บันเทิง

กศน.สวนกลับ "พิมรี่พาย" ตั้งคำถาม 2 ข้อ หมู่บ้านไม่มีไฟฟ้า การศึกษาเข้าไม่ถึง คลิปมุมสูงที่พิมรี่พายถ่ายไว้หลักฐานชัดเจน

กศน.สวนกลับ "พิมรี่พาย" ตั้งคำถาม 2 ข้อ หมู่บ้านไม่มีไฟฟ้า การศึกษาเข้าไม่ถึง คลิปมุมสูงที่พิมรี่พายถ่ายไว้หลักฐานชัดเจน

10 ม.ค. 2564

กศน.สวนกลับ "พิมรี่พาย" ตั้งคำถาม 2 ข้อ หมู่บ้านไม่มีไฟฟ้า การศึกษาเข้าไม่ถึง คลิปมุมสูงที่พิมรี่พายถ่ายไว้หลักฐานชัดเจน อยากให้ทุกคนได้เข้าไปในเพจ ของ ศศช.บ้านแม่เกิบ จะอธิบายเอาไว้หลายอย่าง

จากกรณี “พิมรี่พาย” หรือ พิมพ์พรรณ สรัลรัชญ์ แม่ค้าออนไลน์  ช่วยเหลือน้องๆที่อยู่บนดอยสูง  ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่  ด้วยการทุ่มเงินกว่า 5 แสนให้เด็กๆบนดอยได้มีไฟฟ้าใช้กัน ด้วยการนำแผงโซลาร์เซลล์ขึ้นมาติดตั้ง ซื้อโทรทัศน์ จัดหาอุปกรณ์สร้างแปลงผัก  และสิ่งของอุปโภคบริโภคต่างๆ ให้แก่เด็กๆ จนกระทั่งเกิดกระแสในโลกออนไลน์อย่างหนัก กลายเป็นประเด็นดราม่าเรื่องการเข้าไปช่วยเหลือเด็กจนนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างหลากหลายแง่มุม 

อ่านข่าว : อาจารย์ ม.ดัง จวก "พิมรี่พาย" สานฝันเด็กดอย มันไม่ใช่ความฝันของเด็ก มันคือความฝันอยากจะโปรดสัตว์ชนชั้นล่าง ของพวกชนชั้นกลางมากกว่า

กศน.สวนกลับ \"พิมรี่พาย\" ตั้งคำถาม 2 ข้อ หมู่บ้านไม่มีไฟฟ้า การศึกษาเข้าไม่ถึง คลิปมุมสูงที่พิมรี่พายถ่ายไว้หลักฐานชัดเจน

ล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊ก อรณี แสงมณี ได้โพสต์ชี้แจงถึงเรื่องราวดังกล่าว หลังจากยูทูปเบอร์ชื่อดัง พิมรี่พาย ทำให้หน่วยงานของ ศศช.เกิดความไม่สบายใจ ถึงเรื่องราวบางอย่างที่คลาดเคลื่อน โดยระบุรายละเอียดบางช่วงบางตอนดังนี้ 

เนื่องจากมีกระแสในโลกออนไลน์จากยูทูปเบอร์ชื่อดังคนหนึ่ง และเราได้มีส่วนร่วมในการทำงานของ ศศช. ทำให้เกิดความไม่สบายใจ และมีข้อมูลบางอย่างที่คลาดเคลื่อนจึงขออนุญาต​ใช้พื้นที่เล็กๆ​แนะนำให้ทุกท่านรู้จัก​ ศศช.หรือศูนย์​การเรียน​ชุมชน​ชาวไทย​ภูเขา ​"แม่ฟ้าหลวง" เป็นสถานศึกษา​ในสังกัด​ สำนักงาน​ กศน.กระทรวง​ศึกษาธิการ​ เป็นการจัดการศึกษา​ชุมชนที่ยึดชุมชนเป็นหลัก​ จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ประชาชนทั้งชุมชน​ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ทั้งการศึกษา​ต่อ​ มีอาชีพ​ และพัฒนาอาชีพของตนเอง​ ให้สามารถ​ดำรงชีวิตด้วยความสมดุลของธรรมชาติ​และสิ่งแวดล้อม​และนำมาเป็นส่วนร่วมในการจัดการศึกษา​ให้กับชุมชน​ มามากกว่า​ 40​ กว่าปีปกติครูทำหน้าที่สอนเด็กและประชาชนในชุมชน เป็นการจัดการศึกษาตามบริบทชุมชนและโครงการอื่นๆในพื้นที่จากหลายหน่วยงานโดยให้​ ครู​ศศช.เป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการ​ (บาง​ ศศช.เป็น​ 10 โครงการก็มี)​ 

และมักมีเครือข่ายมาให้การสนับสนุนอยู่บ่อยๆทั้งเรื่องของ​ อาคารเรียน​ ศศช.​ ที่จะถูกสร้างการสนับสนุนจากผู้ที่สนใจ​ (แต่เดิมชาวบ้านในชุมชนเป็นคนสร้างอาคาร​ ศศช.)​ข้าวของเครื่องใช้​ อาหารและยารักษาโรค​ต่างๆ​ ก็ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐตามพื้นฐาน​หรือจากผู้ให้การสนับสนุนด้วยพื้นที่ห่างไกล​ ระบบการใช้พลังงานไฟฟ้าไปไม่ถึงในบางพื้นที่ใช้พลังงานทดแทน​  พลังงานแสงอาทิตย์​  หรือน้ำ​ แต่อาจจะไม่ได้มีทั้งชุมชนภายใน​ ศศช.​ จะมีพลังงานทดแทนเหล่านี้สำหรับกิจกรรมการเรียนการสอนภายใน​ ศศช.

โดยบางช่วงบางตอน ได้มีการตั้งคำถามกลับไปว่า 

อยากอธิบายว่า
ประเด็นที่ 1 เด็กในพื้นที่ที่เขาไม่รู้จัก”ไข่เจียว” เนื่องจากเขาเรียกกันว่า “ทอดไข่”
ประเด็นที่ 2 ถ้าเด็กๆไม่รู้จักวิธีปลูกผัก เขาจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร ถ้าไม่มีผักรับประทาน
**และยังมีประเด็นอื่นๆ ที่น่าคิด เช่น ในคลิปบอกว่าในหมู่บ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ การศึกษาเข้าไม่ถึง แต่ในคลิปของยูทูปเบอร์ท่านนั้นที่ถ่ายตอนต้นคลิป(มุมสูง) ยังมีจานดาวเทียมตั้งตระง่านอยู่ในหมู่บ้านเลย คือ??
*** อยากให้ทุกท่านได้เข้าไปดูในเพจของ ศศช.บ้านแม่เกิบ
 จะช่วยอธิบายอะไรหลายๆอย่าง เพื่อความเป็นกลางค่ะ ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