ข่าว

'ผู้ว่าหมูป่า'  ผู้ว่าในฝันสนามกทม.  บั้นปลายผมอยากเกษียณอย่างสง่าผ่าเผย

'ผู้ว่าหมูป่า' ผู้ว่าในฝันสนามกทม. บั้นปลายผมอยากเกษียณอย่างสง่าผ่าเผย

21 มิ.ย. 2566

บันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์แวดวงราชการ เมื่อ "ผู้ว่าหมูป่า" ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร เคยได้รับการทาบทามให้ลงสมัครชิงตำแหน่ง "ผู้ว่ากทม." ในนามพรรคพลังประชารัฐ แต่สิ่งที่ผู้ว่าปทุมธานีสะท้อนกลับมา คือความสุขใจและการเลือกที่จะทำหน้าที่เพื่อรับใช้ชาวปทุมธานี

เส้นทางชีวิตในบั้นปลายของการรับราชการ ของ ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร  ก่อนที่จะสิ้นสุดการทำหน้าที่ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี  มุมชีวิตอีกด้านที่น่าสนใจ ของผู้ว่าราชการจังหวัด ที่สร้างชื่อจากปฏิบัติการอำนวยความช่วยเหลือในการค้นหา 13 ชีวิต ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นใน  เดือน มิ.ย. ปี 2561   จนเป็นที่มาของคำเรียกผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ครั้งนั้น คือ  "13 หมูป่า" รวมไปถึง "ผู้ว่าหมูป่า" อันหมายถึงบทบาทการทำหน้าที่ของ   ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร   ในขณะนั้น 

 

 


เส้นทางของ "ผู้ว่าหมูป่า" ที่มาคาบเกี่ยวกับสนามเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  "ผู้ว่าฯกทม."  ถูกเปิดประเด็นมาจากพลังประชารัฐ  ในขณะนั้น คือ ก.ค. 2562   ทั้งนี้ คณะทำงานด้านยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)    ที่มี สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เป็นประธานคณะทำงาน  ทำหน้าที่เพื่อพิจารณาคัดสรรตัวบุคคลลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)   ได้เสนอชื่อ  ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ( ในขณะนั้น )   ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่ากทม.   หรือขั้นตอนการเตรียมการ 

 

 

ทั้งนี้หาก "ผู้ว่าหมูป่า" ตอบรับในการร่วมลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่ากทม. เท่ากับว่า จะต้องแข่งขันกับ  ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ สมัครในนามอิสระ  , สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์  ประชาธิปัตย์  , วิโรจน์ ลักขณาอดิศร พรรคก้าวไกล  ,  สกลธี ภัททิยกุล สมัครในนามอิสระ   และ  พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง สมัครในนามอิสระ  ซึ่งการเลือกตั้งผู้ว่ากทม.  ในเดือน พ.ค. 2565  ที่ผ่านมา ไม่มีชื่อของบุคคล ที่่ส่งลงสมัครในนามพรรคพลังประชารัฐ  รวมทั้งไม่มีชื่อของ  "ผู้ว่าหมูป่า"  ซึ่งอยู่ในรอยต่อของการมารับราชการในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี

 

 


ปัจจัยที่ทำให้ชื่อเสียงของ "ผู้ว่าหมูป่า " ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร   ได้รับการยอมรับจากพรรคพลังประชารัฐ นับจากการบรรจุชื่ออยู่ในบัญชีของพรรค ในปี 2562  จนมาถึงปี 2564  ก่อนการเลือกตั้งผู้ว่ากทม.จะเกิดขึ้นในเดือน พ.ค. 2565  คือ ผลงานของผู้ว่า ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร     ที่สร้างชื่อเอาไว้จากเหตุการณ์ 13 หมูป่า ติดถ้ำหลวง จ.เชียงราย ในปี 2562  กระทั่งย้ายไปรับราชการในตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา  และจังหวัดลำปาง  ตามลำดับ   และด้วยผลงานที่จังหวัดลำปาง ด้วยการทำให้พื้นที่  ปลอดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกแรก จากการบริหารจัดการฉีดวัคซีนให้ประชาชน  ทำให้ลำปางถูกประกาศเป็นพื้นที่ปลอดโควิด 100 % 

 

 

 

ความโดดเด่นในการทำงานด้วยความเอาใจใส่  ทำให้ชื่อของ ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร     ผู้ว่าหมูป่า เมื่อย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ก็ยังคงได้รับการยอมรับจากพรรคพลังประชารัฐ ที่ทาบทามให้ลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ตาม การให้คำตอบกับสื่อมวลชนในเดือนธ.ค. 2564  ที่บริเวณศาลากลางจังหวัดปทุมธานี  ผู้ว่าณรงค์ศักดิ์ ซึ่งร่างกายเริ่มซูบผอม ระบุในขณะนั้นไว้ว่า

