"30 บาทรักษาทุกที่" หากลืม บัตรประชาชน ใช้สิทธิยังไง เช็ก 46 พื้นที่ไหนใช้ได้
"30 บาทรักษาทุกที่" หากลืม บัตรประชาชน จะใช้สิทธิยังไง พร้อมเช็ก 46 พื้นที่ไหนใช้ได้ ขณะที่ กทม. รอก่อน ยังไม่เริ่ม
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ "สปสช." ชี้แจงภายหลังที่ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เรื่องจังหวัดที่ดำเนินงานตามนโยบาย "30 บาทรักษาทุกที่" ด้วย บัตรประชาชน ใบเดียว พ.ศ. 2567 โดยมีรายชื่อทั้งสิ้น 42 จังหวัด ซึ่งรวมถึง กทม. นั้น เป็นการประกาศเพื่อเตรียมความพร้อมงบประมาณรองรับไว้ก่อน พร้อมเช็ก 46 จังหวัด บัตรประชาชนใบเดียว รักษาทุกที่
กทม. ยังไม่เริ่ม "30 บาทรักษาทุกที่"
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในส่วนของ กทม. นั้น ยังไม่ได้เริ่มตามแนวทาง "30 บาทรักษาทุกที่" โดยขณะนี้ สปสช. เขต 13 กทม. อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมรองรับ ทั้งในส่วนของการเตรียมงบประมาณ การเชื่อมต่อระบบบริการ และการจัดเตรียมหน่วยบริการเพื่อให้การดูแลประชาชน ซึ่งต้องยอมรับว่าในพื้นที่ กทม. เป็นพื้นที่มีความซับซ้อน ทั้งในด้านประชากรและจำนวนหน่วยบริการที่ไม่เพียงพอ
ขณะนี้ สปสช. ร่วมกับสภาวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการเชิญชวน ร้านยาคุณภาพและคลินิกเอกชนประเภทต่างๆ เข้าร่วมดำเนินการเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมตามนโยบาย "30 บาทรักษาทุกที่" ซึ่งจะเป็นการเพิ่มทางเลือกใหม่ให้ประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ บัตรทอง 30 บาท
นอกจากไปรักษาได้ที่หน่วยบริการประจำตามสิทธิแล้ว ยังเข้ารับการรักษาที่หน่วยนวัตกรรมที่เข้าร่วมกับ สปสช. ประกอบด้วย ร้านยาคุณภาพ คลินิกทันตกรรมชุมชนอบอุ่น คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น คลินิกแพทย์แผนไทยชุมชนอบอุ่น คลินิกเทคนิคการแพทย์ชุมชนอบอุ่น และคลินิกกายภาพบำบัดชุมชนอบอุ่น เป็นต้น ซึ่งประชาชนสามารถไปใช้บริการนอกเวลาราชการ หรือหลังเลิกงานได้ หรือตามเวลาเปิดทำการของคลินิกเอกชนประเภทต่างๆ
นพ.จเด็จ กล่าวต่อว่า หากในพื้นที่ กทม. มีความพร้อมแล้วที่จะดูแลประชาชนภายใต้นโยบาย "30 บาทรักษาทุกที่" ก็จะมีการเปิดตัวนโยบายอย่างเป็นทางการ เพื่อแจ้งการเริ่มบริการให้ประชาชนรับทราบต่อไป ส่วนที่มีรายชื่อ กทม. อยู่ในประกาศของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ "สปสช." เรื่องจังหวัดที่ดำเนินงานตามนโยบาย "30 บาทรักษาทุกที่" นั้น เพื่อเป็นการจัดเตรียมงบประมาณจำนวน 64 ล้านบาทเพื่อใช้ในการดำเนินการรองรับในส่วนที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากเป็นพื้นที่ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการเตรียมการ
46 จังหวัด "30 บาทรักษาทุกที่" ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว
- จังหวัดแพร่
- จังหวัดเพชรบุรี
- จังหวัดร้อยเอ็ด
- จังหวัดนราธิวาส
- จังหวัดนครราชสีมา
- จังหวัดนครสวรรค์
- จังหวัดพังงา
- จังหวัดเพชรบูรณ์
- จังหวัดสระแก้ว
- จังหวัดสิงห์บุรี
- จังหวัดหนองบัวลำภู
- จังหวัดอำนาจเจริญ
- จังหวัดเชียงใหม่
- จังหวัดเชียงราย
- จังหวัดน่าน
- จังหวัดพะเยา
- จังหวัดลำปาง
- จังหวัดลำพูน
- จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- จังหวัดกำแพงเพชร
- จังหวัดพิจิตร
- จังหวัดชัยนาท
- จังหวัดอุทัยธานี
- จังหวัดสระบุรี
- จังหวัดนนทบุรี
- จังหวัดลพบุรี
- จังหวัดอ่างทอง
- จังหวัดนครนายก
- จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- จังหวัดปทุมธานี
- จังหวัดอุดรธานี
- จังหวัดสกลนคร
- จังหวัดนครพนม
- จังหวัดเลย
- จังหวัดหนองคาย
- จังหวัดบึงกาฬ
- จังหวัดชัยภูมิ
- จังหวัดบุรีรัมย์
- จังหวัดสุรินทร์
- จังหวัดสงขลา
- จังหวัดสตูล
- จังหวัดตรัง
- จังหวัดพัทลุง
- จังหวัดปัตตานี
- จังหวัดยะลา
- กรุงเทพมหานคร
ลืม บัตรประชาชน จะใช้สิทธิอย่างไร
สิทธิบัตรทอง 30 บาท แค่พกบัตรประชาชนก็สามารถใช้สิทธิได้เลย แต่หากเกิดเหตุ บัตรประชาชน หายหรือลืมพกไปจะทำอย่างไร ไม่ต้องกังวล ถึงแม้บัตรจะหายหรือลืมหยิบไปก็ยังสามารถรับสิทธิบัตรทอง 30 บาทได้
โดยใช้ แอปฯ ThaID (บัตรประชาชนดิจิทัล), ใบขับขี่, Passport หรือเอกสารที่มีเลขประจำตัว 13 หลักพร้อมรูปถ่ายที่ยืนยันตัวตนได้ และแจ้งใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท ก็สามารถใช้สิทธิได้เช่นกัน
ไม่ว่าจะเจ็บป่วยเล็กน้อยหรือฉุกเฉินวิกฤต ก็สามารถใช้ สิทธิบัตรทอง 30 บาท ได้เพียงแค่มีเอกสารยืนยันตัวตนที่ถูกต้อง