ข่าว

โศกนาฏกรรม 1 ปี 'เรือหลวงสุโขทัย' อัปปาง ถึงเวลาขึ้นฝั่ง หลังจมใต้ก้นทะเล

โศกนาฏกรรม 1 ปี 'เรือหลวงสุโขทัย' อัปปาง ถึงเวลาขึ้นฝั่ง หลังจมใต้ก้นทะเล

23 ก.พ. 2567

ย้อนโศกนาฏกรรม 1 ปี 'เรือหลวงสุโขทัย' อัปปางกลางทะเล การสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่แบบไม่คาดฝันของกองทัพไทย ถึงเวลานำขึ้นฝั่งหลังจมดิ่งใต้ก้นทะเลเจาะภาระกิจ 19 วันต้องทำอะไรบ้าง

1 ปี 2 เดือน เหตุการณ์  "เรือหลวงสุโขทัย" อัปปางระหว่างที่กำลังเดินทางออกจากฐานทัพเรือสัตหีบ มุ่งหน้าไปร่วมงานคล้ายวันประสูติของ เสด็จเตี่ย หรือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่ จ.ชุมพร  และเผชิญกับคลื่นลมแรงส่งผลให้เรือเริ่มเอียง และอัปปางจมก้นทะเลในช่วงเวลา 23.00 น. ของวันที่ 18 ธ.ค. 2565  

 

 

เรือหลวงสุโขทัย

 

 

 

 

 

เหตุการณ์ "เรือหลวงสุขโขทัย" อัปปาง นับว่าเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ของกองทัพไทย เพราะมากกว่าการสูญเสียเรือรบประวัติศาสตร์แล้วยังสูญเสียกำลังพลตั้งแต่นายทหาร ชั้นประทวน ไปจนถึงชั้นสัญญาบัตร โดยเหตุการ "เรือหลวงสุโขทัย" อัปปางในครั้งนี้มีผู้สูญหาย 5 นาย เสียชีวิต 24 นายและบาดเจ็บกว่า 70 นาย  โศกนาฏกรรมครั้งนี้นับว่าเป็นความสูญเสียที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ 

 

โศกนาฏกรรม 1 ปี \'เรือหลวงสุโขทัย\' อัปปาง ถึงเวลาขึ้นฝั่ง หลังจมใต้ก้นทะเล

ตลอดระยะเวลาที่ "เรือหลวงสุโขทัย" จมดิ่งอยู่ก้นทะเล กองทัพเรือยังคงไม่ปล่อยให้นอนอยู่ในนั้นไปตลอดกาล ที่ผ่านมาได้มีการวางแผนกู้ซาก "เรือหลวงสุโขทัย" มาอย่างต่อเนื่อง แต่ภาระกิจครั้งนี้ต้องใช้งบประมาณมากถึง 200 ล้านบาท และจะต้องว่าจ้างเอกชนจากต่างประเทศเข้าดำเนินการ เพราะประเทศไทยเองไม่มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์มากกว่าที่ลงไปกู้ซากเรือเอง ท้ายที่สุดก็ถึงเวลา กู้เรือหลวงสุโขทัย ซึ่งกองทัพเรือเริ่มปฏิบัติวันที่ 23 ก.พ. 2567 เป็นวันแรก 

 

ภาพเรือหลวงสุโขทัย

 

 

ก่อนถึงวันที่เราจะ กู้เรือหลวงสุโขทัย ขึ้นมาสำเร็จ คมชัดลึกออนไลน์ จะพาย้อนกลับไปจุดเริ่มต้นของการเกิดโศกาฏกรรมเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา 

 

  • จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์เศร้าครั้งนี้เกิดขึ้นในวันที่ 18 ธ.ค. 2567 ระหว่างที่ เรือหลวงสุโขทัย ได้เคลื่อนออกจาฐานทัพเรือสัตหีบ มุ่งหน้า จ.ชุมพร เพื่อไปร่วมงานคล้ายวันประสูติเสด็จเตี่ย ระหว่างนั้นต้องเผชิญกับคลื่นลมแรงในอ่าวไทย ส่งผลให้เรือเริ่มเอียงน้ำเริ่มไหลเข้าสู่ระบบไฟฟ้าในตัวเรือ ทำให้ผู้บัญชาการมีคำสั่งให้สละเรือ ระหว่างนั้นเรือเริ่มเอียงจะอัปปางในช่วงเวลา 23.30 น. ในระยะ 20 ไมล์ทะเล ในเรือมีลูกเรือกว่า 160 นาย บางคนรอดตาย บางนคนบาดเจ็บ และบางคนก็เจอแค่ร่างเท่านั้น 

 

 

