ข่าว

ทำไม ‘ครู’ ต้องเข้าเวรปีใหม่ ระวังภัยให้รร.ในค่ำคืน ‘เคาท์ดาวน์’

ทำไม ‘ครู’ ต้องเข้าเวรปีใหม่ ระวังภัยให้รร.ในค่ำคืน ‘เคาท์ดาวน์’

31 ธ.ค. 2566

ทำไม ‘ครู’ ต้องเข้าเวรปีใหม่ เฝ้าระวังภัยให้โรงเรียน ต้อง ‘เคาท์ดาวน์’ คนเดียว เหมือนศธ. ลืมคืนความสุขให้ครู ครูก็เป็นคนธรรมดา มีครอบครัว อยากอยู่พร้อมหน้าญาติพี่น้อง ร้องผู้มีอำนาจ คืนวันเคาท์ดาวน์และวันหยุดให้ครูด้วย

วันนี้ช่วงสายๆ มีน้องๆ ที่เป็นครูผู้หญิงที่โรงเรียนเดียวกันโทรหา บอกว่า “ พี่แจ้งตำรวจให้หน่อย มีวัยรุ่นมาข้างระเบิดปิงปองในโรงเรียน” 

 

 

ทำไม ‘ครู’ ต้องเข้าเวรปีใหม่ ระวังภัยให้รร.ในค่ำคืน ‘เคาท์ดาวน์’

 

 

ส่วนตัวลืมไปแล้วว่า ยังมีคนที่ต้องทำงานในวันหยุด ที่ทุกคนต้องเดินทางกลับบ้าน เพื่ออยู่กับครอบครัว ทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่ เลยคิดต่อไปอีกว่าคืนนี้คงมีครูผู้ชายอีกคนต้องเคาท์ดาวน์ที่โรงเรียนเพียงคนเดียว อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะได้รับคำสั่งให้อยู่เวรยามรักษาความปลอดภัยที่โรงเรียนโดยไม่ใช่หน้าที่ และไม่นับเป็นผลงาน ความชอบ ใดๆ 

 

ทำไม ‘ครู’ ต้องเข้าเวรปีใหม่ ระวังภัยให้รร.ในค่ำคืน ‘เคาท์ดาวน์’

ยกเว้นหากไม่ทำ จะมีความผิดและผู้บังคับบัญชา(ผู้อำนวยการโรงเรียน) หลายท่านก็เข้มงวดเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ ด้วยเหตุผล เพื่อให้การรักษาความปลอดภัยและพิทักษ์รักษาคุ้มครองสถานที่ และทรัพย์สินของทางราชการ พ้นจากการจารกรรม โจรกรรม ก่อวินาศกรรม การบ่อนทำลาย อัคคีภัยและเหตุอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย 

 

 

เป็นไป ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ นร 0206/ว 107 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2542 เรื่อง การปรับปรุงแก้ไขหรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดเวรรักษาการณ์ ประจำสถานที่ราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ 

 

พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ

และคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ที่ 109/2550 สั่ง ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 เรื่อง การมอบอำนาจการปฏิบัติราชการแทนเกี่ยวกับลูกจ้างประจำ โรงเรียนจึงแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการและทรัพย์สินของ โรงเรียน ตลอดจนรับเรื่องการติดต่อราชการ 

 

นาย วีระชัย พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศึกษาธิการ

 

ดังรายชื่อต่อท้ายคำสั่งนี้ หากข้าราชการครู ลูกจ้างประจำ หรือ ลูกจ้างชั่วคราวคนใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งได้ ให้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเวร โดยจะต้องได้รับอนุญาตจาก ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายก่อน เป็นระเบียบที่กำหนดขึ้นเมื่อ 25 ปี ที่แล้ว 

 

นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ  และโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ

 

 

หลายปีที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) พยายามออกมาตรการ “คืนครูสู่ห้องเรียน” แต่เหมือนว่าจะลืม “คืนความสุขให้ครู” ครูก็เป็นคนธรรมดา มีครอบครัว  อยากอยู่พร้อมหน้าญาติพี่น้อง ขอร้องผู้มีอำนาจในศธ. คืนวันเคาท์ดาวน์และวันหยุดให้ครูด้วย

 

....ชัยวัฒน์  ปานนิล...รายงาน