ข่าว

กสทช. โยนภาระ เสียงโอด ประชาชน เสียมากกว่าได้ ชื่อซิมต้องตรงโมบายแบงก์กิ้ง

กสทช. โยนภาระ เสียงโอด ประชาชน เสียมากกว่าได้ ชื่อซิมต้องตรงโมบายแบงก์กิ้ง

27 พ.ค. 2567

ลงทะเบียนซิม โมบายแบงก์กิ้ง ปราบบัญชีม้า ผลกรรมตกที่ใคร "มิจฉาชีพ" หรือ "ประชาชน" เสียงสะท้อนของสังคมภาครัฐแก้ปัญหาผิดจุด ทำลำบากผิดคน

มาตรการสกัดกั้นบัญชีม้า โดยให้ประชาชนต้อง "ลงทะเบียนซิมการ์ด" เพื่อให้ชื่อตรงกับบัญชีของโมบายแบงก์กิ้งที่ผูกกับธนาคารไว้ และถ้าหากชื่อที่ลงทะเบียนซิมกับชื่อที่ผูกบัญชีไม่ตรงกันก็จะไม่สามารถโอนเงินทำธุรกรรมได้ เพื่อป้องกันการอนเงินจากบัญชีม้าของมิจฉาชีพ 

 

โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะทำการตรวจสอบคัดกรองหากพบชื่อผู้ถือครองซิมการ์ด mobile banking ไม่ใช่เจ้าของบัญชีธนาคาร จะดำเนินการแจ้งเจ้าของบัญชี ให้ดำเนินการเปลี่ยนไปใช้เบอร์ซิมการ์ดที่ตนเป็นเจ้าของ หรือเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองเบอร์เป็นชื่อตน 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

แก้ปัญหา "บัญชีม้า" หรือ โยนภาระให้ประชาชน

 

มาตรการนี้ได้รับเสียงสะท้อนจากประชาชนอย่างหนัก ทั้งในเรื่องของสิทธิพิเศษกับทางผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือในฐานะของผู้ที่ใช้งานมาอย่างยาวนานแต่ชื่อที่ลงทะเบียนซิม ไม่ใช่ชื่อของผู้ที่ใช้บริการอยู่ 

 

“ส่วนต่างโปรโมชั่นมือถือที่เพิ่มขึ้นจะจ่ายให้มั้ย สิทธิต่างๆที่เสียไป จะชดใช้ยังไง”

 

เสียงสะท้อนจากผู้ใช้งานรายหนึ่งซึ่งได้บอกว่า เธอใช้ซิมการ์ดที่ "แม่" เป็นผู้ "ลงทะเบียนซิมการ์ด" ให้ตั้งแต่เรียนมัธยม จนปัจจุบันอายุ 30 ปีแล้ว ราคาโปรโมชันที่ใช้อยู่เป็นราคาของลูกค้าเก่า แต่ถ้าหากต้องลงทะเบียนซิมใหม่สิทธิต่าง ๆ ก็จะหายไปหมด

 

 

ในบางครอบครัว "เจ้าของซิม" หรือชื่อที่ "ลงทะเบียนซิม" เอาไว้ เป็นเป็นเพียง 1 คนที่เป็นเสาหลักของครอบครัว ทั้งเปิด โมบายแบงก์กิ้ง (mobile banking) ให้กับบุตรหลาน หรือไม่ก็ผู้สูงอายุในบ้าน หากต้องเปลี่ยนชื่อซิมให้ตรงกับบัญชี โมบายแบงก์กิ้ง อาจไม่ใช่เรื่องที่ง่ายและยุ่งยากสำหรับประชาชนหลายคน 

 

“น่าจะดูนะว่า เปิดใช้เบอร์โทรมาเกินกี่ปีแล้ว ทั้งบ้านมีชื่อ แม่เป็นเจ้าของเบอร์มือถือคนเดียว ใช้มาตั้งแต่ ประถม จนจบ มหาลัยจนทำงาน เวลาจะทำธุรกรรมต่างๆ แม่เป็นคนจัดการให้ หมด (คุณแม่บ่นเอง)”

 

“เอาจริง เราคนเดียวเสาหลักของบ้าน เจ้าของคนเดียว 10 เบอร์ ทั้งเติมเงินและรายเดือน ไม่ได้อยู่ในเมือง ไปธนาคาร ไปศูนย์โทรศัพท์ 50-100 กิโล ค่าเดินทางอย่างน้อย 500-1000 แต่ก่อนพอค้าขายได้ก็ไม่ค่อยเดือดร้อน แต่ตอนนี้อย่างที่รู้กันว่าฝืดเคืองมาก น้ำมันก็แพง มันไม่ใช่ข้ออ้าง แต่มันคือเรื่องจริง ถ้ามันเปลี่ยนได้ง่ายผ่านแอปฯหรือโทรศัพท์เลยมันก็คงจะง่ายขึ้น ส่งเอกสารออนไลน์ไปเลย แต่ค่ายมือถือจะยอมมั้ย โดยเฉพาะรายเดือนติดโปร บางคนติดผ่อน มันไม่ได้เปลี่ยนง่ายขนาดนั้น แล้วจะให้เปิดซิมใหม่ ค่ายมือถือยิ้มเลย ยังไงก็ต้องเสียเงินซื้อซิม เติมเงินเลี้ยงเบอร์ไว้ ปวดกะบาลค่ะ บอกตรง”

