ไลฟ์สไตล์

สถานศึกษาไม่ผ่านประเมินฯสมศ.รอบ 2โวยคุณภาพครูต่ำ

สถานศึกษาไม่ผ่านประเมินฯสมศ.รอบ 2โวยคุณภาพครูต่ำ

19 มี.ค. 2552

สมศ.เผยผลการประเมินภายนอกรอบ 2 ชี้เหตุสถานศึกษาไม่ผ่านการรับรอง แจง ร.ร.สังกัด สพฐ.ขนาดเล็ก-อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ผ่านการรับรองน้อยสุด แนะให้อปท.เข้ามาช่วยดูแล ส่วน “อาชีวะ” ครู วุฒิป.ตรี มีไม่ถึง 80 % แถมป้อนคนสู่ตลาดแรงงานไม่ได้ ฝากอาชีวะเปิดสอนป.ตรีได้

เมื่อวันที่ 19 มี.ค. เวลา 13.00 น.ที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)(สมศ.) ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผอ. สมศ. เปิดเผยผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง ทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา ซึ่งผลการประเมินในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปฐมวัย) จากรร.ที่รับการประเมิน 2,0184 แห่ง รับรอง 1,6229 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80.41 ไม่รับรองจำนวน 3,955 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 19.59

 ส่วนแบ่งตามสังกัด ได้แก่ สังกัดกรุงเทพมหานครฯ (กทม.) 430 แห่ง รับรอง 408 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 94.88 ไม่รับรอง 22 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 5.12 สังกัดเทศบาล 403 แห่ง รับรอง 372 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 92.31 ไม่รับรอง 31 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 7.69 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) 1,254 แห่ง รับรอง 1,125 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 89.71 ไม่รับรอง 129 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 10.29 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)(รร.สาธิต) 9 แห่ง รับรอง 8 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 88.89 ไม่รับรอง 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 11.11 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 18,088 แห่ง รับรอง 14,316 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 79.15 ไม่รับรอง 3,772 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 20.85

 แบ่งตามขนาด ได้แก่ ขนาดเล็ก 14,389 แห่ง รับรอง 11,000 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 76.45 ไม่รับรอง 3,389 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 23.55 ขนาดกลาง 4,904 แห่ง รับรอง 4,371 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 89.13 ไม่รับรอง 533 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 10.87 ขนาดใหญ่ 684 แห่ง รับรอง 654 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 95.61 ไม่รับรอง 30 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 4.39 และขนาดใหญ่พิเศษ 207 แห่ง รับรอง 204 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 98.55 ไม่รับรอง 3แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.45 และแบ่งตามสถานที่ตั้ง รร.ในเมือง 4,165 แห่ง รับรอง 3,577 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85.88 ไม่รับรอง 588 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 14.12 ร.ร.นอกเมือง 16,019 แห่ง รับรอง 12,652 รร. คิดเป็นร้อยละ 80.41 ไม่รับรอง 3,367 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 21.02
 สำหรับผลการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในส่วนประถม-มัธยม นั้นทั้งหมด 22,456 แห่ง ผ่านการรับรองเพียง 17,592 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 79.68 และไม่รับรอง 4,564 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 20.32

 แบ่งตามสังกัด พบว่า สังกัด กทม. 435 แห่ง รับรอง 417 คิดเป็นร้อยละ 95.86 ไม่รับรอง 18 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 4.14 สังกัดเทศบาล 421 แห่ง รับรอง 375 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 89.07 ไม่รับรอง 46 คิดเป็นร้อยละ 10.93 สังกัดสช. 1,048 แห่ง รับรอง 933 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 89.03 ไม่รับรอง 115 คิดเป็นร้อยละ 10.97 สังกัดสพฐ. 20,538 รับรอง 16,154 คิดเป็นร้อยละ 78.65 ไม่รับรอง 4,384 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 21.35 สัดกัดสกอ.(ร.ร.สาธิต) 14 แห่ง รับรอง13 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 7.14 ไม่รับรอง 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 7.14 ซึ่งรายชื่อโรงเรียนสาธิต ที่ไม่ได้รับรอง คือ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 แบ่งตามขนาด ได้แก่ ขนาดเล็ก 14,796 แห่ง รับรอง 11,209 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 75.76 ไม่รับรอง 3,587 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 24.24 ขนาดกลาง 6,003 แห่ง รับรอง 5,091 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 84.81 ไม่รับรอง 912 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 15.19 ขนาดใหญ่ 1,111 แห่ง รับรอง 1,057 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 95.14 ไม่รับรอง 54 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 4.86 และขนาดใหญ่พิเศษ 546 แห่ง รับรอง 535 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 97.99 ไม่รับรอง 11 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 2.01 และแบ่งตามที่ตั้ง ในเมือง 4,619 แห่ง รับรอง 3,965 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85.84 ไม่รับรอง 654 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 14.16 แห่ง และนอกเมือง 17,837 แห่ง รับรอง 13, 927 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 78.08 ไม่รับรอง 3,910 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 21.92

