ข่าว

หมอเตือน ต้นตอ 'มะเร็งตับ' ของคนไทย มาจากในครัว เจอสิ่งนี้รีบทิ้งด่วนๆ

หมอเตือน ต้นตอ 'มะเร็งตับ' ของคนไทย มาจากในครัว เจอสิ่งนี้รีบทิ้งด่วนๆ

10 พ.ค. 2567

หมอออกโรงเตือน ต้นตอ 'มะเร็งตับ' อันดับ 1 ของคนไทย มาจากในครัว หากเจอสิ่งนี้รีบทิ้งขยะด่วนๆ เสี่ยงก่อมะเร็ง อันตรายถึงตาย

นพ.ประชา กัญญาประสิทธิ์ หมอผ่าตัดสมอง ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบประสาท โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม เผยแพร่คลิปเตือนภัยผ่านเฟซบุ๊กเพจ หมอผ่าตัดสมอง เรื่องสาเหตุ "มะเร็งตับ" ของคนไทย มาจากใน "ห้องครัว" ระบุว่า 

 

 

ไม่น่าเชื่อว่า "มะเร็ง" จะมาจากในครัว เมื่อเข้าครัวทอดไข่เจียว จะหั่นหัวหอมใส่ไข่เจียว แกะออกมาเจอราดำจำนวนมาก โดยราดำนี้อันตรายมาก เนื่องจากตัวราดำนี้ผลิต "อะฟลาทอกซิน" ซึ่งต้นเหตุที่ทำให้เป็น "มะเร็งตับ"

 

 

"มะเร็งตับ"  มาจากในครัว หัวหอม หัวกระเทียม พริกแห้ง ถั่วลิสง ของแห้งทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น กุ้งแห้งมีสารก่อมะเร็ง เมื่อทานเข้าไปจะดูดซึมที่ตับเป็นที่แรก เพราะฉะนั้นมะเร็งตับจึงขึ้นแท่นอันดับ 1 ของคนไทย เนื่องจากมันมีมาสาเหตุมาจากวัตถุดิบที่อยู่ในครัว

แล้วร้านอาหารละ?

ร้านอาหารจะแกะออก ล้างออกให้เราบ้างไหมก็ไม่รู้ ถั่ว และพริกป่น ร้านอาหารคัดเอาที่มีเชื้อราออกให้เราไหม? "มะเร็งตับ" อาจตกมาอยู่ที่คนกิน

 

 

หมอประชา เผยว่า คนไทยเสียชีวิตจาก "มะเร็ง" เป็นอันดับ 1 ส่วนอันดับ 2 คือ โรคหลอดเลือดสมอง หรือ สโตรก (Stroke) ทั้งคู่ป้องกันได้ แต่มะเร็งบางอย่างไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งนี้ ฝากถึงร้านอาหารทุกร้าน โปรดแกะราดำที่อยู่ในวัตถุดิบทั้ง หัวหอม หัวกระเทียม พริกแห้ง ถั่วลิสง ออกก่อน ล้างให้สะอาดก่อนนำมาประกอบอาหาร

ขณะที่ องค์การอนามัยโลก เปิดเผยรายงานว่า "อะฟลาทอกซิน" เป็นสารก่อ  "มะเร็ง" ในมนุษย์ โดยสารอะฟลาท็อกซินถูกสร้างจากเชื้อราในตระกูล Aspergillus มักพบปนเปื้อนผลผลิตทางการเกษตร หากเก็บไว้ในที่ที่อุณหภูมิและความชื้นสูง เช่น ข้าวโพด ถั่วลิสง และเมล็ดธัญพืชต่าง ๆ พริกไทย พริกป่น กระเทียม หอมแดง เป็นต้น "อะฟลาทอกซิน" ซินเป็นอันตรายทั้งในมนุษย์และสัตว์ มีความสามารถในการทนความร้อนได้สูง ซึ่งความร้อนที่ใช้ในการหุงต้มอาหาร

 

 

 

โดยทั่วไปตามบ้านเรือนนั้น ไม่สามารถทำลายสาร "อะฟลาทอกซิน" ดังกล่าวให้หมดไปได้ เมื่อมีการปนเปื้อนสารพิษดังกล่าวในอาหารและร่างกายได้รับสารนี้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ เช่น โรคตับอักเสบเรื้อรัง และ "มะเร็งตับ" เป็นต้น ซึ่งความเป็นพิษที่ส่งผลต่อร่างกายของแต่ละบุคคลจะมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณที่รับสารพิษนั้นๆ ความถี่ที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย อายุ และความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายในแต่ละตัวบุคคล

 

 

 

ทั้งนี้ ควรเลือกซื้ออาหารที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์ ไม่แตกหรือชำรุด มีส่วนประกอบและมาตรฐานความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ และซื้อวัตถุดิบในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อความสดใหม่ ลดเวลาในการเก็บวัตถุดิบไม่ให้นานเกินไปและจัดเก็บอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงที่ที่อุณหภูมิและความชื้นสูง นอกจากนี้ขั้นตอนในการทำอาหารอาจช่วยลดปริมาณของ "อะฟลาทอกซิน" ได้ เช่น การล้างและการปอกเปลือกคัดแยกส่วนที่ปนเปื้อนออก เป็นต้น