สรุปง่ายๆ ทำไมยื้อ เสนอ ‘โปรดเกล้าฯ’ แต่งตั้ง ‘อธิการบดี มสธ.’
หลังศาลปกครองสูงสุด พิพากษาให้คดีสรรหา อธิการบดี มสธ. ชอบด้วยกฏหมาย แต่เกือบ 6 เดือน ยังไร้วี่แวว เกิดอะไรขึ้น ทำไม และใคร ยื้อเสนอ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ‘อธิการบดี มสธ.’
กว่า 6 ปี ที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช(มสธ.) มหาวิทยาลัยเปิดของรัฐแห่งนี้ ไร้ผู้นำฝ่ายบริหารตัวจริง แม้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษา เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2566 และได้อ่านคำพิพากษา คดีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หรือ “อธิการบดี มสธ.” เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2566 ที่มีผลทำให้ “รศ.ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ” เป็น ว่าที่อธิการบดี มสธ.คนใหม่
สรุปเพื่อความเข้าใจง่ายๆ ทำไมยื้อ เสนอ ‘โปรดเกล้าฯ’ แต่งตั้ง ‘อธิการบดี มสธ.’
1.ศาลปกครองสูงสุด ได้ พิพากษา ให้ กระบวนการ การสรรหาและมติการสรรหารวมทั้งคุณสมบัติ ของผู้ถูกเสนอชื่อเป็นอธิการบดีมสธ. ชอบด้วยกฎหมาย และถือว่าคดีการสรรหานี้ยุติโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566
2. กระทรวงอว.ไม่ขัดข้อง การนำเสนอโปรดเกล้าแต่งตั้งอธิการบดีคนใหม่ สามารถดำเนินการได้ทันที
3.สำนักงานกฤษฎีกา ไม่รับเรื่องวินิจฉัยใดๆอีกแล้ว เนื่องจากเป็นคดีที่ อยู่ในศาลปกครองแล้ว
4.ได้มี การกรอกประวัติ เพื่อเสนอแต่งตั้งโปรดเกล้า มีการรับรองตนเองและ ยืนยันจากหน่วยงานทั้ง 6 หน่วยงาน ไม่พบประวัติ การกระทำผิดใดๆ และการดำเนินการทางวินัยใดๆ ทั้งนี้ ได้จัดส่งให้ สภามหาวิทยาลัย แล้วด้วย ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2566 รอการพิจารณาของสภามหาวิทยาลัย
โดย 6 หน่วยงาน ที่ตรวจสอบ รศ.ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ว่าที่อธิการบดี มสธ.คนใหม่ ว่าได้กระทำความผิดต่างๆ หรือไม่ ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานศาลปกครอง สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ท. กรมบังคับคดี และสำนักงานศาลยุติธรรม ได้ตรวจ และรับรอง สอบประวัติบุคคลเสร็จสิ้นแล้ว “ไม่พบความผิดใดๆ ทั้งสิ้น” และรศ.ดร.วรรณธรรมได้ส่งข้อมูลให้กับทางสภามหาวิทยาลัย แต่ทุกอย่างยังเงียบ
นี่คือความไม่ปกติของมหาวิทยาลัยเปิดของรัฐแห่งนี้ มหาวิทยาลัยเปิดที่ได้ชื่อว่าประชาชนเป็นเจ้าของผ่านการเสียภาษี แต่ละเว้นในการผดุงไว้ซึ่ง"หลักธรรมาภิบาล" คงต้องรอ "รัฐบาลใหม่" มาสะสาง ก่อนวิกฤติศรัทธาเพิ่มทวีคูณ นะขอบอก