ข่าว

โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทหาร "ร้อยตรี" ให้ "จ่าสิบเอก ทวี บูรณเขตต์"

โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทหาร "ร้อยตรี" ให้ "จ่าสิบเอก ทวี บูรณเขตต์"

27 ม.ค. 2567

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานยศทหาร “ร้อยตรี” ให้แก่ “จ่าสิบเอก ทวี บูรณเขตต์” ครูช่าง ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี เป็นผู้ทำความดี มีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานยศทหาร “ร้อยตรี” ให้แก่จ่าสิบเอก ทวี บูรณเขตต์โดยเป็นการพระราชทานยศทหารเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากจ่าสิบเอก ทวี บูรณเขตต์ เป็นผู้มีคุณงามความดีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน

โดยเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารเป็นกรณีพิเศษ 

 

 

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานยศ “ร้อยตรี” เป็นกรณีพิเศษ ให้แก่จ่าสิบเอก ทวี บูรณเขตต์ ทหารพ้นราชการ สังกัดกองทัพบก เนื่องจากเป็นผู้ประกอบคุณงามความดี มีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ส่วนราชการ หน่วยงาน และประเทศชาติโดยรวม ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2567

 

โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทหาร \"ร้อยตรี\" ให้ \"จ่าสิบเอก ทวี บูรณเขตต์\"

 

ประกาศ ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2567

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

เศรษฐา ทวีสิน
นายกรัฐมนตรี

 

 

ทั้งนี้ จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ หรือ ที่ชาวพิษณุโลกมักเรียกว่า “ลุงจ่า หรือจ่าทวี” เป็นชาวพิษณุโลกแต่กำเนิด ได้รับความรู้ด้านช่างศิลป์จากบิดา หลังจากนั้นเข้ากรุงเทพมหานคร(กทม.) ฝึกหัดและเป็นช่างวาดประจำร้านช่างศิลป์หลาย

 

 

ที่สำคัญ จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ เป็นผู้ก่อตั้งโรงหล่อบูรณะไทย และ “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี” ครูช่างผู้มุ่งมั่นสร้างสรรค์ประติมากรรม “พระพุทธชินราช” จำลองที่ได้รับการยกย่องว่าสวยงามเหมือนองค์จริงมากที่สุด จนได้รับการยกย่องให้เป็น “เพชรน้ำเอกแห่งวงการช่างศิลป์” และได้รับการยกย่องให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาช่างฝีมือ แขนงช่างหล่อ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) เมื่อปี 2562

 

โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทหาร ร้อยตรี ให้ จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์

 

อีกทั้งยังได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณยกย่อง เป็นครูศิลป์ของแผ่นดิน ประจำปี 2560 ได้รับรางวัลเพชรสยามเมื่อปี 2564 สาขาช่างฝีมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ได้รับรางวัลข้าของแผ่นดินด้านการส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรมเมื่อปี 2564 จากสำนักงานเอกลักษณ์ของชาติสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และปี 2565 ได้รับรางวัล “ศิลปาจารย์” เป็นต้น