ข่าว

เปิดสมรรถนะ 'เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Nimitz' เรือรบที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เปิดสมรรถนะ 'เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Nimitz' เรือรบที่ใหญ่ที่สุดในโลก

27 เม.ย. 2566

เปิดสมรรถนะ 'เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Nimitz' หนึ่งในเรือรบที่ใหญ่ที่สุดในโลก ของกองทัพเรือสหรัฐฯ หลังจอดเทียบท่า เยือนไทย เป็นครั้งแรก

“เรือบรรทุกเครื่องบิน USS NIMITZ “ แห่งกองทัพเรือสหรัฐฯ จอดเทียบท่า ที่ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือจุกเสม็ด จ.ชลบุรี เป็นการเดินทางเยือนประเทศไทย ในโอกาสเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ-ไทย และเพื่อฉลองวาระครบรอบ 190 ปี แห่งความสัมพันธ์ทางการทูตสหรัฐฯ-ไทย ในระหว่างวันที่ 24-29 เม.ย. 2566 

 

 

“เรือบรรทุกเครื่องบิน USS NIMITZ” เป็นส่วนหนึ่งของกองเรือจู่โจมที่ 11 (CSG-11)  เป็นกองกำลังทางทะเล ภายใต้ผู้บัญชาการกำลังรบ ซึ่งมีศักยภาพในการตอบสนอง และปรับตัวรับสถานการณ์ได้ดีในทุกสภาพอากาศ โดยสามารถดำเนินปฏิบัติการความมั่นคงทางทะเล รับมือภัยพิบัติ ตลอดจนผดุงไว้ ซึ่งประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาและชาติภาคีทั่วโลก

 

เรือบรรทุกเครื่องบิน USS NIMITZ

ประวัติความเป็นมา เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Nimitz

 

สำหรับ เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Nimitz (นิมิตซ์) เป็นหนึ่งในเรือรบที่ใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยความยาวกว่า 333 เมตร ระวางขับน้ำถึง 100,000 ตัน สามารถปฏิบัติงานได้นานถึง 20 ปี โดยที่ไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงเลย โดยเรือถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้นาน 50 ปี

 

 

ประจำการที่ฐานทัพเรือนอร์ฟอล์ค จนกระทั่งปี 1987 ได้ย้ายไปยัง Puget Sound Naval Shipyard ในวอชิงตัน ในปี 2001 นิมิตซ์ได้ย้ายไปยัง NAS North Island ในซานดิเอโก้ แคลิฟอร์เนีย และย้ายครั้งสุดท้าย ปี ค.ศ. 2010 ไปยังฐานทัพเรือ Everett ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายของกองทัพเรือลงไปได้ถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

 

เรือ USS Nimitz ประจำการเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2518 ขนานนามเพื่อเป็นเกียรติแก่จอมพลเรือ เชสเตอร์ ดับเบิลยู. นิมิตซ์ ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในฐานะผู้บัญชาการกองเรือภาคพื้นแปซิฟิก ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย Nimitz เป็นเรือลำเดียวในชั้นเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ ที่ใช้นามสกุลเป็นชื่อเรือ

 

ภารกิจของเรือ USS Nimitz และฝูงบินประจำเรือคือ การปฏิบัติการทางอากาศ และสนับสนุนยุทธศาสตร์ทางทะเลในส่วนหน้า ลำเรือยาว 1,092 ฟุต กว้าง 252 ฟุต และสูง 244 ฟุต (เทียบเท่าตึก 23 ชั้น) ระวางขับน้ำของเรือเท่ากับ 97,000 ตัน และใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 2 เครื่อง เพื่อขับเคลื่อนได้เป็นระยะไกลและเป็นเวลานานโดยแทบไม่มีข้อจำกัด เรือมีความเร็วสูงสุดมากกว่า 30 นอต ส่วนดาดฟ้าบินที่กว้างที่สุดวัดได้ 257 ฟุต (78 เมตร)

 

  เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Nimitz

สมรรถนะ เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Nimitz

 

- เรือ USS Nimitz (CVN 68) เรือธงของ CSG 11 มีศักยภาพด้านการควบคุมทะเล การโจมตีเป้าหมายหลายประเภท ปฏิบัติการความมั่นคงทางทะเล การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงการฝึกร่วมและผสมในพื้นที่ปฏิบัติการต่างๆ

- ฝูงบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบินที่ 17 (CVW 17) ประกอบด้วยอากาศยานต่าง ๆ ใน 9 กองบิน เช่น

 

  • เครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet
  • เครื่องบินโจมตีทางอิเล็กทรอนิกส์ E/A-18G Growler
  • เครื่องบินบังคับบัญชาและควบคุมทางอากาศ E-2C Hawkeye
  • เฮลิคอปเตอร์ MH-60R/S Sea Hawk
  • เครื่องบินลำเลียง C-2A Greyhound

 

- หมู่เรือพิฆาตที่ 9 (DESRON 9) และเรือ USS Bunker Hill (CG 52) ประกอบด้วยเรือ เช่น

- เรือพิฆาตติดอาวุธนำวิถีชั้น Arleigh Burke

- เรือลาดตระเวนติดอาวุธนำวิถีชั้น Ticonderoga

 

             เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Nimitz

 

ปฏิบัติการบิน

 

ลิฟต์ 4 ตัวของเรือลำเลียงอากาศยาน และอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ บนดาดฟ้า บินได้อย่างรวดเร็ว โดยแต่ละตัวสามารถขนส่งสิ่งของน้ำหนักกว่า 130,000 ปอนด์ หรือเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet 2 ลำ ที่บรรจุเต็มกำลัง บรรทุกไปยังดาดฟ้าบินได้ นอกจากนี้ ยังมีลิฟต์สำหรับยุทโธปกรณ์อีก 9 ตัว ตั้งอยู่ในโรงเก็บเครื่องบิน เพื่อขนส่งสรรพาวุธจากคลังแสงของเรือ ขึ้นไปยังโรงเก็บเครื่องบินและดาดฟ้าบิน

 

ปัจจุบัน เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Nimitz ประจำการที่เมืองเบรเมอร์ตัน รัฐวอชิงตัน และมีลูกเรือชายหญิง รวมประมาณ 4,600 คน ซึ่งรวมทั้งผู้ที่ประจำการบนเรือ โดยออกเดินทางจากเมืองเบรเมอร์ตัน รัฐวอชิงตัน เพื่อปฏิบัติการทั่วไป ในเดือน พ.ย. 2565 โดยได้เข้าร่วมฝึกร่วมผสมหลายครั้ง และปฏิบัติการตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายในพื้นที่รับผิดชอบของกองเรือที่ 7 แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งรวมทั้งทะเลจีนใต้ และทะเลฟิลิปปินส์ ถือว่ามีจำนวนการขึ้นฝั่งสูงสุดรองลงมาที่ 326,600 ครั้ง

 

“เรือบรรทุกเครื่องบิน USS NIMITZ “ แห่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เยือนไทย

 

โดยกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 11 ได้ปฏิบัติภารกิจการลาดตระเวน และฝึกร่วมกับชาติพันธมิตรในพื้นที่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ก่อนที่จะเดินทางเข้าเยี่ยมเยือนเมืองท่าประเทศไทย โดยมีกำหนดการเดินทางกลับ ในวันที่ 29 เม.ย 2566 เพื่อปฏิบัติภารกิจภายใต้กองเรือที่ 7 ต่อไป

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล : วิกิพีเดีย,สถานทูตสหรัฐฯและสถานกงสุลในประเทศไทย,