 

กสทช. โยนภาระ เสียงโอด ประชาชน เสียมากกว่าได้ ชื่อซิมต้องตรงโมบายแบงก์กิ้ง

กสทช. โยนภาระ เสียงโอด ประชาชน เสียมากกว่าได้ ชื่อซิมต้องตรงโมบายแบงก์กิ้ง

กสทช. โยนภาระ เสียงโอด ประชาชน เสียมากกว่าได้ ชื่อซิมต้องตรงโมบายแบงก์กิ้ง

 

อีกมุมของเสียงสะท้อนต่อนโยบายครั้งนี้ของ กสทช. ประชาชนมองว่าผลักภาระให้กับประชาชน บางส่วนมองว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ "จริงๆนะ ธนาคารก็รู้ว่าบัญชีไหนเป็นบัญชีม้า เเล้วทำไมไม่จัดการ หรือติดข้อกฏหมายอะไร" , "ไอ้ที่ควรทำก็ไม่ทำไอ้ที่ไม่ควรทำก็ทำแทนที่จะไปหาว่าข้อมูลลูกค้ามันหายไปได้ยังไงหลุดไปได้ยังไง"

 

  • คนดีเดือดร้อน โจรรอดคือเก่า
  • แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ กินมากสมองไม่ทำงานกันเลย
  • แล้ว แชร์แพ็คเกจทำยังไงละครับ ครอบครัวเดียวกัน ใช้ชื่อคนเดียว
  • แก้ที่ต้นเหตุเป็นมั้ย กรรมของคนไทยแท้ๆ
  • ถ้าไม่ตรง จะแจ้งได้ที่ไหน ยังไงครับ
  • เพิ่มภาระให้ประชาชนคืองานของเรา
  • ไม่คิดถึงคนที่ใช้เบอร์มานานมากเอาสะดวกตัวเอง
  • เป็นการเปิดช่องว่างให้มิจฉาชีพติดต่อโดยตรง

 

กสทช. โยนภาระ เสียงโอด ประชาชน เสียมากกว่าได้ ชื่อซิมต้องตรงโมบายแบงก์กิ้ง

กสทช. โยนภาระ เสียงโอด ประชาชน เสียมากกว่าได้ ชื่อซิมต้องตรงโมบายแบงก์กิ้ง

 

กสทช. แจงนโยบาย หาแนวทางกระทบน้อยที่สุด

 

กสทช. ได้ออกมาชี้แจงว่า นโยบายดังกล่าวยัง อยู่ในระหว่างดำเนินการ โดยในวันที่ 27 พ.ค. 2567 โมบายแบงก์กิ้งยังใช้งานได้ตามปกติ และจะมีข้อยกเว้นให้กับเหตุผลที่สามารถพิจารณาได้ เช่น การเปิดโมบายแบงก์กิ้งให้กับบุตรหลานที่เป็นเด็กหรือเยาวชน หรือบิดามารดาผู้สูงวัย เบอร์องค์กรที่แสดงตัวตนได้ชัดเจน เป็นต้น 

 

อย่างไรก็ตาม กสทช. ยังได้ชี้แจงในเรื่องดังกล่าวว่า จะประชุมหารือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการที่ต้องเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองให้ตรงกับโมบายแบงก์กิ้ง เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชนเกินจำเป็น โดยให้มีรายการส่งเสริมการขายที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์มากที่สุด

 

ทั้งนี้ ชื่อผู้ถือครองซิมการ์ด mobile banking ไม่ใช่เจ้าของบัญชี ปปง. และ ธนาคาร จะดำเนินการต่อโดยประชาสัมพันธ์แจ้งเจ้าของบัญชี และต้องดำเนินการเปลี่ยนไปใช้เบอร์ซิมการ์ดที่ตนเป็นเจ้าของ หรือ เปลี่ยนชื่อผู้ถือครองเบอร์เป็นชื่อเจ้าของบัญชี ยกเว้นมีเหตุผลความจำเป็น เช่น เปิด mobile banking ให้บุตรหลานที่เป็นเด็กเยาวชน หรือ บิดามารดาผู้สูงวัย เป็นต้น แต่หากเจ้าของบัญชีไม่ดำเนินการเปลี่ยนแปลง อาจพิจารณาระงับการใช้งานธนาคารออนไลน์ต่อไป

 

แม้ว่าทางกสทช. จะได้ออกมาชี้แจงต่อประเด็นดังกล่าว แต่ก็ยังทำให้สังคมตั้งคำถามต่อการทำว่า "นโยบายลงทะเบียนซิมให้ชื่อตรงกับกับ mobile banking" เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และผลักภาระลงมาที่ประชาชนหรือไม่

 

กสทช. โยนภาระ เสียงโอด ประชาชน เสียมากกว่าได้ ชื่อซิมต้องตรงโมบายแบงก์กิ้ง