัดแย้งระหว่างช้างป่ากับคน ณ ผืนป่ากุยบุรี เกิดขึ้นยาวนานนับสิบๆ ปี ชาวบ้านต่างบอกเล่าถึงความเดือดร้อนที่สวนยาง สวนสับปะรด โดนช้างป่าทำลายกลางดึกจนได้รับความเสียหาย ความขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นช้างถูกวางยา วางตะปูเรือใบ ช็อตไฟฟ้า เผานั่งยาง กระทั่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเรียกคืนผืนป่า 1 หมื่นไร่ คืนแหล่งที่อยู่อาศัยแก่ช้าง

 

 

เตือนภัย ช้างป่า ล่วงหน้า คน-ช้าง อยู่ร่วมกันปลอดภัย 

 

          พื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งประกอบด้วย 8 อำเภอ มีพื้นที่ติดป่า ทะเล และชายแดนพม่าทั้ง 8 อำเภอ หลังติดเขา หน้าติดน้ำ มีประชาชน 5.2 แสนคน อาชีพหลัก คือ ทำการเกษตร ปลูกมะพร้าว สับปะรด ซึ่งเป็นพืชที่ช้างป่าชอบ ขณะที่บริเวณอุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีพื้นที่ครอบคลุม อ.ปราณบุรี อ.สามร้อยยอด อ.กุยบุรี อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ เป็นป่าต้นน้ำซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญทั้งพันธุ์ไม้ สัตว์ป่า มีเนื้อที่ 605,625 ไร่ หรือ 969 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งที่พบสัตว์ป่าจำนวนมาก รวมถึงช้างป่า กระทิง และเสือโคร่ง จนได้รับการยกย่องจากนักท่องเที่ยวว่าเป็นซาฟารีธรรมชาติที่สมบูรณ์ที่สุด

 

 

 

เตือนภัย ช้างป่า ล่วงหน้า คน-ช้าง อยู่ร่วมกันปลอดภัย 

 


          สะอาด ทองนาค อายุ 62 ปี ซึ่งอาศัยในพื้นที่เล่าว่า ที่ผ่านมาชาวบ้านเดือดร้อนเพราะช้างป่าออกมาทำลายสวนยาง สวนสับปะรด กลางดึกอย่างต่อเนื่อง สวนยางถูกชนโค่นล้มเสียหาย ออกมากรีดยางตอนกลางคืนไม่ได้เพราะเป็นเวลาที่ช้างออกหากิน นอกจากนี้ ไร่สับปะรดของชาวบ้านก็ถูกช้างกินเพราะเขารู้ว่าเป็นอาหาร แม้จะทำรั้วก็โดนช้างเหยียบพังทั้งหมด


          “ช้างออกมากัน 10-30 ตัว ความขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นช้างถูกวางยาตายไป 3 ตัว วางตะปูเรือใบ ช็อตไฟฟ้า เผานั่งยาง กระทั่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเรียกคืนผืนป่า 1 หมื่นไร่ เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของช้าง หลังจากที่มีการติดตั้งระบบดังกล่าว คาดว่าจะช่วยเฝ้าระวังช้างได้ และปัญหาน่าจะลดลง” สะอาด กล่าว

 

 

เตือนภัย ช้างป่า ล่วงหน้า คน-ช้าง อยู่ร่วมกันปลอดภัย 

สะอาด ทองนาค

 



          ซึ่งภายใต้ผืนป่าที่งดงามอุดมสมบูรณ์ กลับซ่อนไว้ด้วยความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างมาอย่างยาวนานนับสิบๆ ปี กระทั่งล่าสุด กลุ่มทรู ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ร่วมแก้ปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่ เปิดศูนย์เฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Kuiburi’s Elephant Smart Early Warning System) ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ลงนามความร่วมมือ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2560 และเริ่มทดลองระบบในเดือนพฤศจิกายน 2561


          ล่าสุด วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์เฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี กรมอุทยานแห่งชาติฯ ว่า ได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2542 ว่า “ช้างป่าควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้นมีอาหารช้างเพียงพอ การปฏิบัติคือ ให้ไปสร้างอาหารช้างในป่าเป็นแปลงเล็กๆ และกระจาย กรณีช้างป่าออกมาที่ชายป่า ต้องให้ความปลอดภัยแก่ช้างป่า”

 

เตือนภัย ช้างป่า ล่วงหน้า คน-ช้าง อยู่ร่วมกันปลอดภัย 

 


          กรมอุทยานฯ น้อมนำพระราชดำรัสมาใช้เป็นหลักในการแก้ปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว แต่ปัญหายังไม่หมดไป เราเข้าใจปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรเป็นอย่างดี ช้างเป็นสัตว์ที่มีความฉลาด ไม่ว่าจะป้องกันอย่างไรก็ออกมาอยู่ดี ดังนั้น การเปิดศูนย์เฝ้าระวังช้างป่าฯ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จในการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ที่จะร่วมแก้ปัญหาคนกับช้าง


          ติดกล้อง 25 จุด เฝ้าระวังช้าง
          ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน กลุ่มทรู กล่าวถึงการทำงานของระบบ Elephant Smart Early Warning System ว่า ระบบดังกล่าว เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารร่วมกับการใช้กล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ (Camera Trap) และพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Smart Early Warning System) ในคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนแบบทันทีทันใด เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในการเฝ้าระวังช้างป่าและชุมชนในพื้นที่

 

 

เตือนภัย ช้างป่า ล่วงหน้า คน-ช้าง อยู่ร่วมกันปลอดภัย 

 


          มีการติดตั้ง Camera Trap พร้อม SIM แล SD Card บริเวณด่านที่ช้างออกรวม 25 ด่านก่อนถึงพื้นที่สวนชาวบ้านราว 1 กิโลเมตร เมื่อช้างหรือวัตถุใดๆ เคลื่อนไหวผ่าน กล้องจะทำการบันทึก และส่งภาพไปยังระบบคลาวด์ โดยเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ปฏิบัติการ (Control Room) จะทำการสกรีนและส่งภาพเข้ามือถือผ่านอีเมลของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบแต่ละจุด เพื่อแจ้งเตือนให้ดำเนินการผลักดันช้างเข้าพื้นที่ป่าผ่านแอพพลิเคชั่น Smart Adventure ซึ่งหลังจากผลักดันช้างสำเร็จ จะบันทึกข้อมูลต่างๆ อาทิ พิกัดด่านที่ช้างออก จำนวนช้าง เวลา ความเสียหาย เป็นต้น โดยระบบคลาวด์จะประมวลผล เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่อไป

 

 

เตือนภัย ช้างป่า ล่วงหน้า คน-ช้าง อยู่ร่วมกันปลอดภัย