การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เปิดอายุ เรือพระราชพิธี 52 ลํา
การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เปิดอายุ เรือพระราชพิธี จํานวน 52 ลํา การจัดริ้วขบวน ประวัติเรือพระที่นั่งเก่าแก่ที่ใช้ประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ เชิดชูบารมี ความยิ่งใหญ่ ของพระเจ้าแผ่นดิน
เนื่องในวโรกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 10 พระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2567 จะมีพระราชพิธีสำคัญ สำหรับ การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เพื่อใช้ในการแสดงแบบผูกทุ่น ประกอบกาพย์เห่เรือฯ ที่ปฏิบัติต่อกันมาแต่โบราณ
โดย ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค คือการจัดริ้วกระบวนเรือพระราชพิธีสำหรับพระมหากษัตริย์ในการเสด็จพระราชดำเนินไปในสถานที่ต่างๆ ซึ่งปฏิบัติต่อกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน
การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ใช้จำนวนเรือทั้งสิ้น 52 ลําโดยมีเรือพระนั่งที่สําคัญได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นเรือพระที่นั่งทรง เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือพระที่นั่งรอง
นอกจากนี้ ยังมีเรือพระราชพิธีอื่นด้วยเช่น เรือรูปสัตว์ เรือดั้ง เรือแซง เป็นต้น สําหรับกําลังพลประจําเรือพระราชพิธี ได้คัดเลือกกําลังพลจากหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือ จํานวน ๒,๒๐๐ นาย เป็นกําลังพลประจําเรือพระราชพิธี ทั้งนี้ การจัดรูปขบวนจัดตามรูปแบบโบราณราชประเพณีทุกประการโดยจัดรูปขบวนเรือแบ่งออกเป็น 5 ริ้ว แบ่งเป็น 3 สาย ดังนี้
- ริ้วสายกลาง ซึ่งเป็นเรือสายสำคัญ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง 4 ลำ มีเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้มีเรืออีเหลือง เป็นเรือกลองนอก เรือแตงโม ซึ่งเป็นเรือของผู้บัญชาการขบวนเรือ เป็นเรือกลองใน พร้อมด้วยเรือตำรวจนอก และเรือตำรวจใน
- ริ้วสายใน ขนาบข้างสายเรือพระที่นั่ง มีเรือทองขวานฟ้าและเรือทองบ้าบิ่น เป็นเรือประตูหน้า เรือเสือทยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือพิฆาต เรือรูปสัตว์ 8 ลำ ปิดท้ายริ้วท้ายสายใน ประกอบด้วย เรือเอกไชยเหินหาว และเรือเอกไชยหลาวทอง ซึ่งเป็นเรือคู่ชัก
- ริ้วสายนอก ประกอบด้วยเรือดั้ง และเรือแซง สายละ 14 ลำ รวมทั้งสิ้น 52 ลำ
สำหรับเรือพระราชพิธี จํานวน 52 ลํา ทุกลําทำจากไม้ โดย 3 ลำมีอายุเก่าแก่ ถูกใช้ในงานพระราชพิธีมาตั้งแต่อดีต ประกอบด้วย
- เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างในรัชกาลที่ 5 มีอายุกว่า 102 ปี
- เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างในรัชกาลที่ 5 มีอายุ 108 ปี
- เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช สร้างในรัชกาลที่ 6 มีอายุ 95 ปี
- เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2539 มีอายุ 23 ปี
Cr. phralan.in.th , กองทัพเรือ