ข่าว

13 ตุลาคม 'วันนวมินทรมหาราช' ศธ.น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงร.9

13 ตุลาคม 'วันนวมินทรมหาราช' ศธ.น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงร.9

13 ต.ค. 2566

'วันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2566' กระทรวงศึกษาธิการ น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 'พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน'

ตลอด 70 ปี ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช​ บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9​ ทรงแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพที่โดดเด่นและความรู้อันกว้างขวางของพระองค์ในด้านต่าง ๆ ไม่เพียงแต่เป็นกษัตริย์เท่านั้น พระองค์ยังทรงเป็นศิลปินผู้แตกฉานด้านศิลปะ เชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศหลายภาษา เป็นนักดนตรีและกวีผู้ประพันธ์เพลงอันทรงคุณค่า ทั้งยังทรงเป็นเลิศในด้านกีฬา​ และพระวิริยอุตสาหะอื่น ๆ อีกมากมาย

ในด้าน “การศึกษา” พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจจนเป็นที่ประจักษ์ในพระปรีชาสามารถมากมาย ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทุกระดับทั้งในและนอกระบบโรงเรียน ทรงริเริ่มโครงการต่าง​ ๆ เช่นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ โรงเรียนจิตรลดา โรงเรียนราชวินิต​ โรงเรียนวังไกลกังวล โรงเรียนราชประชาสมาสัย โรงเรียนพี.พี.อาร์. โรงเรียนราชวิทยาลัยและอื่น ๆ อีกมากมาย รวมทั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนโรงเรียนเหล่านี้เพื่อให้กำลังใจและคำแนะนำแก่ทั้งครูและนักเรียน

13 ตุลาคม \'วันนวมินทรมหาราช\' ศธ.น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงร.9

 

 

ด้วยทรงตระหนักว่าเด็กและเยาวชนไทยจำนวนมากเรียนดีแต่ขาดปัจจัยทางการเงิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งกองทุนการศึกษาในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา เช่น ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ทุนพระราชทาน ทุนมูลนิธิภูมิพล และทุนจากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ นับเป็นตัวอย่างของพระราชดำริด้านการศึกษาที่พระองค์ริเริ่มขึ้น

 

องค์กรที่โดดเด่นอีกแห่งคือ “มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์” ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2506 มีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาสำหรับนักเรียน​ เด็กกำพร้าที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ และยังให้ความช่วยเหลือระยะยาวด้านการศึกษาสงเคราะห์ มอบทุนพระราชทานการศึกษาสงเคราะห์ให้แก่นักเรียนกำพร้าที่ครอบครัวประสบสาธารณภัย และนักเรียนที่ดีเยี่ยมจากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ให้ได้ศึกษาเล่าเรียนตามความถนัดของแต่ละบุคคลจนกว่าจะสำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดเท่าที่จะเรียนได้ ถึงปัจจุบันมีโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 66 โรงเรียน ทั่วประเทศ

13 ตุลาคม \'วันนวมินทรมหาราช\' ศธ.น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงร.9

 

13 ตุลาคม \'วันนวมินทรมหาราช\' ศธ.น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงร.9

 

นอกจากด้านวิชาการแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกล​ ต่อยอดการศึกษาไปถึงการสร้างอาชีพด้วย ตัวอย่างที่สำคัญประการหนึ่งคือ “มูลนิธิพระดาบส” จัดตั้งขึ้นในปี​ พ.ศ. 2519 สนับสนุนผู้ขาดแคลนเงินทุนและโอกาสในการประกอบอาชีพ ให้ได้รับการศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพในสาขาต่าง ๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงบริจาคเงินเบื้องต้นจำนวน 5 ล้านบาท​ ช่วยให้บุคคลสามารถสร้างชีวิตที่เจริญรุ่งเรือง เลี้ยงดูครอบครัว และช่วยเหลือสังคม ปัจจุบันมูลนิธิฯ เปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพ 8​ สาขา

 

 

13 ตุลาคม \'วันนวมินทรมหาราช\' ศธ.น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงร.9

ในปี พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงริเริ่มโครงการแปลกใหม่ที่เรียกว่า​ “การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม” หรือที่เรียกว่า “ครูตู้” ซึ่งนับว่าเป็นโครงการที่ก้าวล้ำในสมัยนั้น ตั้งเป้าหมายให้เป็นเครื่องมือแก้ไขช่องว่างทางการศึกษาระหว่างเขตเมืองและชนบทในประเทศ ลดปัญหาการขาดแคลนครูในพื้นที่ห่างไกล หรือการขาดครูที่สามารถสอนวิชาเฉพาะได้

 

 

