ข่าว

ภัยร้ายใกล้ตัว "มะเร็งตับอ่อน" คร่าชีวิตคนรัก ต้นเหตุมาจากการใช้ตู้เย็น

สาวแชร์ประสบการณ์เตือนภัย หยุด 3 พฤติกรรมการใช้ตู้เย็น ถ้าไม่อยากเป็น "มะเร็งตับอ่อน" หลังโรคร้ายคร่าชีวิตแม่เพราะใช้ตู้เย็นแบบผิดๆ

กลายเป็นเรื่องน่าตกใจ และเตือนภัยเป็นอุทาหรณ์ เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ตู้เย็นของทุกครัวเรือน หากมีพฤติกรรมตาม 3 ข้อนี้ เสี่ยงเป็นโรคร้าย "มะเร็งตับอ่อน"

 

สื่อต่างประเทศรายงานเรื่องราวเคสผู้ป่วยสาวชาวจีนวัย 66 ปี โดยลูกสาวของเธอชื่อ จ้าว หมิงเว่ย ได้ให้สัมภาษณ์ระบุว่า แม่ของเธออายุ 66 ปี ซึ่งอยู่ในวัยเกษียณ มักมีอาการไข้สูงลอย อยุ่มี่ 38.5 – 39 องศาฯ และมีอาการน้ำหนักตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังอาการเริ่มไม่น่าไว้วางใจ จึงพาแม่ของเธอไปตรวจ หลังการตรววินิจฉัยหมอพบก้อนเนื้อขนาด 1 ซม. บริเวณ ตับอ่อน หลักส่งชิ้นเนื้อตรวจผลวินิจฉัยระบุว่า เป็นเนื้อร้าย แม่ของเธอเป็น "มะเร็งตับอ่อน"

ทีมแพทย์ทำการผ่าตัดเอาตับอ่อน ถุงน้ำดี และลำไส้เล็กบางส่วนออก หลังการรักษา 1 ปีเธอกลับมามีอาการคล้ายเดิมอีกครั้งคือมีไข้ น้ำหนักลดลงเหมือนเดิม เมื่อไปตรวจอีกครั้งพบก้อนมะเร็งอีก ทีมแพทย์ได้ให้เคมีบำบัด หลังการรักษาผ่านไป 1 ปี 2 เดือน แม่ของเธอได้จากไปจากโรคร้าย "มะเร็งตับอ่อน"

 

 

 

ข้อมูลจาก : ETtoday

เธอ เผยถึงพฤติกรรมการใช้ตู้เย็นของแม่เธอ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุ ต้นตอของโรค "มะเร็งตับอ่อน" นี้

 

  • หลายคนคงเข้าใจผิดว่าของต่างๆ สามารถรักษาความสดได้ ตราบใดที่ใส่ในตู้เย็น แต่ความเป็นจริงๆ แล้ว เป็นเพียงการชะลอ"การเน่าเสียเท่านั้น
  • แม่เธอไม่ทิ้งสิ่งของ ทั้งผัก ผลไม้ และวัตถุดิบประกอบอาหารที่ขึ้นรา ซึ่งรานี้เป็นต้นเหตุของโรคมะเร็งเพราะเมื่อราดำขึ้นที่วัตถุดิบต่างๆ นั่นคือสารก่อมะเร็งชั้นดี “อะฟลาท็อกซิล”
  • การแช่อาหารโดยไม่มีการปิดให้สนิท ปล่อยให้เชื้อโรคข้างในฟุ้งกระจาย ติดไปกับวัตถุดิบทุกส่วนในตู้เย็น  รวมถึงสารก่อมะเร็งชั้นดี “อะฟลาท็อกซิล” ที่อยู่ในเชื้อราด้วย

 

 

ตู้เย็นเป็นสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง ซึ่งแบคทีเรียและเชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ง่าย เพียงแค่ใส่สิ่งของต่างๆ ลงในตู้เย็นโดยไม่มีการปิดฝา แบคทีเรียและเชื้อราจะเติบโตได้ง่ายมาก

 

 

 

ขณะที่ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก เปิดเผยรายงานว่า "อะฟลาทอกซิน" เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ โดยสารอะฟลาท็อกซินถูกสร้างจากเชื้อราในตระกูล Aspergillus มักพบปนเปื้อนผลผลิตทางการเกษตร หากเก็บไว้ในที่ที่อุณหภูมิและความชื้นสูง เช่น ข้าวโพด ถั่วลิสง และเมล็ดธัญพืชต่าง ๆ พริกไทย พริกป่น กระเทียม หอมแดง เป็นต้น สารอะฟลาท็อกซินเป็นอันตรายทั้งในมนุษย์และสัตว์ มีความสามารถในการทนความร้อนได้สูง ซึ่งความร้อนที่ใช้ในการหุงต้มอาหาร

 

 

โดยทั่วไปตามบ้านเรือนนั้น ไม่สามารถทำลายสาร "อะฟลาทอกซิน" ดังกล่าวให้หมดไปได้ เมื่อมีการปนเปื้อนสารพิษดังกล่าวในอาหารและร่างกายได้รับสารนี้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ เช่น โรคตับอักเสบเรื้อรัง และมะเร็งตับ เป็นต้น ซึ่งความเป็นพิษที่ส่งผลต่อร่างกายของแต่ละบุคคลจะมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณที่รับสารพิษนั้นๆ ความถี่ที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย อายุ และความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายในแต่ละตัวบุคคล

 

 

ทั้งนี้ ควรเลือกซื้ออาหารที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์ ไม่แตกหรือชำรุด มีส่วนประกอบและมาตรฐานความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ และซื้อวัตถุดิบในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อความสดใหม่ ลดเวลาในการเก็บวัตถุดิบไม่ให้นานเกินไปและจัดเก็บอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงที่ที่อุณหภูมิและความชื้นสูง

 

ข่าวที่น่าสนใจ