ข่าว

รมช.เกษตร ติดตามสถานการณ์  'เขื่อนลำปาว'  น้ำเกินความจุ - เปิดทางพร่องน้ำ

รมช.เกษตร ติดตามสถานการณ์ 'เขื่อนลำปาว' น้ำเกินความจุ - เปิดทางพร่องน้ำ

08 ต.ค. 2566

รมช.เกษตร ลงพื้นที่กาฬสินธุ์ ติดตามสถานการณ์จาก โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว "เขื่อนลำปาว" ระบุน้ำที่เข้าเขื่อนในขณะนี้อยู่ในระดับเกินความจุ ต่อการกับเก็บ จำเป็นต้องพร่องน้ำไปท้ายเขื่อน เพื่อลดปัญหากับพื้นที่ตอนบน อันส่งผลให้พื้นที่ตอนล่างต้องรับผลกระทบ

ที่ห้องประชุมเอนกประสงค์ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว   ต.ลำคลอง อ.เมือง  จ.กาฬสินธุ์ นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิรัช พิมพะนิตย์ ,นายพลากร พิมพะนิตย์ ,นายทินพล ศรีธเรศ, นายประเสริฐ บุญเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ ( สส. )และ นายนิคม บุญวิเศษ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย ภาคส่วนราชการ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับฟังการรายงานปริมาณน้ำใน เขื่อนลำปาว และสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นกับจ.กาฬสินธุ์

 

 

 


นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สถานการณ์ในพื้นที่ยังคงน่าเป็นห่วง   เขื่อนลำปาว  ต้องทำการระบายน้ำ เนื่องจากอิทธิพลน้ำป่าที่ไหลเข้ามา จาก จ.อุดรธานี และ แนวเขตเทือกเขาภูพาน ได้เติมเข้าอ่างอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยวันละ 20 ล้าน ลบ.ม.  ขณะนี้เกินปริมาณกักเก็บความจุ  เฉลี่ย 101 %  ในแง่ของแผนบริหารจัดการ   จะระบายน้ำผ่านอาคารระบายน้ำวันละ 25 ล้าน ลูกบาศก์เมตร เพื่อรักษาเสถียรภาพของตัวเขื่อน และลดผลกระทบจากอุทกภัยพื้นที่ด้านเหนือเขื่อน ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำในลำน้ำปาวด้านท้ายเขื่อน มีระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง

 

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยการมอบถุงยังชีพ ชุดเวชภัณฑ์ พร้อมสนับสนุนฟางอัดก้อน จำนวน 6,000 กิโลกรัม หญ้าสด ถุงยังชีพสำหรับสัตว์ และให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า (อพยพสัตว์) จำนวน 2,876 ตัว รวมทั้งเร่งสำรวจความเสียหาย และจัดเตรียมข้อมูล เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือ เฝ้าระวัง เตรียมรับสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

 

สำหรับแผนแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคอีสานระยะยาว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมาย กรมชลประทาน ในการศึกษาความเป็นไปได้ของแผนการปรับเปลี่ยนทางน้ำ ให้มีการผันน้ำลงแม่น้ำโขง จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย 1) โครงการอุโมงค์ระบายแม่น้ำมูลออกสู่แม่น้ำโขง 2) โครงการสร้างบายพาสแม่น้ำชี-มูล เพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทานและลดปริมาณน้ำสะสมบริเวณคอขวดแม่น้ำ และลดปัญหาน้ำท่วมในระยะยาวต่อไป

 

 

 

"ปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาที่ได้รับผลกระทบในวงกว้าง จากที่ได้รับข้อสั่งการจากนายกรัฐมนตรี  ในการบริหารจัดการน้ำ โดยการวางแผนบริหารจัดการเขื่อนภายในประเทศให้มีความสอดคล้องกัน ซึ่งให้ความสำคัญในการติดตามข้อมูลการพยากรณ์อากาศ เพื่อใช้ในการวางแผนการกักเก็บและระบายน้ำออกจากเขื่อน รวมทั้งลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงในฤดูแล้ง สำหรับวันนี้  ได้ลดระดับของบานประตูระบายน้ำให้อยู่ในระดับ 20 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เพื่อชะลอการระบายน้ำไปยังช่วงท้ายเขื่อน ด้านแผนแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะสั้นในครั้งนี้ จะมีการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการร่วมกันกับทุกภาคส่วน เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาความเดือดร้อนในด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ รวมทั้งเตรียมสนับสนุนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ภาคการผลิต ในการวิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์ที่ทนทานทุกสภาพอากาศ เพื่อสร้างโอกาสในการเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้สอดคล้องต่อความต้องการของตลาดต่อไป" นายไชยา  ระบุ

 


 

 

 

 ในโอกาสนี้ นายไชยา   ได้พบปะเยี่ยมเยียนให้กำลังใจประชาชนที่ประสบภัย โดยมอบถุงยังชีพ ชุดเวชภัณฑ์   จากข้อมูลที่ได้รับพบว่าหลายครอบครัวเริ่มป่วยเป็นโรคผิวหนังและซึมเศร้า ซึ่งได้มอบให้ทางสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ได้จัดทีมแพทย์เข้าดูแลอย่างใกล้ชิด 

 

รมช.เกษตร ติดตามสถานการณ์  \'เขื่อนลำปาว\'  น้ำเกินความจุ - เปิดทางพร่องน้ำ รมช.เกษตร ติดตามสถานการณ์  \'เขื่อนลำปาว\'  น้ำเกินความจุ - เปิดทางพร่องน้ำ รมช.เกษตร ติดตามสถานการณ์  \'เขื่อนลำปาว\'  น้ำเกินความจุ - เปิดทางพร่องน้ำ รมช.เกษตร ติดตามสถานการณ์  \'เขื่อนลำปาว\'  น้ำเกินความจุ - เปิดทางพร่องน้ำ

รมช.เกษตร ติดตามสถานการณ์  \'เขื่อนลำปาว\'  น้ำเกินความจุ - เปิดทางพร่องน้ำ

ไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  นำคณะลงพื้นที่กาฬสินธุ์ ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ พร้อมกับนำสิ่งของมอบให้กับผู้ประสบภัย ที่ได้รับผลกระทบ

.