ข่าว

ผ่าสพฐ.แยกตั้ง “สบม.”จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ทั้งภาครัฐ-เอกชน

ผ่าสพฐ.แยกตั้ง “สบม.”จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ทั้งภาครัฐ-เอกชน

13 ก.พ. 2567

สองทศวรรษ สพฐ.จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถึงเวลาแยก รร.มัธยมศึกษา โอนไปสังกัด สำนักบริหารการมัธยมศึกษา หรือ “สบม.” รับผิดชอบจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา (ม.1-ม.6) ครอบคลุมภาครัฐและเอกชน ทั้งในส่วนกลาง-ภูมิภาค

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) รับผิดชอบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเด็กและเยาวชนไทย มายาวนาน จวบจนปี2567 จะก้าวสู่ปีที่ 21 หรือ สองทศวรรษ เพราะได้สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2546 

ผ่าสพฐ.แยกตั้ง “สบม.”จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ทั้งภาครัฐ-เอกชน

หาก สพฐ.เป็นปุถุชนคนหนึ่ง อาจถือได้ว่าอยู่ในช่วงวัยรุ่น ที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ในอนาคต แต่เมื่อเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย กล่าวได้ว่า สพฐ. ก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่อย่างเต็มตัว พร้อมทำงานอย่างแข็งขันเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของทรัพยากรบุคคลในประเทศ 

 

 

สพฐ.มีขนาดใหญ่โตเทอะทะ

สองทศวรรษ สพฐ.มีสถานศึกษาในสังกัดจำนวนมาก ประมาณกว่า 39,000 โรงเรียน แต่ส่วนใหญ่รับผิดชอบจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาถึงร้อยะล 90 ของสถานศึกษาในประเทศ ขณะเดียวกัน สพฐ.ยังรับผิดชอบจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา อีกด้วย ทำให้สพฐ.เป็นหนึ่งใน 5 องค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีขนาดใหญ่โตเทอะทะ ขาดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ

 

 

อีกทั้ง โรงเรียนมัธยมศึกษา ภายใต้ชายคา สพฐ. ถูกละเลยในบางมิติ ทำให้การพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย เพื่อก้าวสู่ศตวรรษที่21 ไม่สามารถยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของไทย ให้ทัดเทียมกับนานาชาติได้ เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เมื่อสถานศึกษามีความแตกต่างกัน ระหว่างโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและโรงเรียนชายขอบ ล่าสุดมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับ สพฐ.

 

ผ่าสพฐ.แยกตั้ง “สบม.”จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ทั้งภาครัฐ-เอกชน

ผ่าสพฐ.แยกตั้ง สบม.

ล่าสุด ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2567 นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ครม.มีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานพิจารณาศึกษา เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงศึกษาการ (ศธ.) เพื่อจัดตั้งสำนักบริหารการมัธยมศึกษา (สบม.) ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา (คณะกมธ.การศึกษา วุฒิสภา) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ เสนอ

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกรัฐบาล

 

 

โดยคณะกมธ.การศึกษา วุฒิสภา ได้พิจารณาศึกษา เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้าง ศธ. เพื่อจัดตั้ง สบม  มีข้อเสนอแนะ ดังนี้

 

1.ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้าง ศธ. เพื่อขับเคลื่อนภารกิจการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยให้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารของ สพฐ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยไม่มีเพิ่มหน่วยงาน เป็นการบูรณาการรวมสำนักซึ่งมีภารกิจใกล้เคียงกันเข้าด้วยกันและปรับปรุงหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเป็นการภายใน ได้แก่ สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย (สมป.) เป็นหน่วยงานในโครงสร้างให้มีชื่อใหม่ว่า “สบม.”

 

 

2.ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ สบม.

 

2.1 วัตถุประสงค์ เป็นหน่วยงานกลางในการรวบรวมและจัดทำข้อมูลสารสนเทศในทุกด้านของโรงเรียนมัธยมศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น

 

2.2 หน้าที่และความรับผิดชอบ ส่งเสริม สนับสนุนงานนโยบายของรัฐบาลและ ศธ. สำหรับการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

 

2.3 การแบ่งส่วนราชการภายใน สบม. แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มบริหารทั่วไป กลุ่มนโยบายและแผน กลุ่มส่งเสริมทรัพยากรบุคคล กลุ่มพัฒนาคุณภาพวิชาการและการจัดการศึกษา กลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการมัธยมศึกษา และกลุ่มวิจัยพัฒนาสื่อและดิจิทัลทางการศึกษา

 

“การปรับปรุงโครงสร้างศธ. เพื่อให้ขับเคลื่อนภารกิจจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น รวมถึงเพื่อเป็นหน่วยงานในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ การจัดตั้ง สบม. ต้องเชื่อมโยงระหว่าง สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และโรงเรียนมัธยมศึกษา รวมทั้งมีความเชื่อมโยงกันทั้งระบบในหน่วยงานส่วนกลางและภูมิภาค” รองโฆษกรัฐบาล แจกแจงภารกิจ สบม.

 

 

ถึงวันนี้ เรียกได้ว่าปิดฉาก สพฐ.องค์กรขนาดใหญ่โตเทอะทะ ไม่ต้องแบกรับภาระการจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาระดับก่อนปฐมวัย  การศึกษาระดับประถมศึกษา และการศึกษาระดับมัธยมศึกษา เอาไว้เพียงหน่วยงานเดียวอีกต่อไป 

 

 

เมื่อ สบม.รับหน้าเสื่อเข้ามาดูแลจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ครอบคลุมทั้งโรงเรียนภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 

 

 

เหมือนเช่นในอดีต ที่การจัดการศึกษาระดับมัธมศึกษา อยู่ในสังกัดของกรมสามัญศึกษา ยุค 14 องค์ชาย ที่เจริญรุ่งเรืองสุดเฟื่องฟู นับเป็นยุคทองของการมัธยมศึกษา นั่นเอง.