เพื่อปฏิวัติการถ่ายทอดและรับความรู้ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning​ Television : DLTV) ตามพระราชดำริ ซึ่งโรงเรียนวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับเลือกให้เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่เนื้อหาด้านการศึกษาไปยังโรงเรียนทั่วประเทศทั้งสถาบันภาครัฐและเอกชน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6​ เบื้องต้นมีโรงเรียนเครือข่าย 99 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าเด็กทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษา โดยไม่มีอุปสรรคทางภูมิศาสตร์


13 ตุลาคม \'วันนวมินทรมหาราช\' ศธ.น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงร.9

 

จากความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดตั้ง “มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม” ในปีเดียวกัน เพื่อสืบสานพระราชกรณียกิจอันทรงเกียรติ และเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9​ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนเริ่มแรกจำนวน 50 ล้านบาท เป็นทุนประเดิมก่อตั้งมูลนิธิฯ ตอกย้ำความมุ่งมั่นต่อการศึกษาไทย

 

 

การอุทิศพระองค์เพื่อการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ขยายไปไกลกว่าการสนับสนุนทางการเงิน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2544 ณ โรงเรียนเทศบาลบ้านเขาเต่า ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงพระราชทานสติปัญญาและความรู้แก่นักเรียนด้วยพระองค์เองครั้งแรกผ่านรายการ “ศึกษาทัศน์” กล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่อย่างแท้จริงของพระองค์ที่มีต่อคนรุ่นใหม่ และทรงมีพระราชปณิธานที่จะปลูกฝังความรักในการเรียนรู้ไว้ในใจของพวกเขา

 

 

13 ตุลาคม \'วันนวมินทรมหาราช\' ศธ.น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงร.9

 

เป็นเวลากว่าสองทศวรรษแล้วที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่นด้วยหลักการสอนง่าย ฟังง่าย เขียนง่าย และเข้าใจง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของโควิด-19 การศึกษาออนไลน์ได้รับความนิยมมากขึ้น และ DLTV ก็กลายเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ต้องการมากที่สุดสำหรับการสอนออนไลน์ โครงการนี้จึงได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย ปัจจุบันมี 15 ช่องรายการที่ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรองรับนักเรียนทุกระดับตั้งแต่เด็กปฐมวัยจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในช่วงเวลาเรียน

 

13 ตุลาคม \'วันนวมินทรมหาราช\' ศธ.น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงร.9

 

นอกเวลาเรียน DL TV ยังออกอากาศรายการความรู้ทั่วไปที่เหมาะสำหรับทุกกลุ่มอายุ ระบบกระจายเสียงได้รับการพัฒนาจากความคมชัดมาตรฐาน (SD) เป็นความคมชัดสูง (HD) ทำให้มั่นใจได้ถึงภาพการสอนที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย มีการเปลี่ยนจากการถ่ายทอดสดไปเป็นการบันทึกเทป ช่วยให้สามารถวางแผนและเตรียมรายการได้ดีขึ้น ขณะเดียวกันครูที่โรงเรียนปลายทางก็สามารถเข้าถึงโปรแกรมที่บันทึกไว้ แผนการสอน ใบงานและเอกสารอื่น ๆ ได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธิฯ ซึ่งมีเนื้อหาที่เผยแพร่ล่วงหน้าสามวัน ช่วยให้สามารถเตรียมการสอนได้ง่าย และใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

13 ตุลาคม \'วันนวมินทรมหาราช\' ศธ.น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงร.9

 

ภายใต้พระราชวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ส่งผลให้ระบบการศึกษาของประเทศไทยได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างน่าทึ่ง โครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ “ครูตู้” สามารถเชื่อมช่องว่างทางการศึกษาในประเทศไทย โดยไม่ทิ้งเด็กไว้ข้างหลัง นำการศึกษาไปสู่ทุกมุมของประเทศ ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระราชกรณียกิจอันยังประโยชน์แก่วงการศึกษาเหลือคณานับนี้ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ถวายพระราชสมัญญา​ “พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน” แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

 

 

13 ตุลาคม \'วันนวมินทรมหาราช\' ศธ.น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงร.9

 

เนื่องในวันที่ 13 ตุลาคม 2566 เป็นวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และรัฐบาลได้กำหนดให้เป็น “วันนวมินทรมหาราช” กระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงนักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนไทย น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงใส่พระราชหฤทัยต่อการศึกษาอย่างหาที่สุดมิได้ พร้อมเดินหน้าร่วมมือกับทุกองคาพยพที่เกี่ยวข้อง พัฒนาการศึกษาไทยให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืนด้วยแนวทาง “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” เพื่อให้ทุกคนในสังคมร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา สร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และนำพาประเทศชาติไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน สืบไป

 

 

ผลิตเนื้อหาโดย : กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดประทรวงศึกษาธิการ