ข่าว

ประวัติ สมพร ใช้บางยาง เปิดเส้นทางจากข้าราชการ สู่ผู้นำทัพนักตบลูกยางไทย

ประวัติ สมพร ใช้บางยาง เปิดเส้นทางจากข้าราชการ สู่ผู้นำทัพนักตบลูกยางไทย

20 พ.ค. 2567

เปิดประวัติ 'สมพร ใช้บางยาง' นายกสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย เปิดเส้นทางอาชีพจากข้าราชการ สู่ผู้นำทัพนักตบลูกยางไทย

เปิดประวัติ ทำความรู้จัก "สมพร ใช้บางยาง" เปิดเส้นทางจากอาชีพข้าราชการ สู่ตำแหน่งผู้นำทัพนักตบลูกยางไทย พร้อมเผยวิสัยทัศน์การทำงาน เป็น "นายกสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย" มุ่งพัฒนาศักยภาพนักกีฬาพาวอลเลย์บอลไทย ไปไกลระดับนานานชาติ

 

Thailand Volleyball Association สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย

ประวัติ "สมพร ใช้บางยาง" นายกสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย

  • เกิดเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2493
  • ปัจจุบันอายุ 74 ปี

 

 

 

ประวัติการศึกษา

  • ปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ (ร.บ.) สาขาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ (ร.ม.) สาขาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

 

ประวัติการทำงาน

  • หัวหน้าฝ่ายอัตรากำลัง กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย
  • เลขานุการปลัดกระทรวงมหาดไทย
  • หัวหน้าฝ่ายสรรหาบรรจุแต่งตั้งและข้อมูลบุคคล กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย
  • หัวหน้าสำนักงานจังหวัดนครปฐม
  • หัวหน้าสำนักงานจังหวัดมหาสารคาม
  • ผู้อำนวยการกองสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
  • รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา
  • รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (พ.ศ. 2540-2542)
  • รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา (พ.ศ.2542)
  • ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี (พ.ศ. 2544)
  • ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา (พ.ศ. 2546)
  • อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (พ.ศ. 2549-2551)
  • "นายกสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย"

 

 

เส้นทางอาชีพผู้นำทัพลูกยาง

 

"สมพร ใช้บางยาง" เข้ารับตำแหน่ง "นายกสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย" ในปี พ.ศ. 2554 และดำรงตำแหน่งจนถึงปัจจุบัน  และมีวิสัยทัศน์แน่วแน่ที่จะพัฒนาวอลเลย์บอลไทย โดยเน้นไปที่การพัฒนาทีมชาติให้แข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพ และสามารถแข่งขันในระดับนานนาชาติ รวมไปถึงการพัฒนาให้คนรุ่นใหม่ นักกีฬารุ่นใหม่ มีศักยภาพและมีบทบาทมากยิ่งขึ้น

 

 

 

ในการนำของ "สมพร ใช้บางยาง" วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย สามารถคว้าแชมป์เอเชียสมัยที่ 2 และ 3 ที่ จังหวัดนครราชสีมาได้สำเร็จ

 

 

 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • ปี พ.ศ. 2524 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
  • ปี พ.ศ. 2528 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
  • ปี พ.ศ. 2531 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
  • ปี พ.ศ. 2535 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
  • ปี พ.ศ. 2538 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
  • ปี พ.ศ. 2541 ประถมาภรณ์ช้างเผือก
  • ปี พ.ศ. 2544 มหาวชิรมงกุฎ
  • ปี พ.ศ. 2543 เหรียญจักรพรรดิมาลา
  • ปี พ.ศ. 2550 ม.ป.ช. (มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก)

 

 

ข้อมูลจาก : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น