สทนช. ประเมิน 6 จว.ภาคเหนือ เข้าข่าย 4 วันอันตราย เสี่ยงน้ำหลากดินถล่ม
รองนายกรัฐมนตรี รับรายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ จาก สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ " สทนช. " คาดการณ์จากนี้ไป จนถึงวันเสาร์ที่ 7 ต.ค. มี 6 จังหวัดที่ต้องเฝ้าระวัง น้ำหลากดินถล่ม อิทธิพลของร่องมรสุมทำให้มีฝนตกหนัก และยังมี 6 จังหวัด ทั่วทุกภาคที่ต้องเฝ้าระวัง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้รับรายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ จาก สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ( สทนช. ) ซึ่งสถานการณ์ในระหว่างนี้ไปจนถึงวันเสาร์ที่ 7 ต.ค. รวม 4 วัน มี 6 จังหวัด ที่ต้องเฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่ม เนื่องจากได้รับอิทธิพลของร่องมรสุมทำให้มีฝนตกหนัก ได้แก่ จ.เชียงใหม่ (อ.จอมทอง แม่แจ่ม อมก๋อย แม่วาง แม่แตง ฝาง ตอยเด่ ฮอด ดอยสะก็ด และกัลยาณิวัฒนา) จ.ตาก (อ.เมืองตาก ท่าสองยาง สามเงา บ้านตาก แม่ระมาด วังเจ้า อุ้มผาง แม่สอต และพบพระ) จ.กำแพงเพชร (อ.โกสัมพีนคร คลองสาน และปางศิลาทอง) จ.ลำพูน (อลี้ และทุ่งหัวช้าง) จ.แพร่ (อ.วังชิ้น และลอง) และ จ.ลำปาง (อ.เกิน แม่ทะ เริมงาม และเกาะคา)
ส่วน 2 จังหวัดภาคเหนือ ที่ต้องเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ จากข้อมูล คือ "สนทช." 1.แม่น้ำวัง ได้แก่ อ.สามงา และบ้านตาก จ.ตาก 2.แม่น้ำยม ได้แก่ อ.สวรรคโลก ศรีนคูรศรีสำโรง ศรีสัชนาลัย ทุ่งเสลี่ยม และเมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 3.แม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีน้ำหลาก จากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำคลองโผงผง จ.อำงทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุ่ธยา และต.หัวเวียงอ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ทำตินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1.00 -1.50 ม. ทั้งนี้ ในส่วนของภาคอื่นๆที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม ในช่วง 1-3 วัน ยังมี ศรีสะเกษ สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด และ นราธิวาส
ส่วนความเสียหายในพื้นที่เกษตรกรรม ขณะนี้ เสียหายแล้ว 18 จังหวัด รวม 314,829 ไร่ ได้แก่ ลำพูน สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร ขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี นครพนม สกลนคร ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง ซึ่งเรื่องนี้ รัฐบาลกำลังพิจารณาถึงมาตราการช่วยเหลือ โดยขอให้มั่นใจว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน