ข่าว

อายุกว่าพันปี ฮือฮาขุดพบ "แท่นศิลา" คาดเป็นฐานเทวรูปโบราณอายุกว่า 1,000 ปี

อายุกว่าพันปี ฮือฮาขุดพบ "แท่นศิลา" คาดเป็นฐานเทวรูปโบราณอายุกว่า 1,000 ปี

04 มิ.ย. 2567

อายุกว่าพันปี ฮือฮาขุดพบ "แท่นศิลา"คาดเป็นฐานของเทวรูปพระนารายณ์ อายุกว่า 1,000 ปี ลายสลักสุดวิจิตรงดงาม กรมศิลปากรเร่งตรวจสอบอายุวัตถุโบราณ

4 มิ.ย. 2567 ที่วัดป่าเลไลยก์ ต.เลม็ด อ.ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี นายชวลิต โรจนรัตน์ นายอำเภอไชยา ได้รับแจ้งจาก จากคณะที่มาท่องเที่ยว ศึกษาประวัติศาสตร์ศรีวิชัย ที่ อ.ไชยา ว่า ได้บังเอิญพบ "วัตถุโบราณ" ที่สำคัญชิ้นหนึ่ง เป็นหินทรายแกะสลักลวดลายผักกรูดที่สวยงามมาก คาดน่าจะเป็น วัตถุโบราณ ที่มีอายุกว่า 1,000 ปี

 

อายุกว่าพันปี ฮือฮาขุดพบ \"แท่นศิลา\" คาดเป็นฐานเทวรูปโบราณอายุกว่า 1,000 ปี

จึงได้ประสานไปยัง หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อำเภอไชยา พร้อมกับพระอาจารย์มหาธงชัย เจ้าอาวาสวัดรัตนราม หรือ วัดแก้ว จึงได้เดินทางไปตรวจสอบ สิ่งนั้นก็คือ "วัตถุโบราณ" สมัยศรีวิชัยราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ในเบื้องต้นยังไม่แน่ชัดว่าเป็นอะไร แต่ที่แน่ๆ ของเก่าแน่นอน ลักษณะสี่เหลี่ยมจตุรัส

 

 

อายุกว่าพันปี ฮือฮาขุดพบ \"แท่นศิลา\" คาดเป็นฐานเทวรูปโบราณอายุกว่า 1,000 ปี

 

 

วัสดุที่ใช้สลักเป็นหินทรายแดงเนื้อละเอียด สลักลวดลายสวยงาม มองคล้ายๆ ลายแกะสลักของปราสาทจาม-ชวา? ต้องศึกษากันอีกที มีขนาดประมาณ 1.50x1.50 ม. ด้านบนผิวเรียบมีชำรุดเล็กน้อยตามกาลเวลา เมื่อพลิกขึ้นมา ภายในบรรจุปูนเก่า (คล้ายปูนที่ฉาบบนผนังวัดแก้วรัตนาราม) ขอบด้านล่างเป็นเว้าๆ ลูกคลื่น เหมือนมีการขัดถู หรือเคยถูกคนลับมีด

 

 

ด้านหนึ่ง มีการสลักลวดลายงดงามลายเกลียวม้วนๆ โค้งไปมา สามแถว อีก 3 ด้านไม่ได้สลักลาย แต่ดูคล้ายการเซาะร่องเสา คาดว่ามีอายุกว่า 1,000 ปี และที่สำคัญมีน้ำหนักมาก ต้องใช้คนประมาณ 5-6 คนช่วยกันยกถึงจะขึ้น ซึ่งหัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอำเภอไชยา ได้อธิบายว่า  อาจจะเป็นฐานของเทวรูปพระนารายณ์ที่พบในพื้นที่ก่อนหน้านี้

จากนั้นได้นำไปฝากเก็บรักษาไว้ที่วัดรัตนราม หรือ วัดแก้ว เกรงว่าจะสูญหาย และได้ประสานกรมศิลปากรมาตรวจสอบดังกล่าว โดยบริเวณพื้นที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดี มักจะมีการขุดพบ "วัตถุโบราณ" จำพวกเครื่องถ้วยชามสังคโลก ลูกปัด พระพุทธรูป และอื่นๆ อยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากเป็นพื้นที่ ซึ่งเป็นหัวเมืองเก่าของภาคใต้ ที่บ่งชี้ถึงความเป็นเมืองที่มีอารยธรรมและความรุ่งเรืองมาก่อน

 

 

มีสิ่งปลูกสร้าง ที่ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและ "โบราณวัตถุ" จำนวนมาก และจะมีนักล่าสมบัติและ "วัตถุโบราณ" ต่างเข้ามาขุดค้นหา สิ่งของมีค่าและวัตถุโบราณเหล่านั้นออกจากพื้นที่ มีการขุดพบอยู่บ่อยครั้ง

 

 

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้เข้าตรวจสอบ และนำไปศึกษารายละเอียดอย่างถี่ถ้วนอีกครั้ง ยังไม่สามารถบอกได้ และเก็บรักษาไว้ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เข้ามาชมต่อไป