'อาการกลัวคณิตศาสตร์' ไม่ได้มีแค่ในซีรีย์ สะท้อนการศึกษาไทย กดดัน แข่งขัน
'อาการกลัวคณิตศาตร์' อาการทางจิตที่ไม่ได้เกี่ยวกับความสามารถในการแก้โจทย์ ไม่ได้มีแค่ในซีรีย์ สะท้อนระบบการศึกษาไทย กดดัน เปรียบเทียบ แข่งขัน ยึดติดค่านิยมเดิมเก่งคณิตศาสตร์เท่ากับเรียนเก่ง
กระแสซีรีย์ Crash Course in Romance ซีรีย์เกาหลีสะท้อนระบบการศึกษาในประเทศเกาหลีใต้ที่เกิดภาวะกดดันจากครอบครัว สังคม ในเรื่องการเรียนจนส่งผลให้เด็กเกิด อาการกลัวคณิตศาสตร์ เพราะเด็กบางคนแบกความกดดันและคาดหวังจากครอบครัว รวมไปถึงคนรอบข้าง
โดยใน 'อาการกลัวคณิตศาสตร์' หรือ Math anxiety ไม่ให้การที่ไม่มีความสามารถในการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ แต่เป็นภาวะทางจิติอย่างหนึ่ง โดยเรื่องราวในซีรีย์นั้น สะท้อนความเป็นจริงของระบบการศึกษาทั่วโลก ไม่ใช่แค่สะท้อนการศึกษาในเกาหลีใต้เท่านั้น
ในประเทศไทยเองก็เช่นกัน ผู้ปกครอง ครอบครัว สังคม ยังมีค่านิยมว่าจะ ต้องเรียนคณิตศาสตร์ แก้โจทย์เลขยาก ๆ ได้เท่านั้นถึงจะกลายเป็นเด็กเรียนเก่ง ค่านิยมด้านการศึกษาของประเทสไทยและหลาย ๆ ประเทศที่ ผลักให้เด็กถูกเคี่ยวเข็ญให้ เรียนพิเศษอย่างหนักเพื่อที่จะสามารถเรียนวชาคณิตศาสตร์ได้เก่ง ๆ จนบางครั้งส่งผลให้เด็กมี 'อาการกลัวคณิตศาสตร์' มาร์ก เอช. แอชคราฟท์ นิยามอาการกลัวคณิตศาสตร์ไว้ว่าเป็น ความรู้สึกของความตึงเครียด กดดัน หรือ กลัว ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการทำเลข
ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นโฆษก กรมสุขภาพจิต ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ 'อาการกลัวคณิตศาสตร์' ว่า 'อาการกลัวคณิตศาสตร์' เป็นหนึ่งในภาวะของโรควิตกกังวล โดยเฉพาะระบบการศึกษาของไทยถือว่ามีส่วนทำให้เด็กเกิดภาวะวิตกกังวลได้ค่อนข้างมาก เพราะมีการแข่งขันสูง รวมทั้งมีปัจจัยที่กระตุ้นให้เด็กมี 'อาการกลัวคณิตศาสตร์' ไม่ว่าจะเป็นการให้เด็กออกไปแก้โจทย์หน้าห้องเรียน ส่งผลให้เด็กเกิดความไม่มั่นใจ รวมไปถึงการเปรียบเทียบของสังคม ความกดดันจากครอบครัวมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้เด็กเกิดความวิตกกังวลในเรื่องการเรียน อย่างไรก็ตาม โรควิตกกังวล สามารถพบได้บ่อยทั้งในคนทั่วไป และเด็กนักเรียน จากผลการสำรวจ พบว่าในกลุ่มประชากรมีผู้คนที่เป็น โรควิตกกังวลราว 5-10% เฉลี่ย 4-5 ปี แม้ตัวเลขไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาก แต่ก็พบว่ามีคนเป็นโรควิตกกังวลเพิ่มขึ้น นั้นเป็นเพราะสภาพสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป
สำหรับวิธีการแก้ไข หรือลดอัตราการเกิด โรควิตกกังวล โดยเฉพาะโรควิตกเกี่ยวกับการเรียนหนังสือ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือเด็กอย่างมาก โดยวิธีที่ทำได้ง่าย ๆ คือ การสังเกตพฤติกรรมเบื้องต้น โดยเฉพาะสีหน้า ท่าทาง ความหวาดกลัวการไปโรงเรียน รวมไปถึงพฤติกรรมของลูกที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การกระทำซ้ำๆ ไม่อยากไปเรียน หากพบว่าเด็กมีอาการแปลกไปสิ่งแรกที่ผู้ปกครองควรทำคือ การรับฟัง และเข้าใจเด็ก หากไม่สามารถแก้ไขได้ก็ควรพบจิตแพทย์ทันที เพื่อลดผลกระทบกับชีวิตของเด็ก
