ข่าว

ใจสลาย! สาวสวยดีกรี ป.เอก ติดเชื้อ HIV ทั้งที่ไม่เคยมีสัมพันธ์ชาย

ใจสลาย! สาวสวยดีกรี ป.เอก ติดเชื้อ HIV ทั้งที่ไม่เคยมีสัมพันธ์ชาย

06 ม.ค. 2568

ตายทั้งเป็น! สาวสวยดีกรี ป.เอกใจสลาย ติดเชื้อ HIV ทั้งที่ไม่เคยมีสัมพันธ์กับชาย หมอสืบจนเจอสาเหตุ เชื้อมาจากคลินิกทำฟัน

กลายเป็นเรื่องราวที่ช็อกไปทั้งโลก หลังสื่อต่างประเทศ รายงานเรื่องร้ายที่เกิดขึ้นกับสาวสวยชาวจีนรายหนึ่ง ดีกรีนักศึกษาปริญญาเอก วัย 27 ปี ทำให้เธอฝันร้ายไปทั้งชีวิต ที่จู่ๆ เมื่อเธอตรวจสุขภาพประจำปี ทางทีมแพทย์โทรมาแจ้งว่า พบเชื้อ HIV ทั้งๆ ที่ไม่เคยมีเซ็กส์เลยสักครั้ง 

 

ใจสลาย! สาวสวยดีกรี ป.เอก ติดเชื้อ HIV ทั้งที่ไม่เคยมีสัมพันธ์ชาย

หลังจากได้รับข่าว นักศึกษาปริญญาเอกก็บอกกับเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรคทันทีว่า “ต้องมีข้อผิดพลาด ฉันไม่มีโอกาสติดเชื้อ” เจ้าหน้าที่แนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบโดยละเอียดอีกครั้ง แต่ผลตรวจยิ่งทำให้เธอตายทั้งเป็น เพราะยืนยันว่าในร่างเธอพบเชื้อ HIV 

 


Lin Xiao สาวสวยชาวจีน วัย 27 ปี ดีกรีนักศึกษาปริญยาเอก เปิดใจเล่าให้ฟังว่า  เธอให้ความสำคัญและใส่ใจกับการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลเป็นอย่างมาก ไม่เคยทำกิจกรรมใดๆ ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV แม้บริจาคเลือดเธอก็ไม่เคยตลอด 27 ปีที่ผ่านมา และเธอยืนยันว่าตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบันเธอโสดและไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อผลตรวจยืนยันว่าเธอมีเชื้อ เธอใจสลายมากเหมือนตายทั้งเป็น 

 

แพทย์พยายามซักประวัติหาสาเหตุการก่อโรค เธอยืนยันว่าไม่เคยศัลยกรรม ตกแต่งใบหน้าใดๆ ทั้งสิ้น แต่เมื่อแพทย์ถามว่าเธอเคยทำฟัน หรือผ่าตัดช่องปากไหม เธอ ก็ต้องชะงักและย้อนคิดและเผยว่า  เธอไปที่คลินิกเอกชนเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งตอนแรกเธอตั้งใจจะไปโรงพยาบาลใหญ่ แต่เนื่องจากคนเยอะ เธอจึงเลือกไปที่นั่น เพราะไม่ต้องรอเวลานาน


 

อย่างไรก็ตาม แพทย์บอกเธอว่า เธอน่าจะติดเชื้อระหว่างการทำความสะอาดฟันในคลินิกเอกชนนั้น  เนื่องจากที่คลินิกเล็ก ๆ บางแห่งไม่เหมือนกับโรงพยาบาล จะไม่มีการตรวจเลือดของผู้เข้ามารับการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดเล็ก ๆ รวมถึงถอนฟัน หรือขูดหินปูนก็ตาม เพื่อตรวจเช็กว่ามีการติดเชื้อใด ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคติดต่อหรือไม่ เช่น ซิฟิลิส เอชเอวีและไวรัสตับอักเสบบี นอกจากนี้การฆ่าเชื้ออุปกรณ์ก็อาจไม่ปลอดภัย หลังเรื่องราวดังกล่าวกลายเป็นไวรัล ชาวเน็ตแห่ให้กำลังใจ และจวกยับถึงคลินิกดังกล่าว 

