เช็กด่วน! 2 อาการก่อนนอน สัญญาณเตือนอันตราย "โรคมะเร็ง"
เช็กด่วน! 2 อาการก่อนนอน สัญญาณเตือนอันตราย "โรคมะเร็ง" ใครมีอาการเหล่านี้ พบหมอโดยด่วน อย่าชะล่าใจเด็ดขาด!
การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสร็จ ถือเป็นวลีที่เป็นอมตะ เพราะใครๆ ก็ปรารถนาที่จะสุขภาพดีไปตลอด แต่โรคร้ายมักเข้ามาแบบที่เราไม่ทันได้ตั้งตัว มะเร็งถือเป็นโรคอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตคนจากทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย แม้ว่าวิทยาการทางการแพทย์จะก้าวหน้าไปอย่างมาก แต่การหมั่นสังเกตอาการ และการตรวจพบก่อนลุกลามจะช่วยลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น
Cancer Research UK เผยแพร่การศึกษาวิจัยระบุว่า ก่อนนอนหากใครมี 2 สัญญาณเตือนนี้ พบแพทย์ด่วนๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคมะเร็ง ห้ามชะล่าใจปล่อยปละละเลยเด็ดขาด
โดยผลการวิจัยระบุว่า อาการนอนไม่หลับ และอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน แม้อากาศในห้องจะเย็น อาจเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ แต่หากประสบปัญหาเหล่านี้บ่อยครั้งโดยหาสาเหตุไม่ได้ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย
อาการนอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับยาก จากข้อมูลของ British National Health Service (NHS) พบว่า 1 ใน 3 ของ ของผู้คนจะประสบปัญหาการนอนหลับนี้ โดยอาการนอนไม่หลับอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ความเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บ
ขณะที่ Cancer Research UK อธิบายว่า การนอนไม่หลับอาจเป็นผลมาจากอาการอื่นๆ ของมะเร็ง เช่น หากคุณมีความเจ็บปวด เมื่อยล้าผิดปกติ หรือคลื่นไส้ อาเจียน รวมถึงวิงเวียนศรีษะ อาจต้องรีบไปหาหมอ "หากคุณมีอาการนอนไม่หลับเป็นประจำ มันจะส่งผลต่อชีวิตประจำวันของคุณ คุณอาจรู้สึกเหนื่อยมากและมีพลังงานต่ำ นอกจากนี้อาจไม่มีสมาธิ หงุดหงิด อยู่บ่อยครั้ง”
เหงื่อออกตอนกลางคืน
ไม่ใช่เรื่องแปลกหากมีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน เพราะคุณปิดแอร์ หรือไม่ได้เปิดพัดลม และถ้าอุณหภูมิในห้องคุณหนาวเย็น แล้วคุณเหงื่อออกแม้ไม่ได้ห่มผ้า ประกอบกับมีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ จากการเก็บข้อมูลพบว่า อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาจทำให้เหงื่อออกได้เอง นอกจากนี้ยังอาจเป็นผลข้างเคียงของยาหรือการติดเชื้ออีกด้วย
อย่างไรก็ตามหากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับร่างกาย เช่น มีไข้ผิดปกติ เหนื่อยล้า น้ำหนักลดลงเร็ว เหงื่ออกตอนกลางคืน วิงเวียนศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน หรืออาการผิดปกติอื่นที่ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย หรือหมั่นตรวจสุขภาพประจำจำปี หรือทุกๆ 6 เดือน เพื่อสุขภาพที่ดี และห่างไกลโรค
ที่มา : soha