ข่าว

'สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา' สิ้นพระชนม์ สิริพระชนมายุ 92 ปี 72 พรรษา

'สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา' สิ้นพระชนม์ สิริพระชนมายุ 92 ปี 72 พรรษา

27 ก.พ. 2567

ศิษยานุศิษย์ ถวายความอาลัย 'สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา' สิ้นพระชนม์ ณ วัดอุณณาโลม กัมพูชา สิริพระชนมายุ 92 ปี 72 พรรษา

พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก พระราชวัชรสารบัณฑิต – เจ้าคุณประสาร แจ้งข่าวเศร้า หลัง “สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา” สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2567 สิริพระชนมายุ 92 ปี 72 พรรษา

แถลงสมเด็จพระสังฆราชกัมพูชาสิ้นพระชนม์

ทั้งนี้ สมเด็จพระสังฆราช เทพ วงค์ (Tep Vong) แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา สิ้นพระชนม์ วันจันทร์ที่ 26 ก.พ. 2567 เวลา 17.40 น.  ณ วัดอุณณาโลม ราชธานี พนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา

 

 

สำหรับ “สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา” ประสูติปี 2475 อุปสมบท ปี 2496 เมื่ออายุ 21 ปี และได้รับการสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชแห่งมหานิกาย ในปี 2524 และทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอุณาโลมในกรุงพนมเปญ

สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา

แต่เดิมมา การปกครองคณะสงฆ์กัมพูชานั้น ไม่มีตำแหน่งสกลสังฆปริณายก หรือผู้ปกครองสงฆ์ทั้งหมดทุกนิกายทั่วสังฆมณฑล คณะสงฆ์แต่ละนิกาย ต่างก็มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นของตนเอง และแยกกันปกครอง ไม่ขึ้นแก่กันมาตลอด กระทั่งกองทัพเขมรแดงได้เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศกัมพูชาแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในปี ค.ศ. 1975 การปกครองของคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายในช่วงเวลาดังกล่าว จึงขาดช่วงไปอย่างสิ้นเชิง

 

 

เนื่องจากรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยของเขมรแดงมีการกวาดล้างศาสนาและลัทธิความเชื่อต่างๆ ทั่วประเทศ พระสงฆ์ในพุทธศาสนาต้องถูกบังคับสึกให้ออกมาใช้แรงงานหรือถูกสังหารในกรณีที่ไม่ยอมสึก บางส่วนก็ต้องลี้ภัยออกไปยังต่างประเทศ

สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา

 

หลังจากกัมพูชาลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส ค.ศ. 1991 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ได้ทรงสถาปนาพระเทพ วงศ์ เป็นสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี สมเด็จพระสังฆราชในคณะมหานิกาย และสถาปนาสมเด็จพระองค์ครู บัวร์ กรี (បួរ គ្រី บัวร กรี) เป็นสมเด็จพระสุคนธาธิบดี สมเด็จพระสังฆราชในคณะธรรมยุติกนิกาย ทำให้การปกครองคณะสงฆ์ประเทศกัมพูชากลับมาแยกกันปกครองเป็น 2 นิกาย และมีผู้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช 2 พระองค์อีกครั้ง ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญกัมพูชายังกำหนดให้สมเด็จพระสังฆราชทั้งสองพระองค์ เป็นสมาชิกโดยตำแหน่งของกรมปรึกษาราชบัลลังก์ ซึ่งมีหน้าที่คัดเลือกผู้สืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชา

 

 

กระทั่งถึงปี ค.ศ. 2006 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทรงสถาปนาสมเด็จเทพ วงศ์ เป็นสมเด็จพระอัครมหาสังฆราชาธิบดี สมเด็จพระมหาสังฆราชในพระราชอาณาจักรกัมพูชา นับเป็นบุคคลแรกในรอบ 150 ปี ที่ได้รับตำแหน่งพิเศษดังกล่าว  

 

 

 

ที่มา : วิกิพีเดีย