 

 

 

"การถูกกล่าวถึง  ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ต่อคำชักชวนให้ไปลงสมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานครถือว่าเป็นเกียรติ เพราะมีคนรักเท่าผืนหนัง  ดีกว่ามีคนชังเท่าผืนเสื่อ แต่ระบบราชการ การที่จะเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต้องคำนึงถึงการมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ( คุณสมบัติต่อการมีชื่อในทะเบียน)  กระแสข่าวที่พาดพิงว่าจะลงสมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานคร แต่เนื่องจากผมเพิ่งมารับงานในตำแหน่งผู้ว่าปทุมธานี ( ธ.ค. 2564) ผมจะตอบคำถามประชาชนชาวปทุมธานี ได้อย่างไร ผู้ว่าปทุมธานี ไม่รักชาวปทุมธานีอย่างนั้นใช่ไหม จึงย้ายเพื่อที่จะไปลงสมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานคร   ที่ผ่านมา เชียงราย , พะเยา, ลำปาง, ไม่ว่าจะอยู่สั้น อยู่ยาว ผมทำงานอย่างเต็มที่  เชื่อว่าด้วยการทำงาน ผมมีคนรักมากกว่าคนเกลียด  เชื่อว่าการที่อยู่ปทุมธานี เท่ากับว่าผมจะทำอะไรได้มากกว่าให้กับปทุมธานี  ชีวิตข้าราชการอย่างผมไม่ขออะไรมาก ขอเพียงเพียงเมื่อเราเกษียณราชการ  และเราสามารถเกษียณได้อย่างสง่าผ่าเผย นี่คือที่สุดของความภาคภูมิใจ" 

 

 

"ผมดีใจที่ได้ทำหน้าที่เป็น 1 ในล้านคน ที่ทุ่มเททำงานเพื่อปทุมธานีในฐานะพ่อเมือง   ผมภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่เป็นข้าราชการที่ดี  ผมยึดมั่นใจพระราชดำรัสให้เราเป็นคนดี เป็นข้าราชการที่ดี  อายุราชการผม เหลืออีก 3 ปี ผมมาถึงในจุดที่เป็นดวงอาทิตย์ใกล้อัสดง  บ้านเมืองต้องส่งต่อให้คนรุ่นใหม่   ดังนั้นผมจึงอยากทำหน้าที่ตรงนี้ให้ดีที่สุด  ให้เราสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่าเป็นข้าราชการที่ดี   บั้นปลายผมเองเกษียนอายุราชการ ก็อยากที่จะไปทำงานสอนหนังสือ ผมมองว่าการที่เราสามารถสอนคน ให้เป็นคนดีขึ้นมาได้  นั่นคือการสร้างสิ่งที่ดีให้กับสังคม   เกษียนทุกคนอยากพักผ่อน  ผมเองก็อยากพักผ่อนอยากอยู่กับครอบครัว อยากดูแลสุขภาพ  จนเมื่อเกษียนแล้ว   ก็จะไปอยู่ข้างทางเพื่อดูคนอื่นทำงานบ้าง  สำหรับงานในกทม.ซับซ้อน แต่ความท้าทายคือการทำให้ประชาชนมีความสุข กินอิ่มนอนหลับ มันไม่ง่าย แต่หากเราทำได้นั่นคือความสุข "    ณรงค์ศักดิ์  ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในเดือนธ.ค. 2564

 

\'ผู้ว่าหมูป่า\'  ผู้ว่าในฝันสนามกทม.  บั้นปลายผมอยากเกษียณอย่างสง่าผ่าเผย

\'ผู้ว่าหมูป่า\'  ผู้ว่าในฝันสนามกทม.  บั้นปลายผมอยากเกษียณอย่างสง่าผ่าเผย

\'ผู้ว่าหมูป่า\'  ผู้ว่าในฝันสนามกทม.  บั้นปลายผมอยากเกษียณอย่างสง่าผ่าเผย
\'ผู้ว่าหมูป่า\'  ผู้ว่าในฝันสนามกทม.  บั้นปลายผมอยากเกษียณอย่างสง่าผ่าเผย

\'ผู้ว่าหมูป่า\'  ผู้ว่าในฝันสนามกทม.  บั้นปลายผมอยากเกษียณอย่างสง่าผ่าเผย

\'ผู้ว่าหมูป่า\'  ผู้ว่าในฝันสนามกทม.  บั้นปลายผมอยากเกษียณอย่างสง่าผ่าเผย

แฟ้มภาพ :  ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร    ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ก่อนถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็ง