 ส่วนผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาอาชีวศึกษา ที่มีจำนวนสถานศึกษาทั้งหมด จำนวน 1,094 แห่ง ขอรับการประเมิน 549 แห่ง และเหลืออีก 545 ยังไม่ได้ประเมิน ซึ่งผลการประเมิน พบว่าประเภทสถาบันวิทยาลัยของรัฐ ผ่านการรับรอง 301 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 89.85 ไม่รับรอง 23 แห่งคิดเป็นร้อยละ 6.87 รอพินิจ 11 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 3.28 โรงเรียนเอกชน รับรอง 121 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 73.78 ไม่รับรอง 32 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 19.51 รอพินิจ 11 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 6.71 และวิทยาลัยสารพัดช่าง รับรอง 41 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 84 ไม่รับรอง 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 8 และรอพินิจ 27 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 8

 ศ.ดร.สมหวัง กล่าวต่อว่า ในส่วนของอุดมศึกษานั้นผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสอง ผลการรับรองมาตรฐานจำแนกตามกลุ่มประเภทสถาบัน ได้แก่ 1.ม.ในกำกับของรัฐ จำนวน 13 แห่ง รับรองทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 2.ม.รัฐ 12 แห่ง รับรองทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 3.ม.เอกชน 54 แห่ง รับรอง 46 แห่ง คิดเป็นร้อยละ85.18 รอพินิจ 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 9.26 ไม่รับรอง 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 5.55 4. ม.ราชภัฎ 40 แห่ง รับรอง 38 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 95 รอพินิจ 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 5

 5.ม.ราชมงคล 5 แห่ง รับรอบทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 6.สถาบันเฉพาะทาง 57 แห่ง รับรอง 56 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 98.25 รอพินิจ 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.75 และ7.วิทยาลัยชุมชน 18 แห่ง รับรอง 15 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ83.33 รอพินิจ 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 5.56 ไม่รับรอง 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 11.11 ดังนั้น ผลการรับรองมาตรฐาน จำแนกตามประเภทสถาบัน ทั้งหมด 199 แห่ง ผ่านการรับรองทั้งหมด 185 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 92.97 รอพินิจ 9 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 4.52 และไม่รับรอง 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 2.51 ส่วนรายชื่อที่ไม่ผ่านการประเมินคุณภาพ 5 แห่งได้ แก่ 1 ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด จ.เพชรบุรี 2.วิทยาลัยนครราชสีมา จ.นครราชสีมา 3.วิทยาลัยอิสลามยะลา จ.ยะลา 4. วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร และ5วิทยาลัยชุมชนตราด จ.ตราด

 อย่างไรก็ตามผลการประเมินรอบสองในเบื้องต้นพบว่าสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองและรอการพินิจนั้นในส่วนโรงเรียนสังกัดสพฐ. พบว่าโรงเรียนสังกัดกทม. เทศบาล จะผ่านการรับรองมาตรฐานสูงถึงร้อยละ90 รองลงมา สช.และสาธิต ส่วนโรงเรียนสพฐ.ผ่านการรับรองน้อยที่สุด เนื่องจากมีปัญหาคุณภาพครู  

 นอกจากนี้ โรงเรียนที่ไม่ผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนขนาดเล็กและอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ดังนั้นต้องทำให้โรงเรียนขนาดเล็กมีขนาดใหญ่ขึ้น และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)เข้ามาช่วยดูแล ส่วนที่อาชีวศึกษาพบว่าคุณภาพของอาจารย์ยังต่ำ โดยมีอาจารย์วุฒิปริญญาตรี ร้อยละ 74 ที่เหลือต่ำกว่าปริญญาตรี ทั้งที่ควรจะมีอาจารย์วุฒิปริญญาตรีและโท อย่างละครึ่ง เอกเพียง และบัณฑิตที่ผลิตออกไปนั้นยังไม่เข้าสู่ตลาดแรงงานในสาขาที่ประเทศต้องการ รวมทั้งเมื่อนักศึกษาจบอาชีวศึกษาแล้วไม่ไปศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษา จึงทำให้ประเทศขาดแรงงานระดับนี้มาก ขณะที่อาชีวศึกษาจะเปิดสอนระดับปริญญาตรีด้วย ฝากถ้าสถาบันไหนจะเปิดปริญญาตรีจริงควรดูผลประเมินจากสมศ.และผ่านเกณฑ์ในระดับที่ดีมากด้วย

 ส่วนปัญหาคุณภาพของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เป็นเรื่องของคุณวุฒิคุณภาพของอาจารย์ ซึ่งตามเกณฑ์แล้ว อาจารย์ที่สอนอยู่ในระดับอุดมศึกษาต้องจบการศึกษาระดับปริญญาเอกร้อยละ 30 ของอาจารย์ทั้งหมด แต่ตอนนี้อาจารย์ที่จบปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น อีกทั้งสถาบันอุดมศึกษาใหม่ ที่เปลี่ยนจากวิทยาลัย มาเป็นมหาวิทยาลัย เช่น ม.ราชภัฎ ม.ราชมงคล ไม่ได้มีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ตามขั้นตอน ทั้งในแง่ของหลักสูตร และประสบการณ์คณาจารย์ ก่อนจะปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัย ดังนั้นภาพรวมที่น่ากังวลของสถาบันอุดมศึกษาขณะนี้ คือ คุณภาพ คุณวุฒิของคณาจารย์ผู้สอน อย่างไรก็ตาม สำหรับรายชื่อของสถาบันการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานปฐมวัย ประถม มัธยม อาชีวศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาที่ผ่าน และไม่ผ่านการประเมินของสมศ. จะนำเสนอผ่านเว็บไซต์ www.onesqa.or.th และสรุปรวบรวมผลการประเมินเสนอหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อปรับปรุง พัฒนาต่อไป