  • หลังจากที่เรือหลวงสุโขทัย อัปปางลงไปแล้วภาระกิจค้นหาผู้รอดชีวิต ผู้สูญหาย ก็เริ่มต้นขึ้นในรวมกว่า 21 วันนับจากวันที่เรืออัปปาง ภาระการค้นหาผู้รอดชีวิตเป็นภาระแรกที่ดำเนินการทันทีโดยวันที่ 19 ธ.ค. เริ่มระดมเฮลิคอปเตอร์ เรือรบหลวงกระบุรี  สามารถช่วยเหลือคนที่ลอยคอกลางทะเลได้ 47 คน และลำเรียงผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล  และในช่วงเวลาเกือบบ่ายพบผู้เสียชีวิตรายแรกที่ท่าเรือบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 

 

 

  • ภาระกิจค้นหาและช่วยเหลือยังคงดำเนินต่อไประหว่างนั้นหน่วยกูชีพพบร่างผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง โดยร่างผู้เสียชีวิตลอยไปคนละทิศคนละทาง ตามทิศทางของลมที่มีความแปรปรวนในแต่ละวัน ความยากของภาระดังกล่าวคือ การไม่รู้ทิศทางการกระจายของผู้สูญหายจะลอยหรือขึ้นเกาะ" และสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจ หย่อมความกดอากาศสูงกำลังเข้ามา ทำให้สภาพคลื่นลมคาดว่าจะเพิ่มแรงขึ้น

 

 

  • ปฏิบัติการค้นหาเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 25-27 ธ.ค. 2567 พบศพกำลังพล เรือหลวงสุโขทัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากยอดกำลังพล 105 นาย รอดชีวิต จำนวน 76 นาย เสียชีวิตรวม 18 นาย ในจำนวนนี้สามารถระบุชื่อได้แล้ว 10 นาย อยู่ในกระบวนการของการพิสูจน์อัตลักษณ์ 8 นาย 

ภาระกิจค้นหาร่างผู้สญหายดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง จนท้ายที่สุดกองทัพเรือได้ยุติปฏิบัติการหยุดค้นหา 

 

 

แผน กู้เรือหลวงสุโขทัย 200 ล้านบาท ไทม์ไลน์ 19 วัน 

  • 12 ก.ค. 2566 กองทัพเรือเผยแพร่เอกสาร TOR โครงการงานจ้างกู้และลำเลียงเรือหลวงสุโขทัย ของกองทัพเรือจ้างกู้เรือหลวงสุโขทัยที่อับปางทั้งลำ โดยสภาพตัวเรือภายนอกใกล้เคียงกับผลสำรวจ และลำเลียงไปยังท่าเทียบเรือ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี พร้อมกับชำระคราบโคลนภายนอกและภายในตัวเรือให้เรียบร้อย ปรับแต่งเรือให้มีความปลอดภัย ลอยลำได้ด้วยตัวเอง งบประมาณไว้ที่ 200 ล้านบาท โดยงบประมาณที่ใช้เป็นงบกลางและงบประมาณของกองทัพเรือ

 

 

  • ในช่วงปลายปี 2566 มีการยกเลิกประกาศยกเลิกการจัดจ้างกู้และลำเลียง "เรือหลวงสุโขทัย" โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอผ่านการคัดเลือกตามที่กองเรือยุทธการกำหนด พร้อมกับเปลี่ยนแผนเป็นการ กู้เรือหลงสุโขทัยแบบจำกัดเทน แผนการ กู้เรือหลวงสุโขทัย แบ่งออกเป็น

 

1.การค้นหาผู้สูญหายจำนวน 5 คน
2.สำรวจหลักฐานใต้น้ำ นำข้อมูลมาประกอบการสอบสวนข้อเท็จจริงถึงสาเหตุที่ทำให้เรืออัปปาง
3.ทำให้ยุทโธปกรณ์ ที่ติดอยู่กับเรือหลวงสุโขทัยหมดความสามารถ
4.นำอุปกรณ์และยุทโธปกรณ์บางส่วนขึ้นจากน้ำ โดยปล่อยให้ตัวเรืออยู่ใต้ทะเล

 

โศกนาฏกรรม 1 ปี \'เรือหลวงสุโขทัย\' อัปปาง ถึงเวลาขึ้นฝั่ง หลังจมใต้ก้นทะเล

 

 

  • ภาระการ กู้เรือหลวงสุโขทัย จะเริ่มตั้งแต่การนำป้ายชื่อ "เรือหลวงสุโขทัย" ขึ้นมาให้ได้ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ 

-วันที่ 1-5 วันแรก จะทำการสำรวจและถ่ายรูปเรือหลวงสุโขทัยทั้งลำ และหาผู้สูญหาย 

-วันที่ 6-19 จะเป็นการทำลายอาวุธ วัตถุอันตรายภายในเรือหลวงสุโขทัย นำสิ่งของทุกอย่างที่นำขึ้นมาได้ ทั้งอุปกรณ์ ของที่มีคุณค่าทางจิตใจของกำลังพล โดยจะนำมาทำเป็นอนุสรณ์สถาน จบภารกิจจำนวน19วัน