ข่าว

"พัดลมคล้องคอ" สคบ. ประกาศเตือน อย่าซื้อใช้ เสี่ยง อันตราย

"พัดลมคล้องคอ" สคบ. ประกาศเตือน อย่าซื้อใช้ เสี่ยง อันตราย

19 เม.ย. 2567

คลายร้อน แต่เสี่ยงตาย สคบ. แจ้งเตือน "พัดลมคล้องคอ" อย่าซื้อใช้ อันตราย เสี่ยงเจอ สารก่อมะเร็ง สวีเดน นำออกจากตลาดแล้ว

อากาศร้อนจัดขนาดนี้ เดินไปทางไหนก็เจอแต่แดด เจอแต่ความร้อน ตัวช่วยคลายร้อนที่สามารถพกติดตัวไปได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่สถานที่ไหน ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เห็นจะเป็น “พัดลมคล้องคอ” ที่มีขายเกลื่อนทั่วไป โดยเฉพาะร้านค้าออนไลน์ แต่ก็ต้องดับฝัน เมื่อ สคบ. แจ้งเตือนอันตรายจากการใช้พัดลมคล้องคอ ที่เสี่ยงเป็นมะเร็งได้

 

เพจ กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง สคบ. โพสต์ภาพพร้อมข้อความแจ้งเตือนผู้บริโภค ระบุว่า “พัดลมคล้องคอ” อันตราย อย่าหาใช้

 

 

โดยในประเทศสวีเดน แจ้งเตือนภัยพัดลมคล้องคอ สำหรับการคลายร้อน โดยได้นำผลิตภัณฑ์นี้ออกจากตลาด รวมถึงในตลาดบนโลกออนไลน์แล้ว เนื่องจากตัวประสานบนแผงวงจรที่เชื่อมต่อแบตเตอรี่ และในสาย USB มีสารตะกั่วเข้มข้นมากเกินไป และวัสดุพลาสติกสายเคเบิล มีความเข้มข้นของ สารเสริมสภาพพลาสติก (DEHP) , (DBP) และ (SCCPs) มากเกินไป ซึ่งหากได้รับสารเหล่านี้ทางผิวหนังเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งได้

พัดลมคล้องคออันตราย

  • อันตรายจาก สารตะกั่ว

 

สารตะกั่ว (Lead) เป็นสารพิษโลหะหนักประเภทหนึ่ง ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และพบได้ในชีวิตประจำวัน โดยมักใช้ในวงการอุตสาหกรรมและการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคหลายประเภท ในอีกแง่หนึ่ง สารตะกั่วก็มีความเป็นพิษสูงและเป็นอันตรายต่อร่างกาย หากสะสมในร่างกายเป็นปริมาณมาก อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา และทำให้สมองได้รับความเสียหาย

 

 

  • สารตะกั่วมาจากไหน

 

สารตะกั่วมีคุณสมบัติหลอมเหลวได้ง่าย และนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าหลากหลายประเภท ตั้งแต่สีทาบ้าน สีทาของเล่น แม่พิมพ์โลหะสำหรับพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ ท่อน้ำประปา เครื่องยนต์หรือชิ้นส่วนอื่นๆ ที่ใช้ตะกั่วเป็นส่วนประกอบ สินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ภาชนะบรรจุอาหารที่มีตะกั่ว และบางส่วนอาจมีการปนเปื้อนในดิน น้ำ หรืออากาศ

 

 

สารตะกั่วสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายรูปแบบ ทั้งการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของสารตะกั่ว การหายใจสูดเอาผงฝุ่น หรืออากาศที่มีสารตะกั่วปะปนเข้าสู่ร่างกายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงการสัมผัสหรือการดูดซึมสารตะกั่วผ่านผิวหนัง

 

 

 

 

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค