ข่าว

อดีค อสส. เปิดประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 13

อดีค อสส. เปิดประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 13

31 ม.ค. 2566

'อรรถพล ใหฐ่สว่าง' เป็นประธานการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 13แลกเปลี่ยนความรู้ พัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาสตราจารย์พิเศษอรรถพล ใหญ่สว่าง อดีตอัยการสูงสุด ในฐานะ นายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 13 ภายใต้หัวข้อ “Frontier area-based research for sustainable development goals” เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายระดับชาติ ในการพัฒนาศักยภาพของสถาบันการศึกษาของไทย 

 

โดยการสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่การนำองค์ความรู้ไปใช้ในการพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมเพื่อขับเคลื่อนประเทศ การจัดงานครั้งนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 160 ผลงาน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 26 มกราคม ที่ผ่านมา

อดีค อสส. เปิดประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 13

ศาสตราจารย์พิเศษอรรถพล เปิดเผยว่า การจัดการประชุมวิชาการพะเยาวิจัยในทุก ๆ ปี นับเป็นการเปิดโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย นิสิต และนักศึกษา จากหลายสถาบัน ได้มานำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมจากศาสตร์ต่าง ๆ ซึ่งผลงานเหล่านั้นจะนำไปสู่การสืบสานปณิธานของมหาวิทยาลัยพะเยาที่ ว่า "ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน" และการพัฒนาประเทศสู่ระดับสากล 

 

จะเป็นกลไกหนึ่งที่มีส่วนขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยตามเป้าหมายการเป็นสู่การเป็น "Frontier area-base University" โดยเกิดการเสริมพลังจากการบูรณาการ การทำงานจากหลากหลายสถาบันที่ เกิดจากเครือข่ายความร่วมมือในการประชุมวิชาการนี้ รวมทั้งนำไปสู่การนำงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศให้เกิดความยั่งยืนให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustain development goals) ตามแนวทางของสหประชาชาติต่อไป

ซึ่งทางมหาวิทยาลัยพะเยาได้มีการจัดรูปแบบการนำเสนอผลงานในการประชุม วิชาการฯ ให้เป็นลักษณะ Hybrid โดยมีทั้งการนำเสนอแบบ Onsite Conference ณ มหาวิทยาลัยพะเยา และ Online Conference การจัดงานครั้งนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 160 ผลงาน ประกอบด้วย 1. กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ  จำนวน 19 ผลงาน 2. กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 103 ผลงาน 3. กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์   จำนวน 38 ผลงาน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ นิทรรศการของมหาวิทยาลัยพะเยา การประกวดนิทรรศการ 1 คณะ 1ชุมชนนวัตกรรม การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Innovation for Smart City) เมืองต้นแบบเทศบาลตำบลแม่ เหียะ" การประชุมสัมมนาวิชาการย่อย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งเป็นการจัด ครั้งที่ 1 และการมอบรางวัลให้กับนักวิจัยเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับนักวิจัยของมหาวิทยาลัย 

 

ด้าน ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ กล่าวว่า วัตถุประสงค์การจัดงานครั้งนี้ เพื่อเป็นเวทีการนำเสนอผลงานวิจัยในศาสตร์ต่าง ๆ มีเป้าหมายสูงสุดคือการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางสังคม สิ่งแวดล้อม ให้เกิดความยั่งยืน และเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ ในการแข่งข้นกับนานาอารยประเทศ และจะเป็นเวทีทางวิชาการเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายระดับชาติในการพัฒนาศักยภาพของสถาบันการศึกษาของไทย โดยการสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่การนำองค์ความรู้ไปใช้ในการพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมเพื่อขับเคลื่อนประเทศ ต่อไป

อดีค อสส. เปิดประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 13