ใจสลาย! สาวสวยดีกรี ป.เอก ติดเชื้อ HIV ทั้งที่ไม่เคยมีสัมพันธ์ชาย


3 มกราคม 2568 ขณะที่นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีมีรายงานข่าวนักศึกษาหญิงปริญญาเอกติดเชื้อ HIV ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นจากแหล่งข่าวเป็นข่าวจากประเทศจีน โดยทางศูนย์การควบคุมและป้องกันโรคของจีนสันนิษฐานว่าเกิดจากการติดเชื้อหลังจากไปใช้บริการคลินิกทันตกรรมแห่งหนึ่งที่ไม่ได้มาตรฐาน

 

เอดส์เกิดจากการติดเชื้อ HIV ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของคน เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ สามารถติดต่อผ่าน 3 ทาง คือ 

 

  1. ทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน  
  2.  ทางเลือด เช่น การใช้เข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีดยาร่วมกัน การใช้อุปกรณ์ของมีคมที่ปนเปื้อนเลือดร่วมกัน โดยไม่ทำความสะอาดอุปกรณ์ให้สะอาดเพียงพอ รวมถึงการสัมผัสเลือดของผู้ติดเชื้อผ่านแผลเปิดของตนเอง 
  3. จากมารดาสู่ทารก ในระหว่างการตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และการให้นมบุตรในมารดาที่ไม่ได้รับยาต้านไวรัส หรือรับประทานยาแต่ไม่สม่ำเสมอและต่อเนื่อง สำหรับในกรณีการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่ไม่ได้มาตรฐานสามารถทำให้เกิดการติด HIV รวมถึงกลุ่มโรคติดต่อทางเลือดอื่น ๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบ ได้ 

ซึ่งประเทศไทย ได้มีการควบคุมดูแลมาตรฐานสถานพยาบาลให้ใช้เครื่องมือ  ปลอดเชื้อ ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 กำหนดครบถ้วนทั้ง 5 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย 1.สถานที่สะอาด ปลอดภัย มีห้องให้บริการเป็นสัดส่วนมิดชิด 2. มีทันตแพทย์ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพทันตกรรมจากทันตแพทย์สภาเป็นผู้ดำเนินการ 3. การบริการเป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน 4. มียาและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ฆ่าเชื้อเครื่องมือแพทย์ โดยเฉพาะการควบคุมมาตรฐานความสะอาดของเครื่องมือแพทย์ที่สามารถนำมาใช้ซ้ำจะต้องมีการทำให้ปราศจากเชื้อโรค (Sterilization) และ 5. มีชุดช่วยชีวิตฉุกเฉินเบื้องต้น เพื่อป้องกันอันตราย

นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า HIV สามารถป้องกันได้โดย
 

  1. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์  ที่ไม่ปลอดภัย  
  2. ตรวจคัดกรองโรคสม่ำเสมอเมื่อมีพฤติกรรมเสี่ยง หากติดเชื้อให้เข้าสู่ระบบการรักษาทันทีเพื่อป้องกันการถ่ายถอดเชื้อไปยังคู่ 
  3. กินยาป้องกันก่อนและหลังสัมผัสเชื้อ ได้แก่ ยาเพร็พ (Pre-Exposure Prophylaxis: PrEP) ซึ่งเป็นยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อหรือก่อน มีความเสี่ยง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยจากการติดเชื้อ HIV แต่ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆได้ จึงยังจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และ ยาเป็ป (Post-Exposure Prophylaxis: PEP) ซึ่งเป็นยาป้องกันการติดเชื้อ HIV 


ในกรณีฉุกเฉินหลังเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น เข็มตำ ถุงยางอนามัยฉีกขาดขณะมีเพศสัมพันธ์ มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น โดยต้องรับประทานให้เร็วที่สุดภายใน 72 ชั่วโมง หลังมีความเสี่ยง ยิ่งรับประทานยาเร็วประสิทธิภาพ ในการป้องกันจะยิ่งดี 4. ไม่ใช้เข็มและกระบอกฉีดยา รวมถึงของที่ปนเปื้อนเลือดกับผู้อื่น นอกจากนี้ยังแนะนำหญิงตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์ครั้งแรกที่อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ เพื่อตรวจหาการติดเชื้อ HIV 


หากพบการติดเชื้อให้เริ่มยาต้าน HIV โดยเร็วที่สุด และรับประทานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อลดโอกาสส่งต่อเชื้อไปยังทารก หากท่านมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

ที่มา : nexuslaboratories,tintuconline