'ตุ๊บเก่ง' คืออะไร 1 ใน 18 มรดกภูมิปัญาทางวัฒนธรรม หลัง ราชกิจจาฯ ขึ้นบัญชี
'ราชกิจจานุเบกษา' ออกประกาศ ขึ้นบัญชี 18 'มรดกภูมิปัญาทางวัฒนธรรม' ตุ๊บเก่ง โนราควน และ ข้าวหมูแดงนครปฐม ติดโผ
(30 ม.ค. 2567) ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จำนวน 18 รายการ ลงนามโดย นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม โดยพบว่า ข้าวหมูแดงนครปฐม ติดกลุ่ม ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล ส่วน ตุ๊บเก่ง - โนราควน ติดอยู่ในประเภทรายการมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมที่ต้องได้รับการส่งเสริมและรักษาอย่างเร่งด่วน สาขา วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา
โดยประกาศใน ราชกิจจาฯ ระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 ( 5 ) และมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2566 จึงประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จำนวน 18 รายการ ดังต่อไปนี้
1. ประเภทรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ต้องได้รับการส่งเสริมและรักษาอย่างเร่งด่วน
1.1 วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา
- ภาษาโส้
1.2 ศิลปะการแสดง
- ตุ๊บเก่ง
- โนราควน
1.3 งานช่างฝีมือดั้งเดิม
- ผ้ามุกนครพนม
- ขุดเรือยาว
- ผ้าทอใยกัญชงม้ง
2. ประเภทรายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
2.1 ศิลปะการแสดง
- เพลงพวงมาลัย
2.2 แนวปฏิบัตทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล
- ชุดไทยพระราชนิยม
- ประเพณีแห่พระศรีอริยเมตไตรย วัดไลย์
- งานปีผีมด
- ประเพณีลอยเรืออูรักลาโว้ย
- ประเพณีจุดไฟตูมกา ออกพรรษายโสธร
2.3 ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล
- ข้าวแคบ
- ข้าวหมูแดงนครปฐม
- แกงหัวตาล
2.4 งานช่างฝีมือดั้งเดิม
- ปลาตะเพียนใบลาน
- เครื่องถมนคร
2.5 การเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
- ว่าวแอก
ส่องความหมาย มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ตุ๊บเก่ง เป็นดนตรีพื้นบ้าน ที่จัดเป็นดนตรีพิธีกรรมที่ใช้บรรเลง เพื่อเพิ่มความขลังความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรม มีต้นกำเนิดไม่ต่ำกว่า 100 ปี จากบ้านป่าแดง ต.ป่าเลา อ.เมืองเพชรบูรณ์ และได้ถ่ายทอด หรือเผยแพร่ออกไปสู่ชุมชนอื่นๆ โดยเฉพาะในเขต อ.เมืองเพชรบูรณ์ โดยได้พบที่บ้านนางั่ว บ้านสะเดียง และบ้านป่าเลา