ด้านคุณครูสอน วิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนแห่งหนึ่ง ระบุถึง 'อาการกลัวคณิตศาสตร์' ว่า ที่ผ่านมาตนยังไม่เคยเจอเด็กนักเรียนที่มีอาการกลัวคณิตศาสตร์ แต่มีแค่ไม่อยากเรียน และไม่ชอบคิดเลข ซึ่งจากการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ซึ่งตนยังไม่เคยเจอเด็กที่กลัววิชาคณิตศาสตร์จนเกิดความผิดปกติ ซึ่งที่ผ่านมามีการใช้วิธีการค่อยเป็นค่อยไปกับเด็กนักเรียน ไม่ทำให้เด็กรู้สึกว่ากำลังถูกกดดันให้ต้องแก้โจทย์ หรือ เรียนคณิตศาสตร์ ส่วนในเรื่องของหลักสูตรนั้นตนเห็นว่า มีการปรับหลักสูตรให้มีความเหมาะสมกับช่วงวัยมากยิ่งขึ้น
แต่ 'อาการกลัวคณิตศาสตร์' ไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นไม่ได้ ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในโรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนส่วนกลาง เพราะมีความแข่งขันค่อนข้างสูง รวมไปถึงความกดดันจากครอบครัว ที่พยายามให้เด็กเรียนกวิชาเลข วิชาคำนวณเยอะ ๆ เพราะเข้าใจว่า การที่เด็กเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดี เท่ากับเป็นคนเก่ง และมีโอกาสในการเลือกเส้นทางเรียนต่อได้มากกว่า โดยค่านิยมและความคิดดังกล่าวนั้น ถือ ว่าเป็นเรื่องที่มีผลต่อภาวะการเรียนของเด็กอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่สังคม หรือ ผู้ปกครองจะช่วยเด็กได้ คือ ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ นอกจากนี้ตนยังมองว่า ระบบการศึกษาไทยก็มีส่วนทำให้เด็กเกิดภาวะกดดันเช่นกัน เพราะระบบการศึกษาไทยมองเด็กที่เรียนเก่งคือเด็กที่เก่งคณิตศาสตร์ ดังนั้นจังไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้ปกครองจะต้องการให้ลูกเรียนคณิคสาสตร์เยอะ ๆ จนส่งผลกระทบต่อตัวเด็กเอง ทำให้เกิดภาวะไม่อยากเรียน วิตกกังวลเมื่อต้องเรียนคณิตศาสตร์
สำหรับ 'อาการกลัวคณิตศาสตร์' อาจจะไม่ได้ถูกพูดถึงอย่างวงกว้างในประเทศไทย แต่สำหรับในต่างประเทศมีการศึกษาและวิจัยอาการดังกล่าวอย่างมากมาย โดย ข้อมูลจาก ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาวิจัยเพื่อไขข้อข้องใจว่า มีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (Math anxiety) จนพัฒนาไปเป็นความกลัวที่คอยขัดขวางการเรียนรู้ของเด็กๆ ไปอย่างน่าเสียดาย และพวกเขาก็พบว่าไม่ใช่แค่สิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ที่เด็กๆ ได้รับเท่านั้น หากแต่ยังมีพันธุกรรมเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความวิตกกังวัลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของเด็กๆ